top of page
ค้นหา

ปรับสมดุลในช่องคลอด ปรับค่ากรด-ด่าง เพื่อให้มีลูกง่ายขึ้น



คุณแม่หลาย ๆ คนอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่า "สมดุลของช่องคลอด" คืออะไร ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่บรรดาคุณแม่จะคาดการณ์ไม่ถึงค่ะ เนื่องจากในการเตรียมความพร้อมสำหรับการมีบุตรนั้น หลาย ๆ คนจะมุ่งเน้นไปที่การบำรุง ดูแลไข่และมดลูกเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจทำให้ลืมนึกถึงประเด็นนี้กันไปเลย ยังไงก็ตามค่ะเรื่องการปรับสมดุลของช่องคลอดมีความสำคัญต่อการมีบุตรเป็นอย่างมาก บทความนี้ครูก้อยจึงมีข้อมูลที่เกี่ยวกับประเด็นนี้มาฝากแม่ ๆ เพื่อนำไปปรับใช้กันค่ะ


ปรับสมดุลในช่องคลอด เรื่องเล็ก ๆ ที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม


ค่า pH คือ ค่าความเป็นกรด (Acidic) หรือด่าง (Alkaline) ของสารต่าง ๆ หรือในสภาวะแวดล้อมแต่ละแห่ง โดยมีค่าเป็นตัวเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 14 ซึ่งค่าที่ต่ำกว่า 7 ลงมา จะถือว่ามีสภาพเป็นกรด และค่าที่มากกว่า 7 ขึ้นไป จะถือว่ามีสภาพเป็นด่าง


ส่วนค่า pH 7 นั้นจะมีสภาพเป็นกลาง ยกตัวอย่าง เช่น น้ำบริสุทธิ์ เป็นต้น


ค่า pH ช่องคลอด มีความสำคัญอย่างไร?


โดยปกติแล้วร่างกายของเราจะมีสภาวะเป็นด่างอ่อน ๆ (Akalinity) โดยร่างกายที่ปกติจะรักษาสมดุลค่า pH ของร่างกายอยู่ที่ 7.35-7.45 ซึ่งเป็นสภาวะที่เป็นด่าง การวัดค่าความเป็นกรด-ด่างวัดได้ด้วยการตรวจปัสสาวะ หรือ ตรวจเลือด


หากร่างกายมีสภาวะเป็นกรดมากเกินไป ทำให้เลือดเป็นกรด (Acidosis) คือ ภาวะความผิดปกติของเลือดหรือของเหลวในร่างกายไม่สมดุล ทำให้มีความเป็นกรดสูง ในทางการแพทย์จะยึดเกณฑ์ค่าพีเอช (pH) ของเลือดที่วัดได้ต่ำกว่า 7.35 ลงมาถึงจะจัดว่าร่างกายมีภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งอาจเกิดได้จากสภาวะหรือโรคต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา และอาจอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น


  • การอักเสบของเซลล์ในร่างกาย

  • เซลล์เสื่อม แก่ก่อนวัย

  • เจ็บป่วยง่าย

  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

  • ปวดกระดูกและข้อ

  • ระบบเผาผลาญและระบบขับถ่ายไม่ดี

  • โรคหัวใจ โรคเบาหวาน


เนื่องจากในสภาวะที่เป็นกรด พวกจุลินทรีย์ ได้แก่ ยีสต์ แบคทีเรียบางชนิด เชื้อรา หรือไวรัสจะเติบโตได้ดีนั่นเองค่ะ


ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์และภาวะเจริญพันธุ์นั้น สภาวะของร่างกายที่เป็นกรดมากเกินไปจะส่งผลให้เชื้อโรคดังกล่าวเติบโตได้ดีซึ่งอาจส่งผลต่อการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อในมดลูก หรือ กระทบต่อการหลั่งฮอร์โมนเพศทำให้รอบเดือนมาผิดปกติ ส่งผลต่อการตกไข่ หรือ การมีประจำเดือนไม่ปกติ


คุณแม่ที่ต้องการมีบุตร ควรมีค่า pH ช่องคลอดเท่าไหร่?


