top of page
ค้นหา

"ชุดตรวจไข่ตก" กับ 13 คำถามที่ต้องรู้คำตอบ



ชุดตรวจไข่ตก เป็นเครื่องมือที่คุณผู้หญิงหลายๆท่านนิยมใช้เป็นอย่างมาก เนื่องจากในคู่รักที่มีเพศสัมพันธ์กัน ไม่ได้มีโอกาสมีลูกได้ทุกวัน เพราะการที่ผู้หญิงจะตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นได้เมื่ออสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ในช่วงวันตกไข่ แต่ผู้หญิงจะตกไข่เดือนละครั้งเท่านั้นและไม่มีวันที่ตายตัว เพราะอาจคลาดเคลื่อนจากความเครียดหรือสภาพร่างกาย ทำให้โอกาสที่จะมีบุตรจึงต้องใช้การนับวันตกไข่เข้าช่วย เพื่อเพิ่มโอกาสการมีลูกให้มากขึ้นนั่นเองค่ะ


ชุดตรวจไข่ตก คืออะไร ทำไมต้องใช้ ได้ผลจริงหรือ?


การตกไข่ เป็นกลไกตามธรรมชาติของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงที่เกิดขึ้นทุกเดือน โดยถ้าไข่มีการปฏิสนธิ ไข่ก็จะไปฝังตัวที่เยื่อบุผนังมดลูกกลายเป็นตัวอ่อน เกิดเป็นการตั้งครรภ์ขึ้น สำหรับหลายคนที่กำลังวางแผนจะมีบุตร พูดได้ว่าถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าวก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูง ปัจจุบันการตรวจหาวันที่ไข่ตกทำได้ง่าย โดยการใช้ชุดทดสอบการตกไข่ ไม่ต้องนับวันเหมือนสมัยก่อน


ชุดตรวจไข่ตก คือ...


ชุดทดสอบการตกไข่ เป็นเทคโนโลยีการตรวจวันไข่ตกที่ให้ผลที่ค่อนข้างแม่นยำ โดยจะตรวจหาฮอร์โมน กระตุ้นการตกไข่ที่ชื่อว่า Luteinizing hormone หรือ LH ในปัสสาวะ ปกติแล้วร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมาในปริมาณน้อย จนกระทั่งถึงช่วงระยะเวลาก่อนไข่ตกฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาเพิ่มอย่างรวดเร็ว ทำให้รู้ว่าร่างกายกำลังจะเกิดการตกไข่ ถ้าตรวจด้วยชุดทดสอบการตกไข่ในช่วงเวลานี้ก็จะแสดงผลเป็นบวก นั่นหมายถึงหลังจากนี้ประมาณ 24-36 ชั่วโมง จะเกิดการตกไข่ (โดยเวลาอาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยในชุดทดสอบแต่ละรุ่น) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีโอกาสตั้งครรภ์สูง


ทำไมถึงต้องหาวันไข่ตก


ผู้หญิงไม่ได้พร้อมที่จะตั้งท้องทุกวัน ต้องไข่ตกก่อนเท่านั้น ซึ่งแต่ละเดือนจะมีวันไข่ตกแค่วันเดียว และไข่ตกที่พร้อมรอปฏิสนธิจะอยู่ปลายท่อนำไข่ 12-24 ชั่วโมงเท่านั้น ถ้าพลาดวันนั้นไป ต้องรออีกหนึ่งเดือนต่อไป ดังนั้น การคำนวณวันไข่ตกก็ไม่ได้ตายตัว เพราะมีโอกาสผิดพลาดจากปัจจัยอื่น ทั้งความกังวล สภาพร่างกายของผู้หญิง ทำให้ไข่ตกเลื่อนออกไป หรือ มาเร็วขึ้น


ชุดตรวจไข่ตก ใช้อย่างไร?



