
โอกาสท้อง แต่ละวัย เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากทรัพยากรและคุณภาพของระบบต่างๆ ในร่างกายเรานั้นมีจำกัด และจะลดลงเรื่อยๆ ไปตามกาลเวลา หรือ หากพูดง่ายๆ คือ ยิ่งอายุมากขึ้น สิ่งที่เอื้ออำนวยในการตั้งครรภ์ในผู้หญิงเราก็ลดลงตามไปด้วยนั่นเองค่ะ
โอกาสท้อง แต่ละวัย ทำไมจึงมีความยาก-ง่ายที่ต่างกัน?
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นค่ะว่า ทรัพยากรเป็นสิ่งที่มีจำกัด แม้กระทั่ง "ไข่" สิ่งสำคัญของผู้หญิงที่มีผลเป็นอย่างมากในเรื่องของการตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้หญิงเรานั้น เกิดมาพร้อมไข่เพียง 1–2 ล้านฟองเท่านั้น แถมไข่จะสุกและสามารถปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนได้เพียง 300 ฟอง และยังไม่รวมถึงคุณภาพของไข่ที่เสื่อมตามอายุ ดังนั้น โอกาสท้องของผู้หญิง ในแต่ละวัยจึงแตกต่างกันนั่นเองค่ะ
ทำไมอายุจึงสำคัญต่อการตั้งครรภ์?
เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับมนุษย์เราที่สมรรถภาพทางร่างกายจะถดถอยลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น
สาเหตุก็เนื่องมาจากเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น เซลล์ไข่จะมีโครโมโซมที่ผิดปกติเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้..
เซลล์ไข่ไม่เจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ ยากต่อการปฏิสนธิ
การแบ่งตัวของตัวอ่อนผิดปกติ
ตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิจากเซลล์ไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติก็จะเป็นตัวอ่อนที่ไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือ กรณีทำเด็กหลอดแก้ว ตัวอ่อนจะตายหมด ไม่มีโอกาสใส่กลับเข้าโพรงมดลูก
เกิดการแท้งในระดับเริ่มต้น
มีความเสี่ยงทารกเป็นดาวน์ซินโดรม
การบำรุงไข่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่แม่ๆวางแผนท้องต้องเข้าใจและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เซลล์ไข่จะสมบูรณ์แข็งแรงได้ ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือการรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ เน้นโปรตีนเพื่อบำรุงและซ่อมแซมเซลล์ไข่ เน้นผักผลไม้เสริมสารต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องไข่จากการถูกทำลายของอนุมูลอิสระ งดหวาน งดของมัน ของทอด อาหารไขมันสูงที่เป็นตัวร้ายทำลายเซลล์ไข่ให้เสื่อมและแก่ก่อนวัย
"ช่วงอายุ" กับ การตั้งครรภ์
จากการศึกษาเรื่องอายุและภาวะเจริญพันธุ์ (Age and Fertility) ของสถาบัน American Society for Reproductive Medicine (ASRM) รายงานว่า อายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง
โดยช่วงที่มีภาวะเจริญพันธุ์สูงที่สุดคือในช่วงวัย 20 ปีเป็นต้นไป และจะลดต่ำลงอย่างมากเมื่อเริ่มเข้าสู่วัย 30
อัตราการตั้งครรภ์ของแต่ละรอบเดือนในแต่ละช่วงอายุเป็นดังนี้
อายุ 25-29 ปี: โอกาสท้อง 25-30%
อายุ 30-39 ปี: โอกาสท้อง 15-20%
อายุ 40-42 ปี: โอกาสท้อง 5%
อายุ 43 ปีขึ้นไป: โอกาสท้อง 1-2%
แนวทางการดูแลตนเองในช่วงเตรียมตัวตั้งครรภ์
การบำรุงไข่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่แม่ๆวางแผนท้องต้องเข้าใจและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เซลล์ไข่จะสมบูรณ์แข็งแรงได้ ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือการรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ เน้นโปรตีนเพื่อบำรุงและซ่อมแซมเซลล์ไข่ เน้นผักผลไม้เสริมสารต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องไข่จากการถูกทำลายของอนุมูลอิสระ งดหวาน งดของมัน ของทอด อาหารไขมันสูงที่เป็นตัวร้ายทำลายเซลล์ไข่ให้เสื่อมและแก่ก่อนวัย
เคล็ดลับเมนูอาหารที่ควรทานในช่วงบำรุงร่างกาย
สำหรับครูก้อยนั้น สิ่งสำคัญในช่วงการเตรียมความพร้อมร่างกายของหญิงสาวนั้น ค่อนข้างเป็นเรื่องที่สำคัญค่ะ เพราะสารอาหารต่างๆ ที่ได้จากอาหารที่ทานเป็นตัวกระตุ้นที่ค่อยช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นนั่นเอง ครูก้อยจึงรวบรวมคัมภีร์อาหารที่คนอยากท้องต้องทาน พร้อมวิธีการบำรุงไข่มาให้แล้ว ศึกษาและทำตามนะคะ ครูก้อยขอให้แม่ๆมีเจ้าตัวน้อยมาเติมเต็มครอบครัวในเร็ววันค่ะ
โดยอาหารที่ครูก้อยจะแนะนำก็มีหลายรายการด้วยกันค่ะ เช่น
ซุปไก่ดำตังกุยสดตุ๋นเครื่องยาจีน
ทานวันละ 1 ถ้วย (ทานช่วงค่ำๆก็ได้ค่ะ กำลังหิวๆ) ไก่ต่ำมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ มีสารเมลานิน และสารคาร์โนซีน ช่วยบำรุงไข ป้องกันภาวะรังไข่เสื่อมอีกด้วย ตุ๋นกับตังกุยสดจากยอดดอย ตังกุยคือราชินีแห่งคนมีลูกยากเลยค่ะ บำรุงทั้งรังไข่ บำรุงทั้งมดลูก และระบบฮอร์โมน
ขิงดำ
ชงขิงดำครั้งละ 1-2 ช้อนชา ในน้ำร้อน ดื่มวันละ 1 แก้วก่อนนอน ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีเพิ่มออกซิเจนในเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้อย่างเต็มที่ มดลูกอุ่น ติดลูกง่าย (ผสมน้ำผึ้งชันโรง 1-2 ช้อนโต๊ะเพื่อเสริมสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินเพิ่มมากขึ้น)
ดื่มน้ำมะกรูดคั้นสด
วันละ 2 SHOT เช้า-เย็น เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทีน ไบโอฟลาโวนอยด์ และวิตามิน
ซี ปกป้องเซลล์ไข่ให้สวย ลดไข่ฝ่อ ปรับประจำเดือน บำรุงมดลูก เพิ่มโอกาสฝังตัว ช่วยให้
เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้ดี เพิ่มออกซิเจนในเลือด ลดไขมันและน้ำตาลในเลือดอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> คัมภีร์บำรุงไข่ให้ท้องธรรมชาติ
สุดท้ายนี้ ไม่อาจสามารถสรุปได้ว่าอายุที่เหมาะกับการตั้งครรภ์นั้นควรจะเป็นช่วงไหน เพราะในแต่ละช่วงอายุมีปัจจัยความพร้อมที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสถานะทางการเงิน ความมั่นคง วุฒิภาวะ หรือความเป็นพ่อเป็นแม่ แต่เพื่อความปลอดภัยและลดปัญหาการตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำ นอกจากนี้ แม้อายุจะเพิ่มขึ้น แต่คนที่สุขภาพแข็งแรงดีมักมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์สูงกว่า ดังนั้น การรักษาสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมก็อาจช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้