top of page
ค้นหา

รู้หรือไม่? มีลูกยากอาจมีสาเหตุจากภาวะวัยทองก่อนวัย



หลายคนอาจคิดว่าวัยทองจะต้องเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่รู้หรือไม่คะว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่านั้นก็สามารถเป็นวัยทองก่อนวัยได้ โดยเฉพาะแม่ ๆ คนไหนก็ตามที่ต้องการมีลูกแต่มีแนวโน้มว่าจะเป็นภาวะดังกล่าว อาจส่งผลต่อการมีลูกด้วยเช่นกัน ว่าแต่ภาวะดังกล่าวเกิดจากอะไร สามารถรักษาให้หายได้หรือไม่ วันนี้ครูก้อยมีคำตอบค่ะ


ภาวะวัยทองก่อนวัยคืออะไร


เป็นภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลงจนไม่ผลิตฮอร์โมนออกมาอีก ส่งผลให้ไข่ไม่ตก และไม่มีประจำเดือน โดยทั่วไปแล้วอาการวัยทองจะเริ่มเกิดขึ้นในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ภาวะวัยทองก่อนวัยจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุต่ำกว่านั้น


สาเหตุของวัยทองก่อนวัย


  • กรรมพันธุ์จากคนในครอบครัว

  • ต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนทำงานผิดปกติ

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่เต็มอิ่ม

  • ละเลยการออกกำลังกาย ส่งผลให้ต่อมไฮโปธาลามัสซึ่งควบคุมการหลั่งฮอร์โมนทำงานผิดปกติไป สมองจึงหลั่งฮอร์โมนน้อยลง ส่งผลให้รังไข่หยุดทำงาน

  • ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ไทรอยด์, SLE, โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

  • ผ่านการผ่าตัดมดลูก หรือผ่าตัดรังไข่มาก่อน

  • วิธีการรักษาโรคด้วยการฉายแสงหรือทำเคมีบำบัด


วิธีสังเกตอาการวัยทองก่อนวัยด้วยตัวเอง


  • ประจำเดือนผิดปกติ มาไม่สม่ำเสมอ ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน

  • นอนไม่หลับ อันเนื่องมาจากอาการร้อน ๆ หนาว ๆ ไม่สบายตัว

  • รู้สึกเหนื่อยง่าย อันเป็นผลพวงมาจากการนอนหลับไม่เพียงพอ

  • อารมณ์แปรปรวนง่ายขึ้น หงุดหงิดง่าย หรืออยู่ดี ๆ ก็รู้สึกหดหู่โดยไม่ทราบสาเหตุ

  • หลงลืมง่าย เนื่องจากภาวะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล

  • ช่องคลอดแห้ง ความต้องการทางเพศลดลง อันเนื่องมาจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน

  • ผิวพรรรแห้งกราน ริ้วรอยมากขึ้นแต่ก่อนแบบเห็นได้ชัด


3 วิธีดูแลรักษาร่างกายให้ชะลอภาวะวัยทองก่อนวัย


1.พักผ่อนให้เพียงพอ


การนอนน้อยส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม เมื่อฮอร์โมนความเครียด หรือ คอร์ติซอล (Cortisol) ถูกหลั่งออกมามากเกินไป จนรบกวนฮอร์โมนเพศให้ทำงานผิดเพี้ยนไป จากศึกษาพบว่าสมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่มีผลต่อการนอนหลับ เป็นสมองส่วนที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากนอนไม่เพียงพอในระยะยาว อาจส่งผลต่อการสร้าง Luteinizing Hormone (LH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในช่วงตกไข่ เพื่อกระตุ้นให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอปฏิสนธิ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติ ย่อมส่งผลให้รอบเดือนมาไม่ปกติ ไข่จึงไม่ตก หรือตกไม่สม่ำเสมอ และทำให้มีลูกยากนั่นเองค่ะ


2. ออกกำลังกายเป็นประจำ


ไม่ว่าคุณจะมีน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ย่อมส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดเพี้ยนไปจากเดิม รังไข่จึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติและไข่ไม่ตกค่ะ จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่า ผู้ที่มีภาวะอ้วนจะมีปัญหาเรื่องการตกไข่และการมีประจำเดือนกว่ามากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวตามมาตรฐานถึง 2 เท่า เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตขึ้นจากไขมัน หากร่างกายสะสมไขมันมากเกินไป ส่งผลให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ ส่งผลให้ไม่มีการตกไข่, ประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย หรือประจำเดือนอาจขาดหายไปในที่สุด


