หนึ่งในคำถามที่คุณแม่มือใหม่หลายคนถามครูก้อยกันเข้ามาเป็นจำนวนมากคือ อยากมีลูกคนแรกแต่ไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรดี มีอาหารประเภทไหนที่ควรทานและไม่ควรทานเป็นพิเศษมั้ย มีพฤติกรรมเสี่ยงอะไรที่ควรหลีกเลี่ยงบ้าง วันนี้ครูก้อยมีคำแนะนำมาฝากคุณแม่เตรียมท้องกันค่ะ
1.ทานอาหารเช้าเป็นประจำ
การรับประทานอาหารเช้าเป็นเรื่องที่คุณแม่หลายคนละเลย เพราะคิดว่าแปบเดียวก็จะเที่ยงแล้ว รวบยอดไปกินตอนกลางวันทีเดียวก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วอาหารเช้ามีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลง ส่งผลให้ความรู้สึกหิวในมื้อต่อไปน้อยลง เมื่อทานน้อยลงก็สามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้หากคุณแม่คนไหนเป็นผู้ป่วยภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) การทานมื้อเช้าจะช่วยลดระดับเทสโทสเตอโรนมากถึง 50% และลดระดับอินซูลินลงอีก 8% อีกด้วยค่ะ
PCOS กินอย่างไร ให้มีโอกาสท้อง ?
2.พักผ่อนให้เพียงพอ ทั้งกายและใจ
รู้หรือไม่ว่าการพักผ่อนอย่างเพียงพอ นอกจากจะช่วยให้รู้สึกสดชื่น นอนหลับเต็มอิ่มแล้ว ยังส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายด้วยนะคะ เพราะหากคุณแม่เตรียมท้องนอนน้อย ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองโดยการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมมกลุ่มสเตียรอยด์ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการอักเสบของร่างกายและตอบสนองต่อความเครียด ส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสเกิดภาวะมีลูกยากมากขึ้นด้วย ดังนั้นหากคุณแม่คนไหนเตรียมตัวท้องแล้วล่ะก็ ควรปรับเวลานอนให้ตรงตามความต้องการของร่างกายนะคะ ประมาณ 7-9 ชม./วัน ซึ่งจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ดีขึ้นและเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ง่ายขึ้นด้วย
นอกจากนี้ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะหลั่งบ่อยขึ้นหากคุณแม่อยู่ในสภาวะเครียดมากเกินไป ส่งผลให้นอนหลับยากและการตกไข่ด้อยประสิทธิภาพลง ทางที่ดีควรหากิจกรรมทำแก้เครียด ยกตัวอย่างเช่น การนั่งสมาธิ ฟังเพลงเบา ๆ หรือฟังเสียงธรรมชาติจาก Youtube ควบคู่กับการอ่านหนังสือ วาดรูป หรือถักไหมพรม ก็จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้ดีทีเดียว และที่สำคัญอย่าลืมปิดเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอนอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงด้วยนะคะ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีแสงบลูไลท์ (Blue Light) ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ส่งผลให้หลับยากมากขึ้นด้วยค่ะ
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายสามารถเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ด้วยนะคะ เพราะเมื่อออกกำลังกายแล้ว ร่างกายจะนำไขมันไปใช้และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันมากขึ้น แถมยังช่วยควบคุมน้ำหนักให้สมดุล ไม่น้อยหรือเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับการออกกำลังกายที่ครูก้อยแนะนำจะเป็นการเดินเร็ว, วิ่งจ็อกกิ้ง, ปั่นจักรยาน, ว่ายน้ำ, เล่นโยคะ หรือเต้นแอโรบิคก็ได้เช่นกันค่ะ เพียงแต่ต้องออกอย่างเหมาะสม ไม่หักโหมหรือทิ้งช่วงนานจนเกินไป
4.งดการคุมกำเนิดทุกชนิด