จากที่กล่าวไปข้างต้นค่ะว่า เมื่อมีการผลิตฮอร์โมน LH ออกในปริมาณสูงมาก จะทำให้เกิดการตกไข่ ช่วงเวลาส่วนใหญ่ของรอบเดือนจะมี LH ผลิตออกมาในปริมาณน้อยมาก แต่ในช่วงกลางของรอบเดือน LH จะผลิตออกมาอย่างมากมายในเวลาสั้นๆ เท่านั้นเพื่อกระตุ้นให้ไข่หลุดออกมาจากถุงไข่ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้เรียกว่า 'LH surge' ซึ่งจะเกิดขึ้นก่อนการตกไข่ โดยเฉลี่ยแล้ว การปฏิสนธิจะเกิดขึ้น 24-36 ชั่วโมงหลังพบ LH surge หากคุณต้องการตั้งครรภ์ การตรวจพบ LH surge จะช่วยให้คุณมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากที่สุด


ซึ่ง คุณผู้หญิงสามารถนำชุดทดสอบการตกไข่ที่ตรวจหาฮอร์โมน LH ในปัสสาวะสามารถหาซื้อได้ตามร้านยา ถือเป็นวิธีตรวจที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่เพื่อให้ได้ผลทดสอบที่แม่นยำ ผู้ใช้ควรศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับชุดทดสอบทุกครั้ง เช่น ควรเก็บปัสสาวะในช่วงเวลาเดียวกันทุกวัน และควรงดน้ำหรือเครื่องดื่มก่อนเก็บปัสสาวะอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะน้ำจะเจือจางระดับฮอร์โมนในปัสสาวะ ทำให้ผลทดสอบคลาดเคลื่อนได้ค่ะ


13 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ "ชุดที่ตรวจไข่ตก"


อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่ได้กล่าวมานั้นเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับชุดตรวจไข่ตกเท่านั้นค่ะ ในบทความนี้ครูก้อยจึงรวบรวมอีก 13 คำถามที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับเจ้าเครื่องมือชุดนี้พร้อมคำตอบ มาให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจในรายละเอียดของชุดเครื่องตรวจไข่ตกมากขึ้นค่ะ ซึ่ง 13 คำถามนั้น ประกอบด้วย


1. วิธีอ่านแปลผลทำอย่างไร การตรวจตกไข่เหมือนกับการตรวจตั้งครรภ์หรือเปล่า ?


A: การทดสอบการตกไข่นั้นจะตรวจจับฮอร์โมน LH ต่างกับชุดทดสอบ CG ค่ะ โดยผลทดสอบของการตกไข่ จะเป็น positive ก็ต่อเมื่อสีของเส้น test มีความเข้มเท่ากัน หรือมากกว่าความเข้มของเส้น control ถ้าได้ผลทดสอบเป็นเส้นสีที่จางกว่าเส้น control จะถือว่าเป็น negative (ไม่พบ LH surge) ในขณะที่การทดสอบการตั้งครรภ์จะสังเกตเพียงมีสีขึ้นหรือไม่ขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเข้มหรืออ่อนก็ถือว่าเป็นผลบวก (ตั้งครรภ์) ทั้งสิ้นค่ะ


2. ควรตรวจหาไข่ตกช่วงเวลาใดดีที่สุด ?


A: การตรวจหาวันตกไข่จะไม่เหมือนกับการตรวจตั้งครรภ์ ไม่เหมาะที่จะตรวจหา LH ในตอนเช้า เพราะ LH จะมีการผลิตออกมาในตอนเช้ามืด จึงมักจะไม่พบ LH ในตอนเช้าๆ ในช่วงที่คุณผู้หญิงตื่นนอน ดังนั้นเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตรวจหา LH คือช่วงสิบโมงเช้าถึงบ่าย ถึงประมาณบ่ายสองโมงค่ะ


3. เมื่อตรวจพบ LH surge จะเกิดการตกไข่เมื่อใด ?


A: โดยทั่วไป ไข่จะตกหลังตรวจพบ LH surge (คือเห็นเส้นสีแดงเข้ม 2 เส้นเท่าๆ กัน) 12-48 ชั่วโมงเมื่อทำการตรวจในตอนบ่าย และเฉลี่ยแล้วจะเกิดการตกไข่ 36 ชั่วโมงหลังตรวจพบ LH surge


4. หากผลที่ได้เป็นขีดสีจางๆ หมายความว่ามี LH surge หรือเปล่า ?


