โพรไบโอติกคืออะไร สำคัญต่อคุณแม่เตรียมท้องแค่ไหน
top of page
ค้นหา

โพรไบโอติกคืออะไร สำคัญต่อคุณแม่เตรียมท้องแค่ไหน

อัปเดตเมื่อ 23 พ.ย. 2566



หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้างว่าโพรไบโอติกมีส่วนสำคัญต่อการตั้งครรภ์ หากร่างกายได้รับจุลินทรีย์ชนิดนี้ในปริมาณที่เพียงพอก็จะช่วยเพิ่มโอกาสท้องง่ายขึ้นด้วย ว่าแต่จุลินทรีย์ชนิดนี้คืออะไร ช่วยให้ตั้งครรภ์ได้อย่างไร หาได้จากที่ไหนบ้าง ครูก้อยมีคำตอบมาฝากค่ะ


โพรไบโอติกส์คืออะไร


เป็นกลุ่มแบคทีเรียชนิดดีที่อาศัยอยู่ตามระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ ทำหน้าที่ผลิตสารสำหรับกำจัดเชื้อแบคทีเรียชนิดไม่ดีออกจากร่างกาย อีกทั้งมีส่วนช่วยในการดูดซึมอาหาร, รักษาโรคและป้องกันสภาวะผิดปกติของร่างกาย หากร่างกายมีปริมาณแบคทีเรียชนิดดีที่เพียงพอและมากกว่าแบคทีเรียชนิดไม่ดีก็จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


โพรไบโอติกส์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

  • แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เป็นแบคทีเรียชนิดดีที่ในกลุ่มโปรไบโอติกที่ช่วยในเรื่องของการขับถ่ายโดยตรง พบได้ในโยเกิร์ต นมเปรี้ยว กิมจิ ฯลฯ

  • บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) เป็นจุลินทรีย์ที่ในกลุ่มโปรไบโอติกที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทาน บรรเทาอาการภูมิแพ้ ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคในลำไส้ พบได้ในโยเกิร์ต นมเปรี้ยว กิมจิ ฯลฯ

  • แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces boulardii) เป็นยีสต์ชนิดดีที่ในกลุ่มโปรไบโอติกที่ช่วยแก้ปัญหาระบบทางเดินอาหาร พบได้ในโยเกิร์ตและนม

ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์

  • บรรเทาและป้องกันอาการท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)

  • บรรเทาและป้องกันอาการท้องผูกด้วยการลดภาวะลำไส้อักเสบให้กลับสู่สภาวะปกติ

  • ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เนื่องจากโพรไบโอติกส์จะเปลี่ยนสภาพแบคทีเรียในลำไส้ไม่ให้เกิดสารในกลุ่มไนโตรเจน (Nitrogen) และอะโรมาติกเอมีน (Aromatic amines) ไม่ให้มีมากเกินไป

  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

  • ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและในช่องคลอด

  • รักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจน (Estrogen)

  • รักษาสมดุลของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

โพรไบโอติกส์ดีต่อคุณแม่เตรียมท้องอย่างไร


การรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์เป็นประจำจะช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด สำหรับโพรไบโอติกส์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเจริญพันธุ์ ได้แก่ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เป็นแบคทีเรียที่ทำหน้าที่ต้านจุลชีพโดยการลด pH ในช่องคลอด ช่วยป้องกันภาวะติดเชื้อในช่องคลอด โดยแลคโตบาซิลลัสนั้นมีหลายชนิด ได้แก่

  • Lactobacillus rhamnosus HN001 และ Lactobacillus acidophilus La-14 เป็นแบคทีเรียที่ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีในช่องคลอดและปรับค่า pH ในช่องคลอดให้สมดุล

  • Lactobacillus acidophilus NCFM เป็นแบคทีเรียที่ช่วยเพิ่มระดับแบคทีเรียชนิดดีและลดเวลาการขนส่งอาหารในลำไส้ ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานเต็มประสิทธิภาพ ระบบภูมิคุ้มกันจึงทำงานได้เต็มที่

