การบำรุงตัวเองด้วยการเพิ่มเอสโตรเจนจากมื้ออาหารถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่อยากมีลูกทุกคน เพราะนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง พร้อมตั้งครรภ์แล้ว ยังเป็นเกราะป้องกันจากภาวะร่างกายอ่อนแอระหว่างตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลให้ลูกน้อยในครรภ์ไม่แข็งแรงอีกด้วย ว่าแต่เราสามารถเพิ่มเอสโตรเจนได้จากอาหารประเภทไหนบ้าง วันนี้ครูก้อยมีคำตอบค่ะ
เอสโตรเจนคืออะไร
เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่รังไข่ผลิตขึ้นมาเพื่อควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง มีผลต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้หญิง โดยทั่วไปผู้หญิงจะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ที่ 15-350 pg/mL แม้ว่าเอสโตรเจนจะผลิตน้อยลงเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไปก็ตาม แต่หากคุณมีอายุที่น้อยลงมาหน่อยแต่ร่างกายกลับผลิตเอสโตรเจนมากไปหรือน้อยไป อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาในอนาคตอีกด้วยค่ะ
เอสโตรเจนสำคัญต่อการมีลูกอย่างไร
เนื่องจากเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของระบบสืบพันธุ์ จึงมีผลต่อการมีลูกโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นให้มดลูกทำงาน ทำให้ไข่ตก ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ส่งเลือดมาเลี้ยงมดลูก ช่วยให้มดลูกขยายขนาดและพร้อมต่อการตั้งครรภ์มากขึ้น
แต่หากคุณแม่ดูแลตัวเองได้ไม่ดีเท่าที่ควร ก็อาจทำให้ร่างกายมีเอสโตรเจนไม่สมดุล หากเอสโตรเจนมากเกินไป จะทำให้ร่างกายสะสมไขมันตามส่วนต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น หรือหากมีเอสโตรเจนน้อยไป จะทำให้ช่องคลอดแห้ง รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการตกไข่ลดลง โอกาสมีลูกจึงน้อยลงด้วยค่ะ
สำหรับกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว ลูกน้อยจะดึงแคลเซียมประมาณ 2.5% ในร่างกายคุณแม่ไปใช้สำหรับเสริมสร้างพัฒนาด้านต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นการที่ร่างกายผลิตเอสโตรเจนอย่างมาสม่ำเสมอจะช่วยยับยั้งการสลายตัวของกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกพรุนที่อาจเกิดขึ้นในคุณแม่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ข้อต่อบริเวณอุ้งเชิงกรานมากขึ้น ทำให้ช่องคลอดขยายตัวง่ายขึ้นขณะคลอดลูกอีกด้วยค่ะ
เอสโตรเจนลดลง ฮอร์โมนไม่สมดุลเกิดจากอะไร
อายุเพิ่มขึ้น
พันธุกรรม
โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง
ออกกำลังกายหนักเกินไป
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายน้อยเกินไป
พักผ่อนน้อย อันเนื่องมาจากความเครียดสะสม จนทำให้หลับยาก
มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
อยู่ในพื้นที่ที่มีสารพิษปนเปื้อนเป็นเวลานาน
ป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอสโตรเจนต่ำ
สัญญาณเตือนว่าฮอร์โมนไม่สมดุล
รู้สึกร้อนวูบวาบ มีเหงื่อออกตอนกลางคืน ทำให้หลับยากกว่าเดิม สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง
ไม่มีสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ เป็นผลมาจากการนอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน
หลงลืมง่าย จำสิ่งต่าง ๆ ยากขึ้น
ตัวบวม อยากรับประทานแต่ของหวาน เมื่อทานมาก ๆ อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
ช่องคลอดฝ่อตัว มีน้ำหล่อลื่นน้อยลง ส่งผลให้รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ความหนาแน่นของกระดูน้อยลง กระดูกจึงเปราะลงตาม
ประจำเดือนมาไม่ปกติ
ปรับสมดุลฮอร์โมนด้วยการเพิ่มเอสโตรเจนจากไขมันดี
สำหรับวิธีการปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อให้พร้อมต่อการมีลูกสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ฮอร์โมนทดแทนภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง, การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่หักโหมหรือน้อยจนเกินไป เพื่อให้น้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐาน, การจัดการความเครียดด้วยการทำงานอดิเรก, พักผ่อนอย่างเพียงพอ รวมถึงเลือกรับประทานอาหารบำรุงฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเช่น ผักผลไม้สด, ถั่วเหลือง หรือวิตามินเสริมก็ตาม แต่อาหารอีกประเภทหนึ่งที่ใครหลายคนอาจมองข้ามไปนั่นคือ
แม้ว่าใครหลายคนจะมองว่าไขมันเป็นตัวร้าย แต่ใครหลายคนอาจไม่รู้มาก่อนว่าไขมันที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเป็นไขมันเลว หรือ LDL (Low Density Lipoprotein) ส่วนไขมันที่ครูก้อยจะมาแนะนำให้ทานนั้นนอกจากจะช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงแล้ว ยังช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้มากขึ้นด้วยนะคะ ซึ่งเราเรียกไขมันประเภทนี้ว่า ไขมันดี หรือ HDL (High-Density Lipoprotein) เป็นไขมันที่ทำหน้าที่กำจัดไขมันเลวที่สะสมตามหลอดเลือดเพื่อส่งไปให้ตับขับออกจากร่างกาย ช่วยป้องกันภาวะน้ำหนักขึ้นจนเกินมาตรฐาน นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ในระยะยาวอีกด้วยค่ะ
สำหรับอาหารที่มีไขมันดีสามารถพบได้ในอาหาร 4 จำพวก ได้แก่ น้ำมัน, ผัก, ผลไม้ และธัญพืช ในส่วนของน้ำมันประกอบด้วยน้ำมันที่อุดมไปด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว 9 ชนิด ได้แก่ น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันกระเทียม, น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์, น้ำมันฟักข้าว, น้ำมันอะโวคาโด, น้ำมันงาขี้ม้อน, น้ำมันมะกอก, น้ำมันสาหร่าย และน้ำมันงา นอกจากจะช่วยบำรุงระบบสืบพันธุ์ให้แข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดโอกาสแท้งลูกและบำรุงลูกน้อยในครรภ์อีกด้วยค่ะ
นอกจากนี้ยังมีผักผลไม้และธัญพืชที่มีเส้นใยสูงอีกจำนวนมาก ได้แก่ ผักโขม, บรอกโคลี, กล้วย, ส้ม, เมล็ดแฟลกซ์, เมล็ดทานตะวัน และอื่น ๆ อีกมาก รวมถึงเนื้อสัตว์บางชนิดที่มีกรดไขมันสูงอย่างโอเมก้า 3 ที่เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีและเสริมสร้างพัฒนาการของสมองและจอประสาทตาอีกด้วยค่ะ ทั้งนี้อย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำ, พักผ่อนให้เพียงพอ และที่สำคัญจัดการกับความเครียดให้ดีนะคะ เพื่อให้ร่างกายพร้อมต่อการมีลูกมากที่สุดนั่นเองค่ะ
Comments