แม้ว่าคุณแม่หลายคนจะเคยชินกับการคุมกำเนิดด้วยการทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เนื่องจากช่วยในเรื่องของประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอและบรรเทาอาการปวดจากประจำเดือนให้ทุเลาลง แต่หากคุณแม่ต้องการมีเบบี๋แล้วล่ะก็ ควรงดยาชนิดนี้อย่างน้อย 1-3 เดือนแล้วจึงมีเพศสัมพันธ์แบบหลั่งใน เนื่องจากร่างกายได้รับยาเป็นเวลานานและต้องการเวลาปรับตัว แต่หากเป็นยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว คุณแม่สามารถงดเพียง 1 สัปดาห์ สำหรับกรณีที่เป็นยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะและวงแหวนคุมกำเนิดควรงดเป็นเวลา 3 เดือน ส่วนยาคุมชนิดฝัง, ห่วงคุมกำเนิดและฉีดคุมกำเนิด อาจต้องใช้เวลาในการงดอย่างน้อย 10-18 เดือนค่ะ
5.ตรวจสุขภาพและตรวจเช็กฮอร์โมนก่อนตั้งครรภ์
นอกจากจะช่วยตรวจความพร้อมในการตั้งครรภ์ของคุณแม่ว่าเข้าค่ายภาวะมีลูกยากหรือไม่แล้ว การตรวจสุขภาพยังช่วยประเมินความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์อย่างธาลัสซีเมีย ความดันโลหิตสูง รวมถึงการเกิดโรคทางพันธุกรรมที่อาจส่งไปยังลูกได้อีกด้วย ทั้งนี้คุณหมอจะซักประวัติคุณแม่อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นวิธีการคุมกำเนิดก่อนหน้านี้, ประวัติเข้ารับการผ่าตัด, ประวัติของคนในครอบครัวเพื่อดูความเป็นไปได้ของโรคทางพันธุกรรม, การใช้ยาหรือแพ้ยาชนิดใด, การฉีดวัคซีน รวมถึงพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อการตั้งครรภ์ของคุณแม่ เช่น ดื่มเครื่อมดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ พักผ่อนน้อย เป็นต้น จากนั้นคุณหมอจะตรวจสุขภาพทั่วไปเพื่อหาความผิดปกติของร่างกายคุณแม่ หากพบความผิดปกติ คุณหมอจะประเมินความเสี่ยงว่ามีผลต่อการตั้งครรภ์มากน้อยแค่ไหน หากมีมากเกินไปคุณหมอจะให้คุณแม่รักษาความผิดปกติเหล่านั้นก่อนค่ะ
ส่วนการตรวจเช็กฮอร์โมนจะเหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปีที่พยายามมีน้องมานานถึง 12 เดือน และคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีที่พยายามมีน้องมานานถึง 6 เดือน รวมไปถึงคุณแม่ที่ต้องการฝากไข่และวางแผนมีลูกในอนาคต เนื่องจากวิธีนี้จะช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้อย่างแม่นยำโดยการทดสอบสมรรถภาพของรังไข่ผ่านการเจาะเลือด เพื่อดูว่ารังไข่ทำงานผิดปกติมั้ย มีฟองไข่สะสมมากพอต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ รวมถึงคาดการณ์ได้ว่ารังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่ด้วยยาได้ดีแค่ไหน ใช้ยาปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเห็นผล
ไขมันดี: ตัวช่วยของคุณแม่มือใหม่เตรียมท้อง
คุณแม่หลายคนอาจยังไม่รู้มาก่อนว่าไขมันก็ช่วยบำรุงร่างกายให้พร้อมต่อการตั้งครรภ์ได้นะคะ เพียงแต่ไขมันชนิดนั้นต้องเป็นไขมันดี (HDL: High Density Lipoprotein) เนื่องจากไขมันดีเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ทำหน้าที่นำพาไขมันเลว (LDL: Low Density Lipoprotein) หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ออกจากหลอดเลือดแดงและเนื้อเยื่อเพื่อส่งไปยังตับและกำจัดออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี หากร่างกายได้รับไขมันดีในปริมาณที่มากกว่าไขมันเลว จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายอย่างโรคหัวใจและหลอดเลือด และเมื่อร่างกายมีไขมันเลวน้อยลง ส้งผลให้น้ำหนักตัวไม่มากไม่น้อยเกินมาตรฐาน จึงมีโอกาสปั๊มเบบี๋ติดง่ายขึ้นด้วยค่ะ แม้ว่าร่างกายสามารถผลิตไขมันดีได้ด้วยตัวเอง แต่หากต้องการเพิ่มไขมันดีให้แก่ร่างกาย ครูก้อยแนะนำให้ทานไขมันดีจากน้ำมัน 9 ชนิด ดังนี้ค่ะ