A: เส้นสีจางๆ ที่ปรากฏขึ้นมาบนแถบ "test" ไม่ได้หมายความว่าคุณมี H surge ถึงแม้ว่าเส้นสีจางจะถือว่าเป็นผล positive สำหรับ hcg การตรวจตั้งครรภ์ แต่สำหรับ LH แล้วจะถือว่าเป็น negative โปรดดูเพิ่มเติมเรื่องการอ่านผลแลดูภาพผลการทดสอบได้ที่ส่วนการแปลผลในหน้าคู่มือการใช้งาน


5. ยากระตุ้นไข่ (Clomid) มีผลต่อการตรวจหรือไม่ การทานยานี้จะทำให้ได้ผลบวกลวงหรือไม่ ?


A: การรับประทานยา Clomid อาจทำให้เกิดผลลวงได้ถ้าคุณทำการตรวจเร็วเกินไป ให้ถามแพทย์ที่สั่งยาให้คุณ ว่าจะสามารถเริ่มใช้ชุดตรวจการตกไข่ได้เมื่อไหร่ จะเป็นการดีกว่าค่ะ


6. ถ้าตรวจไม่พบผล positive แต่วัดอุณหภูมิแล้วเจอช่วงอุณหภูมิเปลี่ยนหมายความว่าอย่างไร ?


A: เป็นไปได้ว่าคุณตรวจไม่เจอ LH surge ถ้าคุณตรวจเจอเส้นมีสีค่อนข้างเข้ม แล้ววันต่อมาสีจางกว่าอาจเป็นไปได้ว่าคุณเลยช่วง LH surge มาแล้ว และถ้าคุณตรวจเจอช่วงอุณหภูมิเปลี่ยนแล้วไข่อาจตกไปเรียบร้อยแล้ว ฉะนั้นเพื่อกันพลาด ในช่วงใกล้ไข่ตกคุณอาจตรวจได้มากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้เช่นกันคือคุณไม่ได้อั้นปัสสาวะไว้นานพอก่อนทำการทดสอบ (ปัสสาวะของคุณมีความเจือจางมากเกินไป)


7. ทำการตรวจแล้วพบว่าเมื่อวานได้ผล positive แล้ววันนี้ก็ได้ผล positive อีก มีอะไรผิดพลาดหรือเปล่า ?


A: ผู้หญิงบางคนตรวจพบ LH suge สองวันในบางกรณีอาจพบถึง 3 วัน เมื่อได้ผลทดสอบเช่นนี้หมายความว่าครั้งแรกคุณกรทดสอบกำลังอยู่ในช่วงเมผลิต LH มากขึ้น และทำการตรวจอีกในช่วง LH กำลังมีระดับลดลง


9.การตรวจวัดอุณหภูมิให้ผลเหมือนกับการตรวจทดสอบหาวันตกไข่หรือไม่ ?


A: การวัดอุณหภูมิร่างกายจะบอกได้แต่เพียงว่า LH surge ได้เกิดขึ้นไปแล้ว จึงทำให้การวัดอุณหภูมิร่างกายไม่สามารถใช้ตรวจหาวันตกไข่ของรอบนั้นๆ ได้การใช้ชุดทดสอบหาวันตกไข่จะสามารถบอกให้คุณทราบวันตกไข่ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คุณมีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด


10. หากได้ผลตรวจเป็นเส้นจางๆ ที่เส้น test และได้สีเข้มที่เส้น control หมายความว่าจะมีไข่ตกหรือเปล่า ?


