top of page
ค้นหา

ดูแลท้องลายหลังคลอดอย่างไรให้หน้าท้องกลับมาเรียบเนียนอีกครั้ง



ขึ้นชื่อว่าเป็นคุณแม่แล้ว ต้องสตรองทั้งกายและใจด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนตั้งครรภ์ก็ต้องฟิตตัวเองให้พร้อมต่อการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิจนกว่าจะฝังตัวเป็นตัวอ่อน ส่วนช่วงระหว่างท้องก็ต้องบำรุงตัวเองเพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เพียงต่อการเจริญเติบโตภายในครรภ์ รวมถึงช่วงคลอดที่คุณแม่ต้องรับแรงกดดันต่าง ๆ ทั้งสภาพร่างกายที่โทรมลงและสภาพจิตใจที่หดหู่ เครียดง่ายจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย รวมถึงช่วงหลังจากลูกน้อยคลอดออกมาด้วยร่างกายครบ 32 ไม่มีความผิดปกติใด ๆ ให้กังวลใจอีกด้วย แต่คุณแม่หลายคนอาจมองข้ามหนึ่งในปัญหาที่ต้องเจอหลังคลอดที่อาจส่งผลต่อความมั่นใจของคุณแม่ นั่นคือปัญหาท้องลายหลังคลอดค่ะ และวันนี้ครูก้อยจะมาแนะนำวิธีดูแลท้องแตกลายอย่างไรให้หน้าท้องกลับมาเรียบเนียนอีกครั้ง


ท้องลายหลังคลอดคืออะไร


ภาวะท้องลายเป็นภาวะที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้องขยายขึ้นอย่างรวดเร็วตามพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ เส้นใยอีลาสตินและคอลลาเจนบริเวณโครงสร้างผิวชั้นในจึงถูกยืดออกและทำลายไปด้วย ส่งผลให้ผิวหน้าท้องสูญเสียความยืดหยุ่นและผิวอ่อนแอ จนเกิดเป็นรอยแตกตามส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่มีไขมันสะสมเป็นจำนวนมากอย่างเช่น หน้าท้อง สะโพก ต้นขา ฯลฯ ส่วนใหญ่รอยแตกจะมีขนาดประมาณ 1-10 เซนติเมตรหรือมากกว่านั้นในบางราย โดยจะพบในช่วงอายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ แม้ว่าภาวะดังกล่าวจะไม่สามารถรักษาให้หายได้เอง 100% แต่สามารถจางลงได้ด้วยการดูแลผิวอย่างถูกวิธี


ท้องลายหลังคลอดมีกี่ระยะ อะไรบ้าง


1. ท้องลายระยะเริ่มต้น (Striae Rubra)


หน้าท้องจะมีลักษณะริ้วนูนขนานหรือตั้งฉาก สีออกชมพูหรือแดง ท้องลายช่วงนี้เกิดจากการขยายตัวของผิวหนังแบบเฉียบพลัน อาจมีอาการแสบคันบริเวณที่มีรอยแตกบ้าง แต่ก็เป็นระยะที่เหมาะต่อการบำรุงรักษาท้องลายได้ง่ายที่สุด


2.ท้องลายระยะท้าย (Striae Alba)


เป็นภาวะท้องลายที่เกิดขึ้นต่อจากท้องลายระยะเริ่มต้นประมาณ 1 เดือนถึง 1 ปี มีลักษณะเป็นรอยแตกสีเข้มกว่าเดิม จากแดงกลายเป็นม่วงและจางลงจนเป็นสีขาว ส่วนผิวหนังบริเวณแตกลายจะมีความบางลงและมีรอยย่นตามมา


คุณแม่แบบไหนบ้างที่เสี่ยงต่อท้องลายหลังคลอด

  • คุณแม่ที่มีอายุน้อย

  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด

  • คุณแม่ที่มีผิวแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื่น

  • คุณแม่ที่มีระดับฮอร์โมนคนท้องเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์

  • คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและน้ำหนักเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกน้อยที่มีภาวะตัวโตกว่าปกติ

  • คุณแม่ที่มีภาวะน้ำเคร่าเยอะ

  • กรรมพันธุ์จากคนในครอบครัว

แนะนำวิธีป้องกันท้องลายด้วยตัวคุณแม่


อย่างที่ครูก้อยได้เกริ่นไปตอนต้นว่าเราไม่สามารถรักษาให้ท้องหายลายได้ 100% แต่เราสามารถรักษาให้รอยดูจางลงได้ด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ซึ่งจะทำให้อาการคันและผิวเรียบเนียนขึ้นได้ ยิ่งเริ่มทาเร็วมากเท่าไหร่ ก็ช่วยบรรเทาอาการท้องลายไม่ให้เด่นชัดได้มากขึ้นเท่านั้นค่ะ