ส่วนคนผอมเกินไปหรือผู้ที่ออกกำลังกายหนักอย่างนักกีฬา ก็มีโอกาสมีลูกยากได้ด้วยเช่นกันค่ะ เนื่องจากไขมันเป็นสารตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมนเพศ หากร่างกายมีไขมันน้อยเกินไป ส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดน้อยลงด้วย ครูก้อยขอแนะนำให้แม่ ๆ ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นเรทที่กำลังพอดีต่อสุขภาพ


3. รับประทานอาหารบำรุงรังไข่


ครูก้อยขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฮอร์โมนตกค้าง เช่น เนื้อติดมัน เนื้อแดง เนื่องจากจะทำให้ฮอร์โมนในร่างกายทำงานผิดเพี้ยนไปจากเดิม และลดพวกคาร์บขัดสี ได้แก่ ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว แป้งจากขนมเบเกอรี่ แล้วหันมาเน้นอาหารจำพวกคาร์บไม่ขัดสี โดยเฉพาะธัญพืชต่าง ๆ เช่น งาดำ ลูกเดือย แฟล็กซีด เมล็ดฟักทอง เป็นต้น เพราะหากคาร์บที่ทานเข้าไปถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล คาร์บเชิงซ้อนจะใช้กระบวนการย่อยอย่างช้า ๆ ข้อดีคือไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดแบบเฉียบพลัน จึงไม่กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน และลดการอักเสบซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ตั้งครรภ์ยากขึ้น


นอกจากนี้อย่าลืมเน้นทานผักผลไม้หลากสี เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน หลีกเลี่ยงผลไม้รสหวานจัด โดยผักผลไม้ที่ครูก้อนแนะนำ ได้แก่ ผักผลไม้สีส้มและแดง เพราะมีเบต้าแคโรทีน และไลโคปีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง ส่วนผักใบเขียวมีคลอโรฟิลล์สูง ได้แก่ วีทกราส และสาหร่ายสไปรูลิน่า ทำหน้าที่ท็อกซ์ระบบเลือด ช่วยให้เลือดไม่เหนียวข้นและไหลเวียนไปเลี้ยงรังไข่ได้ดีขึ้น


อย่าลืมรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ซึ่งจะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงระบบสืบพันธุ์และรังไข่ โดยเน้นทานอัลมอนด์และแฟล็กซีดที่ให้โอเมก้า 3 สูง รวมถึง ลิกแนน (Lignans) ที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และมีไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสารจากพืชที่ทำหน้าที่รักษาสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนของเพศหญิง ส่งผลต่อการตกไข่เป็นไปตามปกติ อีกทั้งยังช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะสืบพันธุ์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาจรับประทานงาดำ และเมล็ดฟักทองที่นอกจากจะให้กรดไขมันดีแล้ว ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลอีกด้วยค่ะ


สุดท้ายนี้การเลือกทานอาหารบำรุงเลือดก็จำเป็นไม่แพ้กันด้วยค่ะ หากเลือดไหลเวียนดี มีออกซิเจนนำพาสารอาหารไปเลี้ยงระบบสืบพันธุ์และรังไข่อย่างเพียงพอ จะช่วยให้รังไข่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฮอร์โมนเพศหญิงสมดุล ทั้งนี้ครูก้อยขอแนะนำน้ำมะกรูดเลยค่ะ เนื่องจากมีไบโอฟลาโวนอยด์สูง ช่วยให้เลือดสูบฉีดไหลเวียนดี อีกทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเควอซิทีนในปริมาณที่สูง


จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Ovarian Research ปี 2020 ศึกษาพบว่า เควอซิทีนช่วยลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย อีกทั้งเสริมการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจน ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบสืบพันธุ์ รอบเดือน และการตั้งครรภ์ให้ทำงานได้อย่างเต็มที่อีกด้วยนะคะ


ศึกษาสรรพคุณน้ำมะกรูด SHOT by ครูก้อย “สูตรผู้มีบุตรยาก” บำรุงไข่ เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์


คลิกอ่านเลยค่ะ → https://www.babyandmom.co.th/citrus-hystrix


ศึกษาสรรพคุณน้ำมะกรูด​ครูก้อย 70% ผสมน้ำ​ผึ้งชันโรง​ “สูตรเตรียม​ตั้งครรภ์”


คลิกอ่านเลยค่ะ → http://bit.ly/3b3yCvq


บทความที่น่าสนใจ

ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page