สาว ๆ วัยเจริญพันธุ์หลายคนอาจมีความกังวลเกี่ยวกับระบบภายใน ยิ่งคุณมีอายุมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาภายในมากขึ้น ทั้งปัญหาวัยทอง รังไข่เสื่อมก่อนวัย หรือแม้แต่ภาวะรังไข่เสื่อมก็ตาม ยิ่งใครที่มีแพลนจะมีลูกด้วยแล้วล่ะก็ ยิ่งกังวลกว่าสาว ๆ คนอื่นอย่างแน่นอน วันนี้ครูก้อยจะมาพูดถึงอันตรายจากภาวะรังไข่เสื่อมกันค่ะ
รังไข่เสื่อมคืออะไร
เป็นภาวะที่รังไข่หยุดสร้างฮอร์โมนเพศออกจากรังไข่เป็นระยะเวลานานเกิน 1 ปีขึ้นไป ส่งผลให้ไม่มีการตกไข่และไม่มีประจำเดือน โดยทั่วไปแล้วจะเกิดกับสาว ๆ ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันพบว่ามีสาว ๆ หลายคนที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปีมีภาวะดังกล่าวอันเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ภาวะรังไข่ไม่เจริญเติบโต (Gonodal dysgenesis) จากความผิดปกติของโครโมโซม
อาการจากรังไข่เสื่อม มีอะไรบ้าง
ประจำเดือนรอบยาว มาน้อย หรือมาแบบขาดๆ หายๆ
ช่องคลอดแห้ง รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่อยากมีเพศสัมพันธ์
ร้อนวูบวาบ หนาวสั่นจนนอนไม่หลับ
โมโหง่าย หงุดหงิดบ่อย
วัยทองมาก่อนวัยอันควร
โอกาสตั้งครรภ์น้อยลง ท้องยากขึ้น
ปวดกระดูกบ่อย กระดูกเปราะหักง่าย
ใครเสี่ยงต่อภาวะรังไข่เสื่อมบ้าง
สาว ๆ ที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกมาก่อน
สาว ๆ ที่ได้รับยาเคมีบำบัดจากการรักษาโรคมะเร็ง
ผู้ที่มีการอักเสบหรือติดเชื้อบริเวณรังไข่
ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีภาวะหมดประจำเดือนเร็วผิดปกติ
ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune disease)
เช็กภาวะรังไข่เสื่อมได้ด้วยวิธีไหนบ้าง
1. ฮอร์โมน AMH (Anti-Mullerian Hormone)
เป็นฮอร์โมนที่มีปริมาณสัมพันธ์กับจำนวนไข่ใบเล็กในรังไข่ (Antral follicles) ถ้าค่าเกิน 1 จะถือว่าดี แต่หากค่าต่ำกว่า 1 ng/ml แสดงว่ารังไข่ทำงานด้อยประสิทธิภาพลง หรือหากค่าต่ำกว่า 0.2–0.7 ng/mL แสดงว่ารังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่น้อยลง ส่วนใครที่มีค่า AMH สูง > 6.7 ng/mL อาจสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ำรังไข่มาก (PCOS) ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาให้ฉีดยากระตุ้นไข่ค่ะ
2. ฮอร์โมน FSH ( Follicle Stimulating Hormone)
เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นรังไข่ให้สร้างไข่และกระตุ้นให้ไข่สุก รวมถึงกระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกด้วยค่ะ หากระดับ FHS สูง แสดงว่ารังไข่ทำงานไม่ดี แต่หากค่าน้อยกว่า 10 mIU/mL ในช่วงวันที่ 3 ของประจำเดือน แสดงว่ารังไข่ทำงานปกติค่ะ
3. ฮอร์โมนเอสตราดิออล (Estradiol)
หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือฮอร์โมนหลักของเพศหญิงที่ผลิตจากรังไข่ หากมีค่าน้อยกว่า 80 pg/mL. ในช่วงวันที่ 3 ของประจำเดือน แสดงว่ารังไข่ทำงานได้ดี แต่หากค่าต่ำกว่า 20 pg/mL. แสดงว่ารังไข่เริ่มทำงานได้ไม่ดี แต่หากค่าต่ำกว่า 5 pg/mL. แสดงว่ารังไข่เสื่อม เริ่มเข้าสู่วัยทองก่อนวัยอันควรแล้วค่ะ
รักษาภาวะรังไข่เสื่อมอย่างไร
1. การรักษาทั่วไป
เริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยลง ได้แก่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานแคลเซียมเสริมในรูปแบบของนมหรือยาเม็ดแคลเซียม
2. การรักษาเฉพาะ
กระดูกบาง ปวดกระดูกบ่อย และโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นภาวะที่พบบ่อยหลังจากหมดประจำเดือน ดังนั้นแพทย์จะให้ฮอร์โมนเพศทดแทน (ฮอร์โมนเอสโตรเจน) ทั้งรูปแบบรับประทาน ครีมทาผิว หรือแผ่นฮอร์โมนแปะติดผิวหนัง ควบคู่ไปกับฮอร์โมนโปรเจสโตเจนด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวและมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ นอกจากนี้ยังป้องกันมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกจากการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป
ทำไมต้องทานยาบํารุงมดลูก Vaginaree จาก Babyandmom
วาร์จินนารี่ เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับบํารุงมดลูกโดยเฉพาะ ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง แก้ปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ บำรุงไข่ให้สมบูรณ์มากขึ้น บำรุงมดลูก ลดการอักเสบของร่างกาย ฟื้นฟูระบบภายในของสาว ๆ ซึ่งจะช่วยลดภาวะมีบุตรยาก อีกทั้งช่วยบำรุงระบบภายในให้พร้อมต่อการตั้งครรภ์ หรือเข้าสู่กระบวนการ IUI, IVF และ ICSI มากยิ่งขึ้น โดยวาร์จินนารี่ของเราจะเริ่มเห็นผลตั้งแต่วันที่ 14 ไปจนถึงวันที่ 90 โดยผิวพรรณของสาว ๆ จะเริ่มเปล่งปลั่ง แลดูสดใส มีมูลตกไข่และมีน้ำหล่อลื่นมากขึ้น ระบบฮอร์โมนเพศหญิงสมดุล กล้ามเนื้อมดลูกกระชับ ดูเป็นสาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และที่สำคัญยังช่วยป้องกันปัญหาภายในต่าง ๆ ของสาว ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรังไข่เสื่อม ปวดท้องประจำเดือน วัยทองก่อนกำหนด แก่ก่อนวัยผิวหมองคล้ำ และฮอร์โมนไม่สมดุลอีกด้วยค่ะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: วาร์จินนารี่ Varginaree
ความคิดเห็น