top of page
ค้นหา

8 ข้อห้ามคนท้องที่คุณแม่ควรรู้ ก่อนเตรียมตัวตั้งครรภ์




หากสาว ๆ คนไหนอยู่ในจุดที่คิดว่าพร้อมและกำลังเตรียมตัวเป็นคุณแม่มือใหม่ป้ายแดง อาจมีความกังวลหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับการตั้งท้องลูกคนแรกว่าควรทำหรือไม่ทำอะไรบ้าง ความเชื่อแบบไหนจริงไม่จริง แล้วข้อห้ามอะไรบ้างที่ควรทำตาม วันนี้ครูก้อยจะมาเล่าเกี่ยวกับข้อห้ามคนท้องที่คุณแม่ควรรู้ พร้อมทั้งข้อเท็จจริงของข้อห้ามนั้น ๆ เพื่อให้แม่ ๆ เตรียมตัวตั้งครรภ์ได้อย่างสบายใจมากขึ้นค่ะ


8 ข้อห้ามคนท้องที่คุณแม่ควรรู้

1.ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์


แม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์จะเป็นเรื่องปกติสำหรับคู่สามีภรรยา แต่หากตรวจแล้วพบว่ามีการตั้งครรภ์ขึ้นมา ครูก้อยแนะนำให้เบรกเรื่องนี้ก่อนเลยค่ะ เพราะในช่วง 3 เดือนแรก ถือเป็นช่วงท้องอ่อน ๆ เป็นช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวได้ไม่แข็งแรงมากนัก หากไปรบกวนเจ้าตัวน้อยขณะฝังตัว อาจเป็นอันตรายจนแท้งลูกได้เลยนะคะ ส่วนข้อห้ามที่ว่า ห้ามมีเพศสัมพันธ์ระหว่างท้องโตนั้นก็ไม่ใช่เรื่องจริงแต่อย่างใดนะคะ เพราะการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์เลยค่ะ เพียงแต่เลือกท่วงท่าที่คุณแม่ไม่ต้องถูกกดทับท้องมากเกินไปจนหายใจลำบากก็พอแล้วนะคะคุณพ่อทั้งหลาย


2.คนท้องห้ามกินน้อย


หากคุณแม่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจากที่ควรได้ในแต่ละมื้ออาหาร นอกจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายแล้ว อานจส่งผลร้ายต่อลูกน้อยได้ด้วยเช่นกันนะคะ เพราะการรับประทานอาหารเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ยิ่งได้รับสารอาหารครบถ้วนมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสริมสร้างความแข็งแรงของลูกได้มากเท่านั้นด้วยค่ะ ดังนั้นก่อนตั้งครรภ์ ครูก้อยอยากให้คุณแม่ทำการบ้านเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารในแต่ละมื้อขณะตั้งครรภ์ด้วยนะคะ


3.คนท้องห้ามกินของแสลง


นอกจากจะห้ามกินน้อยแล้ว คุณแม่ควรงดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์แสลง ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง อาหารแห้ง อาหารรสจัด รวมถึงอาหารหมักดองที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุกในทุกขั้นตอนการผลิต เพราะอาจมีผลทำให้เชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii ในอาหาร เข้ามาทำร้ายสุขภาพทั้งตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วยค่ะ


4.คนท้องห้ามดื่มแอลกอฮอล์


สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามของคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน ถ้าคุณแม่คิดว่าดื่มแปบเดียวเดี๋ยวร่างกายก็ขับออกหมดแล้ว ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้นน่ะสิคะ เพราะต่อให้ร่างกายคุณแม่จะขับแอลกอฮอล์ได้ไว แต่ไม่ใช่กับลูกน้อยในครรภ์ค่ะ เพราะเจ้าตัวน้อยจะต้องใช้เวลาขับสารพิษจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าคุณแม่ถึง 2 เท่า นอกจากจะใช้เวลานานแล้วยังส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองจนกลายเป็นเด็กสมาธิสั้น หรือมีปัญหาด้านพัฒนาการทางร่างกายที่อาจเกิดโอกาสพิการแต่กำเนิด รวมถึงมีปัญหาระบบหัวใจบกพร่องอีกด้วยค่ะ


