ทำไม? สตรีที่มีภาวะ PCOS จึงควรดื่มน้ำมะกรูดคั้นสด
• PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) หรือกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่
คือ ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ผู้ป่วยมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล เกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง รังไข่จึงมีขนาดโตขึ้น และอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวขึ้น ขนดก หรือมีบุตรยาก โดยมักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นหลัก
สาเหตุของ PCOS อาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้ (ข้อมูลจาก Pobpad)
1.ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมีปริมาณสูงกว่าปกติ
เทสโทสเทอโรน คือฮอร์โมนเพศชายชนิดหนึ่ง โดยปกติจะถูกผลิตขึ้นในร่างกายของเพศหญิงปริมาณเล็กน้อย ระดับเทสโทสเทอโรนที่สูงมากกว่าระดับทั่วไปส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติได้
2. ฮอร์โมนลูทิไนซิง หรือแอลเอชมีปริมาณสูงกว่าปกติ
ลูทิไนซิง คือฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการตกไข่ ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลให้รังไข่ทำงานไม่ปกติ
3. ภาวะดื้ออินซูลิน
อินซูลินคือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นภายในตับอ่อน นอกจากมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อินซูลินยังทำหน้าที่กระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศชายชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เทสโทสเทอโรน ผู้หญิงที่มีภาวะดื้ออินซูลิน หรือภาวะที่เซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองกับปริมาณอินซูลินปกติ ทำให้ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมากขึ้นไปด้วย โดยปริมาณอินซูลินและเทสโทสเทอโรนที่มากผิดปกติ จะกระทบต่อการสร้างถุงน้ำในรังไข่ การตกไข่ ลักษณะทางกายภาพ และน้ำหนักตัวของผู้ป่วย ดังนั้น ภาวะดื้ออินซูลิน จึงอาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิด PCOS
#เควอซิทีน (Quercetin) เป็นรงควัตถุในกลุ่มฟลาโว
นอยด์ (Flavonoids)ที่พบในพืชผักผลไม้หลายชนิด เช่นหอมแดง แอปเปิ้ล เบอร์รี่ ผักเคล และพบสูงสุดในมะกรูดสดเมื่อเทียบกับผักผลไม้ชนิดอื่น
โดยมีงานวิจัยศึกษาเปรียบเทียบปริมาณเควอซิทีนในผักผลไม้หลายชนิด พบว่า มะกรูดมีปริมาณสารเควอซิทีนสูงที่สุด สูงถึง 44 mg/มะกรูด 100 g
#เควอซิทิน เป็นสารที่ให้ฤทธิ์ในการต้าน ออกซิเดชั่นสูงที่สุด ให้ฤทธิ์ในการป้องกันการอักเสบ ป้องกันเซลล์ถูกทำลายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ป้องกันแบคทีเรีย และไวรัส ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน ช่วยป้องกันอาการแพ้ และ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
นอกจากนี้สารเควอซิทีน (Quercetin) ยังมีประโยชน์ในการช่วยเยียวยาภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังอีกด้วย
.
📚จากงานวิจัยเรื่อง Quercetin
and polycystic ovary syndrome, current evidence and future directions: a systematic review
ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Ovarian Research ปี 2020
ทำการศึกษาโดยการรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวกับ ประโยชน์ของ Quercetin ต่อผู้หญิงที่เป็น PCOS โดยรวบรวมงานวิจัยทั้งที่ทดลองในมนุษย์และในหนูทดลอง โดยเน้นถึงประโยชน์ของ Quercetin ในด้านต่างๆ ได้แก่
✔Folliculogenesis (การพัฒนาของถุงไข่ หรือ ฟอลลิเคิล)
✔Lutenisation process (กระบวนการการเปลี่ยนแปลงของฟอลลิเคิลหลังจากไข่ตก)
✔Reducing the level of testosterone, leutinizing hormone and insulin resistance (การลดลงของฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน การดื้ออินซูลิน และฮอร์โมนไข่ตก (LH)
✔Anti-inflammation (การออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ)
ซึ่งประเด็นที่กล่าวมานี้ เป็นสาเหตุที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS)
.
จากการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยได้ผลการศึกษาถึงประโยชน์ของสารเควอซิทีน (Quercetin) ต่อการเยียวยา PCOS ดังนี้
.
1.Quercetin and weight change in PCOS
(เควอซิทีนกับการควบคุมน้ำหนักของผู้ป่วย
PCOS)
จากการรวบรวมผลการศึกษาจากงานวิจัยหลายฉบับพบว่า สตรีที่มีภาวะ PCOS จะมีน้ำหนักเกิน และการมีน้ำหนักเกินจะยิ่งส่งผลต่อภาวะดื้ออินซูลิน การได้รับสารเควอซิทีนสามารถควบคุมน้ำหนักได้และส่งผลต่อการลดลงของ body weight ในกลุ่มหนูทดลองที่เป็น PCOS อย่างมีนัยสำคัญ และในการทดลองในมนุษย์ก็ให้ผลในแนวเดียวกันคือกลุ่มที่ได้สารเควอซิทีนจะช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยวัดจากค่า BMI และ รอบเอว (waist circumference)
.
2.Quercetin and Reproductive hormone in PCOS (เควอซิทีนกับฮอร์โมนสืบพันธุ์เพศหญิงที่มีภาวะ PCOS)
จากการศึกษาในผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS พบว่า
เควอซิทีนช่วยลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
และฮอร์โมนแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย
และช่วยเสริมการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และ เอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญในการสืบพันธุ์ การมีประจำเดือน การเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ การตกไข่ และ การตั้งครรภ์
นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับฮอร์โมน LH ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ ซึ่งผู้ป่วย PCOS จะมีฮอร์โมนตัวนี้สูงเกินไป ส่งผลให้รังไข่ทำงานไม่เป็นปกติ และช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน LH ให้ปกติ ช่วยให้ไข่ตกตรงรอบ
.
3.Quercetin and Insulin resistance in PCOS
(เควอซิทีนกับภาวะดื้ออินซูลินในผู้ป่วย PCOS)
จากการทดลองในหนูทดลองที่เป็น PCOS พบว่าการได้รับสารเควอซิทีนในปริมาณ 25mg/kg ช่วยลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้ จึงส่งผลต่อการช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน
ยังมีรายงานจากการศึกษาว่าการได้รับเควอซิทีนวันละ 1,000 mg เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ช่วยลดการดื้ออินซูลิน และ ลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้
.
4.Quercitin and inflammation in PCOS
(เควอซิทีนกับการลดการอักเสบในผู้ป่วย PCOS)
จากการศึกษาพบว่าเควอซิทีนช่วยขัดขวางยีนที่ส่งผลต่อการทำให้เซลล์ในร่างกายของผู้ที่มีภาวะ PCOS เกิดการอักเสบ ซึ่งการอักเสบของเซลล์ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายรวมไปถึงระบบสืบพันธุ์และการทำงานของรังไข่ที่ไม่เป็นปกติได้
.
.
#กล่าวโดยสรุป "สารเควอซิทีน" ส่งผลดีต่อผู้ป่วย
PCOS เนื่องจากช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดฮอร์โมนเพศชายและระดับฮอร์โมน LH ที่มากเกินไป รวมถึงช่วยลดการอักเสบของเซลล์อีกด้วย
.
.
🍋ดังนั้นสตรีที่มีภาวะ PCOS ควรได้รับ "สารเควอซิทีน" จากการดื่มน้ำมะกรูดคั้นสดเพื่อเยียวยาอาการและปรับสมดุลฮอร์โมนให้กลับมาเป็นปกติ ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ปรับวงจรไข่ตกปกติ มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ค่ะ
Comments