top of page
ค้นหา

3 ฮอร์โมนสำคัญช่วยเช็กภาวะรังไข่เสื่อม

แม่ๆ รู้มั้ยว่าภาวะรังไข่เสื่อมสามารถเช็กได้ด้วยฮอร์โมนในร่างกายทั้ง 3 ตัว ว่าแต่มีตัวไหนบ้าง มาดูกันค่ะ



เป็นภาวะที่รังไข่ทำงานลดน้อยลงหรือเหลือปริมาณไข่ในรังไข่น้อย ทำให้เสี่ยงต่อการมีบุตรยาก สาเหตุของภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากอายุที่มากขึ้น, โรคทางพันธุกรรม, โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน, การรับคีโมหรือฉายรังสีเพื่อรักษาโรค ในผู้ป่วยหลายรายมีภาวะนี้โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดด้วยเช่นกัน


สัญญาณเตือนว่ารังไข่เริ่มเสื่อม

  • การลดลงของจำนวนไข่ทำให้ประจำเดือนเริ่มมาไม่สม่ำเสมอ

  • ฮอร์โมน FSH เพิ่มขึ้น FSH เป็นฮอร์โมนที่ทำนายเรื่องรังไข่เสื่อม ส่วน Estradiol และ Inhibin ลดลง

  • อายุมากขึ้น AMH ลดลง จำนวนไข่ก็จะลดลงตาม

  • อายุมากขึ้น Inhibin b ผลิตมาจากรังไข่ลดลง


ดังนั้นฮอร์โมนที่แม่ๆ ควรเช็กเพื่อตรวจสภาพรังไข่จึงมีทั้งหมด 3 ฮอร์โมนด้วยกันค่ะ โดยจะใช้การตรวจเลือดในการทดสอบการทำงานของรังไข่ เพื่อใช้ประเมินว่าแม่ๆ มีไข่ตั้งต้นเท่าไหร่ เหมาะในการทำเด็กหลอดแก้วหรือไม่ ถือเป็นการดูสภาพรังไข่โดยรวมเพื่อพยากรณ์โรคเพื่อให้หมอพิจารณาหาแนวทางในการรักษาภาวะมีบุตรยากให้เหมาะสมกับแต่ละเคส โดยฮอร์โมนที่ต้องเช็กมีดังนี้


1. Anti-Mullerian Hormone (AMH)


เป็นฮอร์โมนที่มีปริมาณสัมพันธ์กับจำนวนไข่ใบเล็ก ๆ (antral follicles) ในรังไข่ แพทย์จึงใช้ฮอร์โมนนี้ในการตรวจวัดปริมาณของไข่ในรังไข่ได้

  • ถ้าค่าเกิน 1 ก็จะดี

  • ถ้าค่าต่ำกว่า 1 ng/ml แสดงว่าการทำงานของรังไข่ลดลง

  • ค่าต่ำคือ < 0.2–0.7 ng/mL แสดงว่ารังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่น้อยลง

  • ถ้าค่า AMH สูง > 6.7 ng/mL จะสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ำรังไข่มาก (PCOS) แพทย์จะพิจารณาเรื่องการฉีดยากระตุ้นไข่เป็นพิเศษสำหรับเคสนี้ค่ะ

2. ฮอร์โมน FSH ( Follicle Stimulating Hormone )


เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ให้สร้างไข่และไข่สุก กระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน

  • ถ้าระดับฮอร์โมน FHS สูง แสดงว่ารังไข่ทำงานไม่ดี

  • ถ้าระดับ FSH <10 mIU/mL ในช่วงวันที่ 3 ของประจำเดือน แสดงว่ารังไข่ทำงานได้ดี


3. ระดับ Estradiol


เป็นฮอร์โมนหลักของเพศหญิงที่ผลิตจากรังไข่ หรือที่เรารู้จักในชื่อของ "ฮอร์โมนเอสโตรเจน"

  • ค่าที่น้อยกว่า 80 pg/mL. ในช่วงวันที่ 3 ของประจำเดือน แสดงว่ารังไข่ทำงานได้ดี

ถึงไข่จะเสื่อมไปตามวัย แต่แม่ๆ สามารถบำรุงไข่ที่มีอยู่ให้มีคุณภาพได้ ครูก้อยรวบรวมวิธีการ คัมภีร์อาหารบำรุงไข่มาให้แม่ๆแล้ว ศึกษาและทำตามกันนะคะ สุดท้ายนี้ครูก้อยขอให้แม่ๆ สมหวัง มีลูกน้อยมาเติมเต็มความอบอุ่นในครอบครัวในเร็ววันนะคะ


บทความที่น่าสนใจ

ดู 388 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page