5.คนท้องห้ามนอนน้อย


การพักผ่อนไม่เพียงพอถือเป็นศัตรูตัวฉกาจที่ทำร้ายสุขภาพของเราทุกคน โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงที่มีผลร้ายแรงต่อการเจริญเติบโตของเจ้าตัวน้อย หากเป็นไปได้ควรนอนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นตัวเลขที่เหมาะสมต่อร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์มากที่สุดค่ะ แต่หากคุณแม่รู้สึกหลับยาก ครูก้อยขอแนะนำให้นอนตะแคงในช่วงที่มีอายุครรภ์สูงขึ้น เนื่องจากเป็นท่าที่ไม่ไปกดทับหน้าท้องจนรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก ซึ่งท่าตะแคงนี้จะช่วยในเรื่องการไหลเวียนของเลือดไม่ให้กดทับเส้นเลือดใหญ่บริวเวณหลัง จึงช่วยให้หลับสบายมากขึ้นค่ะ


6.คนท้องห้ามยกของหนัก หรือหักโหมออกกำลังกาย


แม้ว่าคุณแม่สมัยนี้หลายคนจะหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้นโดยการออกกำลังกายแบบเต็มกำลัง แต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์ขึ้นมาเมื่อไหร่ แนะนำให้งดการออกแบบหักโหมโดยเด็ดขาด เนื่องจากการออกกำลังกายหนักเกินไปอาจทำให้ลูกน้อยขาดออกซิเจนซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโต หรืออาจรุนแรงถึงขั้นแท้งบุตรได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ครูก้อยขอแนะนำให้ออกกำลังแบบเบา ๆ อย่างการเดิน, ว่ายน้ำ,เล่นโยคะ ฯลฯ


7.คนท้องห้ามเครียด


หนึ่งในปัญหาของคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนคือความเครียดซึ่งเกิดจากการผลิตฮอร์โมนเพศเพิ่มขึ้น จึงรู้สึกกับสิ่งต่าง ๆ ง่าย ร้องไห้บ่อย หลายคนอาจมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ด้วยเช่นกัน สำหรับวิธีแก้เครียดที่ครูก้อยใช้บ่อยจะเป็นการนั่งหนังสือ นั่งสมาธิ หรือแม้กระทั่งพูดคุยเรื่องไม่สบายใจให้ครอบครัวได้รับรู้ถึงสภาวะจิตใจของเราขณะนั้นว่าเราไหวมั้ย มีเรื่องกังวลเกี่ยวกับคนรอบตัว หรือเรื่องอนาคตของลูกมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือของคนรอบตัวของคุณแม่เป็นอย่างมากเลยนะคะ เพราะหากคุณแม่มีความเครียดสะสมมากเท่าไหร่ ย่อมส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายที่เจริญเติบโตไม่เต็มที่และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของลูกน้อยที่มีความเครียดง่ายกว่าเด็กทั่วไปด้วยค่ะ


8. ห้ามละเลย หากมีปัญหาสุขภาพ


และที่สำคัญที่สุด หากคุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว อึดอัดจนไม่สามารถลุกเดินได้ หายใจไม่สะดวก หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม อย่าคิดว่าอาการเหล่านี้จะมาแปบเดียวนะคะ เพราะสัญญาณเหล่านี้อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย หากปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตรายทั้งแม่และเด็กด้วยค่ะ ทางที่ดีหากรู้สึกผิดปกติให้รีบบอกคนรอบข้างและรีบไปหาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะเมื่อถึงช่วงใกล้คลอดซึ่งเป็นช่วงที่คุณแม่ดูแลตัวเองได้ยากมาก


เสริมร่างกายให้พร้อมต่อการตั้งครรภ์ด้วยไขมันดี


นอกจากงดข้อห้ามต่าง ๆ แล้วการเลือกรับประทานอาหารบำรุงร่างกายยังมีส่วนช่วงให้สุขภาพคุณแม่แข็งแรงมากขึ้นด้วยนะคะ สำหรับสารอาหารที่เหมาะต่อคุณแม่ควรเน้นไปที่โปรตีน, วิตามิน A, B1, B2, D, แคลเซียม และธาตุเหล็กที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของไข่และมดลูก โดยเฉพาะไขมันดีที่มีส่วนช่วยบำรุงร่างกายให้พร้อมต่อการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ไขมันดียังอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ทำหน้าที่พาไขมันเลว LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและนำไตรกลีเซอไรด์ออกจากหลอดเลือดแดงและเนื้อเยื่อ แล้วจึงส่งไปยังตับเพื่อขับออกจากร่างกาย จึงช่วยลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานในคุณแม่ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ที่คุณแม่หลายคนต้องเผชิญได้อีกด้วยค่ะ



บทความที่น่าสนใจ

ดู 576 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page