top of page
ค้นหา

อันตรายมั้ย หากพบถุงน้ำในสมองทารก มีวิธีดูแลรักษาอย่างไรบ้าง

หากอัลตราซาวด์แล้วพบถุงน้ำในสมองทารกตอนอายุครรภ์ 4 เดือน จะเป็นอันตรายมั้ย แล้วจะหายไปเองรึเปล่า? ถ้าไม่หายมีทางรักษาหรือไม่? เด็กคลอดออกมาจะผิดปกติไหมคะ? ครูก้อยมีคำตอบค่ะ


ถุงน้ำในสมองคืออะไร


เป็นถุงน้ำคั่งของ CSF ใน choroid สามารถตรวจพบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงราวร้อยละ 2.5 ของการตั้งครรภ์ระหว่างอายุครรภ์ 16-24 สัปดาห์ และพบในช่วงอายุครรภ์ 15-26 สัปดาห์ มักจะหายไปราวอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ถ้าหากคุณได้ผ่านการตรวจโครโมโซมมาแล้ว ผลปกติก็ไม่ถือว่าเป็นภาวะอันตรายแต่อย่างใด ทั้งนี้ถุงน้ำดังกล่าวอาจเกิดจากความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง หรือติดเชื้อขณะตั้งครรภ์จนทำให้เด็กที่เกิดมามีน้ำในสมองมากเกินไป สังเกตง่ายๆ จากขนาดหัวที่โตผิดปกติ


ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูง


เป็นถุงน้ำขนาดเล็ก (0.3-2.0 ซม.) ลักษณะใส ค่อนข้างกลม อยู่ใน choroid ที่ขาวเด่น มักเป็นส่วนหลังของ atria ทั้งนี้อาจเห็นสองข้างและบางรายอาจเจอหลายๆ ถุงน้ำ ถ้าหากถุงน้ำมีขนาดใหญ่มากอาจต้องแยกโรคจาก hydrocephalus โดยพบร้อยละ 1-2 ของทารกไตรมาสที่ 2 ทั้งหมด แต่พบได้ร้อยละ 30 ของทารก trisomy 18 มักพบความพิการอื่นร่วมด้วย ส่วนรายที่เป็นเดี่ยวๆ (isolated) จะมีความเสี่ยงต่อการเป็น trisomy 18 (กลุ่มอาการดาวน์) ราว 1/374 หรือต่ำกว่า 102 : 103


แต่การพบเดี่ยวๆ นั้นไม่แนะนำให้ตรวจโครโมโซม และแนะนำให้ตรวจเฉพาะเมื่อคุณแม่มีอายุมากกว่า 32 ปี หรือผลตรวจ serum screen ผิดปกติ ส่วน CPC ตรวจพบได้ง่าย จึงเป็นจุดตั้งต้นให้ค้นหาอย่างละเอียดจนพบมาร์คเกอร์อื่นๆ ของ trisomy 18 และนับว่ามีคุณค่ามากในการคัดกรอง trisomy 18 (กลุ่มอาการดาวน์)


ผลเสียจากการปล่อยให้ถุงน้ำในสมองทารกโต


หากไม่เข้ารับการรักษาอาจทำให้เด็กที่เกิดมาสมองถูกทำลาย และสร้างความเสียหายถาวร เช่น

  • เบื่ออาหาร, ไม่ยอมดูดนม

  • อาเจียนง่าย

  • ง่วงซึม

  • งอแง, ร้องไห้บ่อย

  • ขาดสมดุลด้านความตึงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

  • ขาดการตอบสนองต่อการสัมผัสสิ่งต่างๆ

  • มีปัญหาด้านพัฒนาการตามวัย


วิธีรักษาถุงน้ำในสมองโต


มีวิธีการรักษาจากแพทย์ทั้งหมด 2 แบบหลักๆ คือ การใส่สายระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง, การใช้กล้องส่องในโพรงสมอง โดยแพทย์จะเอาของเหลวออกจากสมองเพื่อลดแรงกดดันสมอง หากเป็นกรณีที่ไม่รุนแรงมาก แพทย์จะถ่ายของเหลวออกจากไขสันหลัง แต่หากแก้ไขอาการให้เป็นปกติไม่ได้ แพทย์จะผ่าตัดด้วยการเจาะใส่กระเปาะเข้าไปในโพรงน้ำที่ปลายสมอง โดยมีตัวเปิด-ปิดใต้ผิวหนังเพื่อให้ระบายน้ำออกได้ง่ายขึ้น แต่บางกรณีจำเป็นต้องเปลี่ยนกระเปาะในภายหลังไปเป็นท่อที่ใส่ค้างไว้ เพื่อระบายของเหลวออกผ่านสายลงไปยังช่องท้องแทน


บทความที่น่าสนใจ

ดู 11,418 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page