  • Lactobacillus gasseri เป็นแบคทีเรียที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและรักษาการเผาผลาญให้กลับมาเป็นปกติ อีกทั้งป้องกันไขมันสะสมจนทำให้น้ำหนักเกินมาตรฐาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการมีลูกยาก

  • Lactobacillus crispatus เป็นแบคทีเรียที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อที่ช่องคลอดและลำไส้ สำหรับอาหารที่อุดมไปด้วยแลคโตบาซิลลัส ได้แก่ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ไวน์ กิมจิ ซุปมิโสะ ถั่วเน่า (นัตโตะ) คีเฟอร์ (Kefir) ชาหมักคอมบูชา เป็นต้น

โพรไบโอติกส์ มีในไหนบ้าง


สำหรับโพรไบโอติกส์สามารถพบได้ในอาหารหลากชนิด เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ขนมปังโฮลวีท กล้วย แอปเปิ้ล โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ถั่วแดง ถั่วเหลือง คีเฟอร์ (Kefir) กิมจิ คอมบูชา ซุปมิโซะ เทมเป้ และถั่วนัตโตะ ถั่วเปลือกแข็งอย่างเมล็ดมะม่วงหิมพานต์และพิตาชิโอ เป็นต้น


โพรไบโอติกส์ เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้

  • ผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกายให้พร้อมต่อการตั้งครรภ์

  • ผู้ที่ต้องการให้สุขภาพแข็งแรง ให้ฮอร์โมนในร่างกายสมดุล

โพรไบโอติกส์ ไม่เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยที่เข้ารับเคมีบำบัด

  • ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดมาได้ไม่นาน

  • ผู้ป่วยเข้าขั้นวิกฤต

สาเหตุที่ทำให้ร่างกายมีโพรไบโอติกส์ลดลง

  • ใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป

  • รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลมากเกินไป เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม ชา กาแฟ เฟรนช์ฟรายส์ แป้งที่ผ่านการขัดสี ฯลฯ

  • รับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

  • สูบบุหรี่เป็นเวลานาน

  • ละเลยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  • พักผ่อนน้อย ไม่ตรงตามความต้องการของร่างกาย

  • อายุเพิ่มขึ้น

ร่างกายขาดโพรไบโอติกส์ จะเกิดอะไรขึ้น

  • ผิวพรรณไม่สดใส ผิวหนังมีผื่นขึ้น

  • มีสิวอักเสบขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • เป็นภูมิแพ้อากาศ

  • อ่อนเพลียง่าย

  • ป่วยง่าย หายยาก

  • ท้องผูก ลำไส้แปรปรวน

  • ภาวะกรดไหลย้อน

  • ติดเชื้อในช่องคลอดหรือในทางเดินปัสสาวะ

  • โอกาสตั้งครรภ์ลดลง

Q&A คำถามที่พบบ่อย


โพรไบโอติกส์ ทานทุกวันได้ไหม


เนื่องจากจุลินทรีย์ชนิดนี้ไม่สามารถคงอยู่ในร่างกายได้นานเนื่องจากร่างกายจะขับออกมา ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกส์ก็จะดีต่อร่างกายไม่น้อยเลยล่ะค่ะ ทั้งนี้แนะนำให้ทานก่อนมื้ออาหารอย่างน้อย 30 นาทีค่ะ


โพรไบโอติกส์ กินตอนไหนดีที่สุด


แนะนำให้ทานก่อนมื้อหรือระหว่างมื้ออาหารได้เลยค่ะ เนื่องจากกระเพาะของคนเรามีความเป็นกรดต่ำในช่วงก่อนมื้ออาหาร การทานก่อนหรือระหว่างมื้อจึงช่วยป้องกันไม่ให้น้ำย่อยเข้าไปทำลายจุลินทรีย์ชนิดนี้ ทั้งนี้แนะนำให้ทานควบคู่กับน้ำเพื่อให้โพรไบโอติกส์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


บทความที่น่าสนใจ


ดู 172 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page