top of page
ค้นหา

โอกาสตั้งครรภ์ของผู้หญิงแต่ละวัยมีแค่ไหน ทำไมต้องเติมไขมันดีให้ร่างกาย



สำหรับคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังสงสัยและไม่แน่ใจว่าตัวเองมีโอกาสตั้งครรภ์แค่ไหน แล้วผู้หญิงแต่ละวัยมีโอกาสแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ถ้าจะวางแผนมีลูกควรเริ่มต้นตอนอายุเท่าไหร่ดี แล้วถ้าไม่พร้อมในช่วงวัยนั้นจะมีวิธีแก้หรือดูแลตัวเองอย่างไรให้พร้อมต่อการมีลูกบ้าง ครูก้อยมีคำตอบมาฝากค่ะ


โอกาสตั้งครรภ์ของผู้หญิงแต่ละวัยมีเท่าไหร่บ้าง


แม้ว่าการนับวันตกไข่จะช่วยเพิ่มโอกาให้คุณแม่อยากมีลูกได้ท้องสมใจได้ก็จริง แต่อีกปัจจัยสำคัญที่ไม่พูดถึงไม่ได้นั่นคือสุขภาพร่างกายของคุณแม่แต่ละวัย ต้องเข้าใจก่อนว่าผู้หญิงแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างในเรื่องของฮอร์โมนซึ่งมีผลกับร่างกายโดยตรง ยิ่งอายุมากเท่าไหร่ ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับร่างกายของคุณแม่ก็จะผลิตออกมาน้อยลงด้วย สำหรับช่วงอายุที่ร่างกายพร้อมต่อการตั้งครรภ์จะอยู่ที่ 20-35 ปี หรือหลังจากมีประจำเดือนแล้วประมาณ 7 ปี แต่ผู้หญิงบางคนอาจมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากถึงอายุ 40 ปี ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่แต่ละคนด้วยนะคะ


มีลูกอายุเท่าไหร่ดีที่สุด


อายุ 20-35 ปี ถือเป็นช่วงวัยที่เหมาะสำหรับการตั้งครรภ์มากที่สุด เนื่องจากเป็นวัยเจริญพันธุ์ เซลล์ไข่มีจำนวนมาก อีกทั้งฮอร์โมนเพศยังผลิตออกมาได้เรื่อย ๆ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สามารถตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีโอกาสแท้งลูกและมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าผู้หญิงที่มีอายุเยอะ


ตั้งครรภ์อายุมาก เสี่ยงอย่างไร?


สำหรับเซลล์ไข่ของผู้หญิงโดยทั่วไปแล้วจะมีติดตัวหลังจากคลอดจากท้องแม่เหลือประมาณ 1-2 ล้านใบ และเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธ์จะเหลือเพียง 7 แสนใบ เมื่อคุณแม่มีอายุมากขึ้น จำนวนเซลล์ไข่ก็ลดลงตาม ส่งผลให้โครโมโซมมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูงขึ้น นั่นหมายความว่า นอกจากจะตั้งครรภ์ยากแล้วยังเสี่ยงต่อการแท้งบุตรง่ายขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นง่ายกว่าผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า สำหรับโอกาสที่โครโมโซมจะคลาดเคลื่อนนั้นสามารถคิดตามช่วงอายุ ดังต่อไปนี้

  • อายุ 25 โครโมโซมผิดปกติ 25%

  • อายุ 35 โครโมโซมผิดปกติ 50%

  • อายุ 40 โครโมโซมผิดปกติ 85-90%

สำหรับความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่อายุเยอะ มีดังนี้ค่ะ

  • โพรงมดลูกเจริญผิดที่

  • ตัวอ่อนผิดปกติ

  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ

  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์

  • รกเสื่อมสภาพ ฝังตัวได้ไม่ดี

สำหรับความเสี่ยงของลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่อายุเยอะ มีดังนี้ค่ะ

  • มีโอกาสแท้งสูงกว่าผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์

  • มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด

  • ลูกมีน้ำหนักต่ำว่าเกณฑ์มาตรฐาน

  • ลูกมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) ง่ายขึ้น

  • ลูกมีโอกาสเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่

อายุ 40 มีลูกได้มั้ย?


แม้ว่าจะเป็นช่วงที่รังไข่เริ่มเสื่อมสภาพและมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง ฯลฯ แต่หากคุณแม่ดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองดี ก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้เช่นกันค่ะ เพียงแต่ต้องระวังลูกที่เกิดมาอาจมีภาวะดาวน์ซินโดรม (Down syndrome), พาทัวซินโดรม (Patau Syndrome) และเอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward's Syndrome) ได้ด้วยนะคะ เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ในคุณแม่ที่มีอายุเยอะ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุ 40 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงที่มีอายุ 25-35 ปีมากถึง 2 เท่าเลยค่ะ


แต่เนื่องจากสังคมปัจจุบันที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนมีลูกในช่วงวัยที่มากขึ้น ดังนั้นหากต้องการมีลูกจริง ๆ แนะนำให้วางแผนการตั้งครรภ์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงดูแลสุขภาพร่างกายเป็นประจำเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการมีลูกให้มากขึ้นค่ะ ทั้งนี้แพทย์จะดูความเป็นไปได้ว่าคุณแม่ท่านนั้นเข้าสู่วัยทองหรือยัง? มีประจำเดือนอยู่ไหม? มีเซลล์ไข่และรังไข่ปริมาณมากพอต่อการตั้งครรภ์หรือไม่? ท่อรังไข่ตันไหม? มีเนื้องอกหรือก้อนเนื้อมาบดบังท่อรังไข่และมดลูกหรือเปล่า? หากไม่พบความผิดปกติใด ๆ ก็สามารถเตรียมตัวตั้งครรภ์ได้เลยค่ะ


อยากมีลูกทั้งที ทำไมต้องเติมไขมันดีให้ร่างกาย


การเติมไขมันชนิดดี หรือ High Density Lipoprotein (HDL) ให้แก่ร่างกาย จะช่วยขับไขมันชนิดเลว (Low-Density Lipoprotein หรือ LDL) ที่สะสมตามเลือดหลายร้อยโมเลกุลและส่งไปให้ตับกำจัดออกจากร่างกาย ข้อดีของไขมันชนิดดีจะช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในร่างกายไม่ให้สะสมมากเกินไป เป็นผลทำให้ร่างกายมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะการมีน้ำหนักมากเกินไปจะไปรบกวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์โดยตรง ส่งผลให้คุณแม่มีลูกยากขึ้นนั่นเองค่ะ


นอกจากนี้ไขมันดียังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันความเสื่อมของสมรรถภาพทางเพศ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศ จึงกระตุ้นการตกไข่และเพิ่มโอกาสให้มีลูกมากขึ้น สำหรับไขมันดีที่ครูก้อยแนะนำจะเป็นไขมันดีจากธัญพืชทั้ง 9 ชนิดที่อุดมไปด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ได้แก่ น้ำมันดอกทานตะวัน (Sunflower oil), น้ำมันกระเทียม (Garlic oil), น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed oil), น้ำมันฟักข้าว (Gac oil), น้ำมันอะโวคาโด (Avocado oil), น้ำมันงาขี้ม้อน (Perilla oil), น้ำมันมะกอก (Olive Oil), น้ำมันสาหร่าย (Algae Oil) และน้ำมันงา (Sesame oil)



บทความที่น่าสนใจ

ดู 10 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page