ผนังมดลูกหนา เกิดจากอะไร ทำยังไงให้มดลูกแข็งแรง พร้อมท้อง
top of page
ค้นหา

ผนังมดลูกหนา เกิดจากอะไร ทำยังไงให้มดลูกแข็งแรง พร้อมท้อง



ผนังมดลูกหนาถือเป็นภาวะผิดปกติที่มีผลทำให้ท้องยากมากขึ้น และเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สาว ๆ หลายคนประสบอยู่ขณะนี้ วันนี้ครูก้อยมีเคล็ด (ไม่) ลับในการเสริมผนังมดลูกให้กลับมาแข็งแรงพอตั้งครรภ์ได้ ว่าแต่มีวิธีไหนบ้างมาอ่านกันเลยค่ะ


ผนังมดลูกหนา คืออะไร


เกิดจากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) มากเกินไปและฮอร์โมนไม่สมดุล กระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกให้เจริญเติบโต ส่งผลให้ผนังมดลูกหนาขึ้นและเกิดความผิดปกติของประจำเดือน ทั้งประจำเดือนมาช้าเกินกว่า 7 วัน หรือ 2-3 เดือนมาครั้ง, ประจำเดือนขาด, ปริมาณประจำเดือนมีมากกว่าปกติ บางรายอาจมีเลือดออกจากช่องคลอดแม้ว่าจะหมดประจำเดือนแล้วก็ตาม นอกจากจะมีผลต่อประจำเดือนแล้ว หากปล่อยให้ผนังมดลูกหนาเป็นเวลานานก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ไม่ว่าจะเป็นภาวะมีบุตรยาก, โรคโลหิตจาง, โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อาจพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งมดลูกในที่สุด


ผนังมดลูกหนา เกิดจากอะไร

  • อยู่ในช่วงหมดประจำเดือน ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนน้อยลง ฮอร์โมนไม่สมดุล

  • ทานยาบางชนิดที่มีผลต่อฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ยาปรับฮอร์โมน ยาคุมกำเนิด

  • ปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) โรคเบาหวาน 

  • ปัจจัยเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงอย่างการสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีไขมันเลวเป็นประจำจนมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ยีนกลายพันธุ์


ผนังมดลูกหนาเท่าไหร่ ถึงจะมีลูกง่าย


สำหรับความหนาของผนังมดลูกที่เหมาะต่อการตั้งครรภ์จะอยู่ที่ 8-14 มิลลิเมตร หากความหนาของมดลูกน้อยกว่า 7 มิลลิเมตร หรือหนามากกว่า 14 มิลลิเมตร ก็จะมีผลทำให้ตัวอ่อนฝังตัวยากขึ้น โอกาสตั้งครรภ์ก็ลดลงค่ะ


ผนังมดลูกหนา รักษาอย่างไรดี

  • กรณีที่ไม่รุนแรงมาก แพทย์จะจ่ายยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์ให้คนไข้ทานอย่างน้อย 3-6 เดือน และดูดเนื้อในโพรงมดลูกร่วมด้วย

  • กรณีที่ไม่รุนแรง แต่กลับมาเป็นซ้ำ แพทย์จะจ่ายยาฮอร์โมนอย่างต่อเนื่องแบบทานหรือแบบห่วงอนามัย เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

  • กรณีที่อาการรุนแรงมาก เสี่ยงต่อโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก แพทย์จะผ่าตัดเอามดลูกออก แม้ว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดแต่ก็มีผลทำให้ไม่สามารถมีลูกได้อีกต่อไป


ป้องกันผนังมดลูกหนาได้ด้วยวิธีไหนบ้าง


1. ตรวจภายในเป็นประจำ


เนื่องจากเราไม่สามารถมองเห็นความผิดปกติของน้องสาวเราได้ด้วยตาเปล่า แถมโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงบางโรคก็ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ในเบื้องต้น โดยเฉพาะเนื้องอกมดลูกและมะเร็งปากมดลูก ต่อให้คุณไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ หรือไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนในชีวิตก็ควรเข้ารับการตรวจด้วยเช่นกันค่ะ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโรคทางนรีเวช ยิ่งพบไวเท่าไหร่ ก็ยิ่งรักษาโรคได้เร็วเท่านั้น โดยทั่วไปแล้วการตรวจภายในจะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที นอกจากจะใช้เวลาไม่นานแล้ว ยังไม่เจ็บอย่างที่สาว ๆ หลายคนคิดอีกด้วยนะคะ ทางที่ดีครูก้อยแนะนำให้มาตรวจเป็นประจำปีละครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาน้องสาวที่อาจนำมาสู่การตั้งครรภ์ที่ยากขึ้นด้วยค่ะ


2. มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย


แม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์แบบธรรมชาติจะช่วยให้ตั้งครรภ์ได้ แต่หากคุณและสามีมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัยมาก่อน เช่น มีคู่นอนมากกว่า 1 คน, ไม่ทำความสะอาดน้องชาย/น้องสาวทั้งก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์, ฝ่ายชายไม่สวมถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ ฯลฯ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะผนังมดลูกหนา หรือโรคต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้นได้อีกด้วยค่ะ เช่น มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากมดลูก หากคุณมีความเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัย แนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนวางแผนตั้งครรภ์จะดีที่สุดค่ะ


3. ปรับระดับให้ฮอร์โมนสมดุล


กรณีที่คุณต้องรับประทานยาที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว แพทย์หรือเภสัชกรจะแนะนำให้ทานฮอร์โมนโปรเจสตินควบคู่กันไปด้วยนะคะ ทั้งนี้ก็เพื่อปรับฮอร์โมนให้สมดุลและไม่ไปกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้นนั่นเองค่ะ


4. รับประทานอาหารปรับสมดุลฮอร์โมน


สำหรับอาหารที่ครูก้อยแนะนำจะเน้นไปที่อาหารที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนหรืออาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยปรับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงให้อยู่ในระดับที่สมดุล ไม่มากหรือน้อยเกินไปจนเสี่ยงต่อผนังมดลูกหนา โดยอาหารที่ครูก้อยแนะนำ ได้แก่ ลูกพรุน น้ำมะพร้าว น้ำเต้าหู้ งา ข้าวสาลีและโฮลเกรน เมล็ดแฟลกซ์ และถั่วต่าง ๆ 


5. พักผ่อนให้เพียงพอ


นอกจากการรับประทานอาหารที่ดีต่อผนังมดลูกแล้ว การนอนพักผ่อนถือเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันด้วยนะคะ หากคุณนอนหลับไม่เพียงพอก็จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนฟื้นฟูระบบต่าง ๆ ได้ไม่เต็มที่ ร่างกายจึงทำงานหนักมากขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพง่ายขึ้น รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์จนเป็นสาเหตุที่ทำให้ผนังมดลูกมีปัญหาตามมาอีกด้วย สำหรับการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอจะอยู่ที่ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนเวลาที่ควรเข้านอนมากที่สุดจะอยู่ที่ 20:30-21:30 น. และเวลาตื่นที่ดีที่สุดจะอยู่ที่ 05:30-06:30 น.


ผนังมดลูกแข็งแรงได้ง่าย ๆ ด้วย Ferty จาก Babyandmom


Ferty เป็นโปรตีนจากพืชที่ถูกออกแบบมาเพื่อคุณแม่วางแผนตั้งครรภ์โดยเฉพาะ อุดมไปด้วยสารอาหารบำรุงไข่ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนในรูปแบบ Isolated Soy Protein สูงถึง 90% ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ ส่งผลให้ผนังมดลูกหนาขึ้นและรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน, มัลติวิตามินมากถึง 13 ชนิด ช่วยปรับฮอร์โมนให้สมดุล เพิ่มโอกาสฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้รับวิตามิน D และบรรเทาอาการต่าง ๆ ช่วงก่อนมีประจำเดือน, โฟลิค มีส่วนช่วยให้สร้างตัวอ่อนและป้องกันความผิดปกติของระบบประสาท, Q10 กระตุ้นให้เซลล์ไข่เต่งตึง พร้อมปฏิสนธิ และสารอาหารสำคัญอื่น ๆ อีกมาก


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: Ferty โปรตีนเฟอร์ตี้


บทความที่น่าสนใจ

ดู 29 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page