น้ำมันสาหร่าย (Algae Oil) อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ Eicosapentaenoic acid (EPA) และ Docosahexaenoic acid (DHA) จากการศึกษาพบว่าการทานน้ำมันสาหร่ายจะช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากกว่าผู้หญิงที่ไม่ทานถึง 2 เท่า
น้ำมันอะโวคาโด (Avocado oil) อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAs) ที่สัมพันธ์กับโอกาสการตกไข่ นอกจากนี้ยังมีโฟเลต, โพแทสเซียม, วิตามิน A, ไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์และช่วยให้ทารกในครรภ์มีสุขภาพดี แข็งแรง
น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed oil) อุดมไปด้วยสารลิกแนน (Lignans) ซึ่งเป็นไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogens) หรือสารประกอบทางเคมีธรรมชาติที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่มากกว่าพืชชนิดอื่นถึง 75 เท่า และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยยับยั้งการทำงานของอนุมูลอิสระที่อาจทำลายเซลล์ไข่และเซลล์อสุจิในระยะยาว นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ ส่งผลให้อสุจิและเซลล์ไข่มีคุณภาพ อสุจิมีจำนวนเพิ่มขึ้น และเพิ่มโอกาสให้ไข่ได้รับการปฏิสนธิและก่อตัวเต็มที่
น้ำมันฟักข้าว (Gac oil) อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยเสริมโปรตีนในร่างกาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตไข่, สเปิร์ม และโครงสร้างของอวัยวะเพศอย่างต่อมลูกหมาก, มดลูก, รังไข่ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนดได้มากขึ้น
น้ำมันกระเทียม (Garlic oil) อุดมไปด้วยกำมะถัน ช่วยเพิ่มระดับของกลูตาไธโอน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ทั้งชายและหญิง กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศ ช่วยเพิ่มคุณภาพของอสุจิและกระตุ้นการตกไข่ ทำให้ไข่โตสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
น้ำมันมะกอก (Olive Oil) อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามิน E นอกจากนี้ยังมีไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์มากถึง 40% และลดโอกาสแท้งลูก อีกทั้งเพิ่มพัฒนาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อีกด้วยค่ะ
น้ำมันงาขี้ม้อน (Perilla oil) อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว ได้แก่ โอเมก้า 3 ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างะบบประสาทและสมองในด้านการเรียนรู้, โอเมก้า 6 และโอเมก้า 9, สาร Luteolin ที่มีฤทธิ์ต้านภูมิแพ้, ธาตุฟอสฟอรัส และแคลเซียม ช่วยป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ และเสริมประสิทธิภาพของการฝังตัวอ่อน ช่วยให้มีโอกาสตั้งครรภ์มากขึ้น
น้ำมันงา (Sesame oil) อุดมไปด้วยวิตามิน E, แคลเซียม, ไขมันดี และลิกแนน อีกทั้งมีทองแดงปริมาณสูง จึงเป็นสารตั้งต้นชั้นดีของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจน
น้ำมันดอกทานตะวัน (Sunflower oil) อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) เป็นกรดไลโนเลอิก (C18:2) มากกว่า 60% ประกอบด้วยวิตามิน E, โฟเลต, สังกะสี, กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ช่วยเพิ่มคุณภาพของภาวะเจริญพันธุ์ทั้งคุณแม่และคุณพ่อ อีกทั้งป้องกันการปฏิสนธิล้มเหลวอีกด้วย
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม คลิกลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ
Comentários