1.ดื่มน้ำเป็นประจำ


การดื่มน้ำมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผิวชุ่มชื่นขึ้น ผิวที่สูญเสียคอลลาเจนจึงได้รับการฟื้นฟูมากขึ้น ส่งผลให้สุขภาพผิวกลับมาแข็งแรง ไม่แห้ง ไม่เป็นขุยง่าย ทั้งนี้ควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอย่างน้อย 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2-2.5 ลิตร นอกจากจะช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มความกะปรี้กะเปร่าให้คุณแม่ได้มากขึ้นด้วยค่ะ


2.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง


โดยเฉพาะการแกะเกาบริเวณท้องลายช่วงขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากการสัมผัสอย่างรุนแรงอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นอักเสบ ยิ่งเป็นช่วงที่ผิวหนังบริเวณอ่อนแอและบอบบางลงแล้ว ก็ยิ่งเป็นแผลง่าย หากคุณแม่เกาบ่อยเกินไป อาจทำให้แผลอักเสบและแตกลายมากยิ่งขึ้นด้วยค่ะ ในกรณีที่คุณแม่รู้สึกคัน แนะนำให้ทาครีมบำรุงแทนจะดีกว่าค่ะ


นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการอาบน้ำอุ่นบ่อย ๆ ด้วยค่ะ แม้ว่าน้ำอุ่นจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย แต่หากอาบน้ำอุ่นเป็นประจำอาจทำร้ายสุขภาพผผิวโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกันค่ะ เพราะน้ำอุ่นจะทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น หากน้ำอุ่นสัมผัสกับรอยแตกบนหน้าท้องบ่อย ๆ จะทำให้รอยแตกขยายวงกว้างขึ้น รักษาให้จางได้ยากขึ้นด้วยเช่นกันค่ะ


3. ออกกำลังกายเป็นประจำ


การออกกำลังอย่างพอดี ไม่หักโหมจนเกินไป นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวของคุณแม่ได้ดีอีกด้วยค่ะ อีกทั้งปรับระดับฮอร์โมนให้สมดุล ช่วยลดอาการแตกลายบนหน้าท้องได้เลยล่ะค่ะ และที่สำคัญการออกกำลังกายยังช่วยควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป หน้าท้องที่หย่อนคล้อยจะไม่มีทางกลับมากวนใจคุณแม่ได้อีกค่ะ


4. เลือกรับประทานอาหารบำรุงผิว


การเลือกรับประทานอาหารที่ดี นอกจากจะบำรุงลูกน้อยในครรภ์แล้ว ยังช่วยบำรุงผิวพรรณของคุณแม่ให้แข็งแรงอีกด้วย สำหรับอาหารที่ครูก้อยแนะนำจะเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันดี หรือ HDL (High-Density Lipoprotein) ที่ช่วยในเรื่องของการกำจัดไขมันเลวออกจากร่างกาย ช่วยควบคุมน้ำหนักให้ตรงตามมาตรฐาน เมื่อไม่มีไขมันเลว หน้าท้องที่หย่อนคล้อยจากการตั้งครรภ์ก็ลดลง, สำหรับคอลลาเจน (Collagen) ช่วยซ่อมแซมและบำรุงผิวพรรณของคุณแม่ให้กระชับ ยืดหยุ่นได้ดียิ่งขึ้น ไม่หย่อนจากภาวะท้องลายหลังคลอด, ส่วนวิตามิน C ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน สมานแผลท้องลายให้หายไวยิงขึ้นด้วยค่ะ


5.ทาครีมบำรุงผิว


ครูก้อยแนะนำให้เลือกโลชั่นหรือครีมเนื้อข้น ซึ่งจะช่วยเก็บความชุ่มชื้นของผิวได้ดี ทั้งนี้ควรเลือกสูตรอ่อนโยน ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าตัวน้อยในครรภ์ด้วยนะคะ แต่หากคุณแม่ไม่ชอบเนื้อครีม ครูก้อยแนะนำให้ใช้เบบี้ออยล์ หรือน้ำมันมะกอกทาผิวก็ได้เช่นกันค่ะ


บทความที่น่าสนใจ

ดู 441 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page