สำหรับคู่สมรสที่ต้องการมีบุตรนั้น ค่าความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอดและในปากมดลูกของฝ่ายหญิงมีความสำคัญมาก โดยปกติร่างกายจะควบคุมค่า pH ของช่องคลอดให้อยู่ในสภาวะที่เป็นกรดอ่อน ๆ (ค่า pH อยู่ที่ 3.8-4.5) เพื่อเป็นการสร้างเกราะป้องกันแบคทีเรีย (BV) และ ยีสต์ (Candida) ไม่ให้เจริญเติบโตในช่องคลอด แต่ผลเสียคือสภาวะเป็นกรดนี้เองที่จะทำลายสเปิร์มด้วย เพราะสเปิร์มจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ในสภาวะที่เป็นด่างค่ะ


อย่างไรก็ตามเมื่อถึงช่วงเวลาตกไข่ของแต่ละรอบเดือนร่างกายก็จะปรับตามธรรมชาติ ซึ่งช่วงตกไข่จะมีการหลั่ง Luteinizing Hormone (LH) ออกมาส่งผลให้มีการสร้างมูกไข่ตกที่จะช่วยปรับค่า pH ของช่องคลอดให้มีความเป็นด่างประมาณ pH 7 เพื่อให้สเปิร์มได้ผ่านด่านว่ายเข้ามาได้ง่ายขึ้นและทำให้สเปิร์มมีชีวิตอยู่ในร่างกายของผู้หญิงได้ถึง 2-5 วัน มีโอกาสว่ายไปถึงท่อนำไข่และปฏิสนธิต่อไป

อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพและการรับประทานอาหารของแม่ ๆ ด้วย


สภาวะร่างกายที่เป็นกรด หรือ ด่าง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนอนหลับที่มีคุณภาพ อาหารที่เรารับประทาน ความเครียด การออกกำลังกาย


โดยเฉพาะอาหารเป็นตัวแปรหนึ่งที่สำคัญที่มีส่วนทำให้ร่างกายมีสภาวะเป็นกรด หรือ ด่าง โดยจะต้องดูจากกระบวนการทางเคมีในร่างกายว่าจะเปลี่ยนอาหารที่กินเข้าไป ให้กลายเป็นกรดหรือด่างในขั้นตอนสุดท้าย เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของอาหารแต่ละชนิด


เช่น ในการศึกษาพบว่า กรดซิตริก ที่พบในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะกรูด มะนาว เป็นกรดผลไม้ที่จะถูกเปลี่ยนต่อไปเป็นไบคาร์บอเนต และเพิ่มสภาวะความเป็นด่างให้แก่ร่างกาย


อาหารที่เพิ่มสภาวะความเป็นกรดให้แก่ร่างกาย ได้แก่ น้ำตาล ไขมันทรานส์ เนื้อแดง ผลิตภัณฑ์จากนม เกลือ คาเฟอีน แอลกอฮอล์


อาหารที่เพิ่มความเป็นด่างให้แก่ร่างกาย ได้แก่ ผักและผลไม้ เช่น มะเขือเทศ แครอท บีทรูท บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง มะกรูด มะนาว ถั่ว ธัญพืชต่าง ๆ เช่น อัลมอนด์ แฟล็กซีด เมล็ดฟักทอง งาดำ


โดยเฉพาะวีทกราส มีงานวิจัย พบว่า มีฤทธิ์เป็นด่าง ที่จะช่วยปรับสมดุล pH ในร่างกายให้ปกติ และยังมีคลอโรฟิลล์สูง ช่วยดีท็อกซ์ระบบเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นอีกด้วย


ดังนั้น แม่ ๆ ที่วางแผนตั้งครรภ์ต้องรับประทานอาหารที่ช่วยรักษาสภาวะความเป็นด่างในร่างกายให้เหมาะสม เน้นทานผักผลไม้ ธัญพืช โปรตีนจากพืช หลีกเลี่ยงของหวาน น้ำตาล เนื้อแดง ของมันของทอด ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายแข็งแรง ฮอร์โมนสมดุล สภาวะความเป็นกรด-ด่างสมดุลแล้วก็จะส่งผลต่อการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติค่ะ


บทความที่น่าสนใจ



ดู 2,036 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page