A: การทดสอบการตกไข่ทำงานต่างกับชุดตรวจการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปลผลการทดสอบ ผลของการตรวจตกไข่จะเป็น positive ก็ต่อเมื่อสีของเส้น test มีความเข้มเท่ากัน หรือมากกว่าความเข้มของเส้น control เท่านั้น ถ้าเห็นว่าเส้น test มีสีจางกว่าให้ถือว่ายังไม่มี LH surge ถึงแม้ว่าการเห็นเส้นจางๆ อาจมาจากการเริ่มมี LH ผลิตออกมามากขึ้น แต่มันอาจเกิดจากระดับ LH ที่คุณผลิตออกมาในระดับต่ำๆ ตลอดเวลาอยู่แล้วได้เช่นกัน


11. ถ้าใช้ชุดตรวจทดสอบการตกไข่แล้วได้ผลบวกหมายความว่าเราจะมีไข่ตกแน่นอนหรือไม่ ?


A: - ชุดตรวจทดสอบการตกไข่ จะตรวจดูว่าคุณระดับฮอร์โมนกระตุ้นไข่ตก (LH) สูงหรือไม่ ระดับ LH จะสูงขึ้นก่อนไข่จะตกลงมา การใช้ชุดตรวจทดสอบจึงสามารถบอกได้ว่าคุณกำลังจะมีไข่ตก แม้สามารถบอกได้ว่าคุณมีไข่ตกลงมาจริงๆ หรือไม่


- ผู้หญิงบางคนมี LH อยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว หากมีสภาวะอาการบางอย่าง เช่น...

  • PCOS (polycystic ovaries , ถุงน้ำรังไข่หลายใบ)

  • POF (premature ovarian failure , ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย)

  • หรือในผู้หญิงวัยเลย 40 ปีที่มีอาการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทองสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้ได้ผลบวกไม่จริงได้หากใช้ชุดทดสอบการตกไข่

12. ในช่วงวันไข่ตกผู้หญิงจะอยู่ในภาวะเจริญพันธุ์กี่วัน ?


A: หลังจากไข่ตกแล้ว ไข่จะรอการปฏิสนธิอยู่ได้เพียง 12 - 24 ชั่วโมง เนื่องจากตัวอสุจิสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 3-5 วันในร่างกายของผู้หญิงในสภาวะที่เหมาะสม รวมกับอายุของไข่รอการผสมได้อีกวันช่วงภาวะเจริญพันธุ์ของคุณ (มีโอกาสตั้งครรภ์เมื่อมีเพศสัมพันธ์) จะตกอยู่ประมาณ 5-7 วัน


13. อยากทราบวันตกไข่มีวิธีคำนวณอย่างไร ?


A: ช่วงเวลาที่แน่นอนของการตกไข่ในผู้หญิงแต่ละคนนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน และอาจต้องใช้เวลาศึกษาติดตามรอบเดือนของตัวเองสักพัก การใช้วิธีร่วมกันหลายๆ วิธี อย่างเช่น การสังเกตมูกไข่ตกร่วมกับการวัดอุณหภูมิร่างกายและการจดบันทึกรอบเดือน จะช่วยให้คุณผู้หญิงประมาณวันตกไข่ได้แม่นยำยิ่งขึ้นค่ะ


อย่างไรก็ดี สมาคมการตั้งครรภ์แห่งสหรัฐอเมริกา American Pregnancy Associaion แนะนำให้ผู้หญิงเรียนรู้เกี่ยวกับช่วงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบเดือน และใช้ความรู้นั้นร่วมกับการใช้ทดสอบชุดทดสอบการตกไข่ เพื่อที่จะได้สามารถติดตามวันตกไข่ของตนเองได้ใกล้เคียงที่สุด ข้อมูลจากทางสมาคมฯ บอกไว้ว่า โดยเฉลี่ยผู้หญิงจะมีไข่ตกในช่วงวันที่ 11 - 21 นับจากวันแรกที่ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมา หรือ 12-16 วันก่อนวันทีประจำเดือนรอบต่อไปจะมา


ท้ายที่สุด แม้การนับวันไข่ตกจะช่วยเพิ่มโอกาสมีบุตรได้มากขึ้น แต่ไม่ได้เป็นการการันตีของการตั้งท้องเสมอไป ถ้ามีความสัมพันธ์กันในวันที่ไข่ตกแล้วยังไม่มีบุตร ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจหาสาเหตุเป็นลำดับต่อไปค่ะ


บทความที่น่าสนใจ









ดู 22,125 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page