แบคทีเรียในช่องคลอดมีผลต่อการมีลูกแค่ไหน ดูแลร่างกายยังไงดี
- admin14284
- 19 ต.ค. 2566
- ยาว 1 นาที

คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจยังไม่รู้มาก่อนว่าในช่องคลอดของเรามีแบคทีเรียทั้งชนิดดีและชนิดไม่ดี หากปล่อยให้มีแบคทีเรียชนิดไม่ดีอยู่ในช่องคลอดเป็นเวลานาน อาจมีผลต่อการมีลูกที่ยากขึ้นด้วยนะคะ วันนี้ครูก้อยจะเล่าให้ฟังค่ะว่าแบคทีเรียชนิดดีและชนิดไม่ดีมีอะไรบ้าง มีวิธีรักษาสมดุลของแบคทีเรียชนิดดีอย่างไรเพื่อให้มีลูกได้ง่ายขึ้น
แบคทีเรียในช่องคลอดมีอะไรบ้าง
โดยทั่วไปแล้วแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องคลอดของผู้หญิงจะมีทั้งชนิดดี คือ แลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) และชนิดไม่ดี คือ แอนแอโรบส์ (Anaerobes) หากแบคทีเรียทั้งสองประเภทมีปริมาณที่สมดุลกันย่อมไม่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติใด ๆ ต่อร่างกาย เนื่องจากแลคโตบาซิลลัสมีฤทธิ์ต้านจุลชีพโดยลด pH ในช่องคลอด, สร้างไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (สารเหลวขจัดเชื้อแบคทีเรีย) และมีโพรไบโอติกส์ในช่องคลอดที่ยึดติดกับเซลล์เยื่อบุช่องคลอด จึงช่วยขจัดเชื้อโรคที่อาจเกิดขึ้นภายในช่องคลอด แต่หากช่องคลอดมีแบคทีเรียแอนแอโรบส์มากเกินไป อาจทำให้ช่องคลอดระคายเคืองและเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือที่เรียกว่า BV (Bacterial Vaginosis) โดยภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 15 - 44 ปี หากปล่อยไว้นานอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพตามมามากมาย รวมถึงเพิ่มโอกาสให้มีลูกยากมากขึ้นด้วยนะคะ นอกจากนี้หากรักษาหายได้ก็ตามแต่หากดูแลสุขภาพร่างกายไม่ดี อาจเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นซ้ำได้ในอนาคตอีกด้วยค่ะ
สาเหตุของช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
รับประทานของหมักดองหรืออาหารคาวเป็นประจำ
ทำความสะอาดน้องสาวผิดวิธี เช่น สวนล้างช่องคลอด ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดไม่เหมาะกับน้องสาว
ใช้แผ่นอนามัยที่มีส่วนผสมของน้ำหอม
สวมกางเกงหรือกระโปรงที่รัดแน่นเกินไป
ไม่ทำความสะอาดช่องคลอดก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์
มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน เช่น ไม่สวมถุงยางอนามัย หรือมีคู่นอนมากกว่า 1 คน
เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
เป็นผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อ HIV
การตั้งครรภ์ เพราะทำให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงและเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายขึ้น
อาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด
ลักษณะของตกขาวผิดปกติ เปลี่ยนเป็นสีขาวครีม เขียว
มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ร่วมด้วย
แสบร้อนขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์
อันตรายจากการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ
คลอดก่อนกำหนด
ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ง่ายขึ้น
มีบุตรยากขึ้นกว่าผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน
แบคทีเรียในช่องคลอดมีผลต่อการมีลูกแค่ไหน
เมื่อแบคทีเรียภายในช่องคลอดขาดความสมดุล ส่งผลให้ช่องคลอดเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายขึ้น หากถ้าคุณแม่มีพฤติกรรมเสี่ยง อย่างการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันหรือไม่ได้ทำความสะอาดช่องคลอดก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ อาจเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ง่ายยิ่งขึ้น และเมื่อติดเชื้อจากโรคดังกล่าวก็ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างปวดท้องน้อยเรื้อรังหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบที่ทำให้ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงมีปัญหา
นอกจากจะสร้างความรู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์จนไม่กล้ามีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์แล้ว หากฝืนมีเพศสัมพันธ์ไปก็มีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าผู้ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพใด ๆ หรือต่อให้ตั้งครรภ์ได้ก็เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก, แท้งบุตร รวมไปถึงการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วยค่ะ
รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดอย่างไรได้บ้าง
รักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาเมโทรนิดาโซลเมโทรนิดาโซล (Metronidazole), ยาคลินดามัยซิน (Clindamycin) ชนิดรับประทาน หรือยาทินิดาโซล (Tinidazole) ทั้งนี้ควรทานยาให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาด้วยตัวเองเด็ดขาดเพื่อป้องกันการดื้อยาและกลับมาเป็นซ้ำได้ในอนาคต
เข้ารับการรักษากับสูตินรีแพทย์ โดยแพทย์จะตรวจภายในช่องคลอด ตรวจตกขาว หรือตรวจวัดค่า pH ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อหาความผิดปกติของช่องคลอด
ปรับพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อช่องคลอดง่ายโดยการทำความสะอาดช่องคลอดอย่างถูกวิธี ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นสูตรอ่อนโยน ไม่สวนล้างช่องคลอด, มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย มีคู่นอนเพียงคนเดียว สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
มีวิธีปรับสมดุลแบคทีเรียในช่องคลอดอย่างไรได้บ้าง
สำหรับวิธีเติมเต็มและปรับสมดุลของแบคทีเรียชนิดดีในช่องคลอดจะต้องเติมแลคโตบาซิลัสให้มีมากกว่าแอนแอโรบส์ ซึ่งทางครูก้อยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับปรับสมดุลภายในช่องคลอดอย่าง Ferty Probiotics By KruKoy เฟอร์ตี้ โพรไบโอติกส์ บาย ครูก้อย ที่อุดมไปด้วยมีจุลินทรีย์ชนิดดี 9 สายพันธุ์
ช่วยส่งเสริมภาวะเจริญพันธุ์ด้วยส่วนผสมหลักทั้ง 6 กระบวนการ ได้แก่ โพรไบโอติกส์ (Probiotics), พรีไบโอติกส์ (Prebiotics), สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant), กระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Immunity) อย่างยีสต์เบต้ากลูแคน (Yeast beta-glucan), ไฟเบอร์ (Fiber) และโฟลิก (Folic) ช่วยเพิ่มระดับจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดีต่อร่างกาย ส่งผลให้ลดโอกาสเกิดการอักเสบที่เป็นสาเหตุของโรคทางสูติศาสตร์ เช่น ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease), ภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS), ซีสต์รังไข่ (Functional Cyst) และอื่น ๆ อีกมากมาย เหมาะสำหรับคุณแม่ที่กำลังเตรียมตั้งครรภ์, คุณแม่กำลังตั้งครรภ์, คุณแม่หลังคลอด และผู้หญิงทุกคนที่ต้องการปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหารอีกด้วยค่ะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: Ferty Probiotics By KruKoy เฟอร์ตี้ โพรไบโอติกส์ บาย ครูก้อย
Comments