top of page
ค้นหา

อาการมีลูกยาก 5 สัญญาณเตือนที่คนอยากมีลูกต้องสังเกตตนเอง



อาการมีลูกยาก ถือเป็นหนึ่งในหลาย ๆ ปัญหาที่หลาย ๆ คู่รักกำลังเผชิญในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ค่ะกับภาวะของการมีลูกยาก เนื่องด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถตอบสนองการตั้งครรภ์ได้ซึ่งไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหญิงหรือชายก็สามารถมีภาวะการมีบุตรยากได้ทั้งสิ้น ซึ่งหลาย ๆ คนอาจกำลังสงสัยว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราตกอยู่ในที่นั่งผู้ที่มีปัญหานี้หรือเปล่า ในบทความนี้ ครูก้อยจึงนำ 5 สัญญาณที่บ่งบอกถึงการมีลูกยากมาฝากว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ให้ได้ลองศึกษากันค่ะ



อาการมีลูกยาก มีสัญญาณใดบ้างที่เราควรสังเกตตนเอง


ปัจจุบันภาวะมีบุตรยาก กลายเป็นปัญหาสำคัญสำหรับคู่รักหลาย ๆ คู่ที่อยากมีลูก ซึ่งต่างพยายามดิ้นรนทำทุกวิธีเพื่อให้มีลูกสมดั่งใจหวัง แต่ก็ไม่เกิดผล สำหรับใครที่กำลังเผชิญปัญหาดังกล่าวอยู่ อย่าเพิ่งท้อแท้ใจไปค่ะ ในบทความนี้ครูก้อยจะนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ 5 อาการเสี่ยงมีบุตรยาก ว่ามีอะไรบ้าง จะได้หาวิธีรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับภาวะมีบุตรยากกันก่อนค่ะว่ามันคืออะไร และมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่?


มาทำความรู้จัก "ภาวะมีลูกยาก"


โดยทั่วไปแล้ว ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงจะปล่อยไข่ออกมาจากรังไข่ เพื่อรับการปฏิสนธิจากอสุจิของเพศชาย ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวจากท่อนำไข่ไปฝังตัวที่มดลูก ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ อายุ 35 ปีขึ้นไป และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ภายใน 6 เดือนที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่รักอย่างสม่ำเสมอ ควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหามีลูกยาก ส่วนผู้ชายที่ประสบภาวะมีลูกยากจะได้รับการตรวจภาวะดังกล่าวด้วยวิธีการทางการแพทย์หลายอย่าง รวมทั้งตรวจอสุจิในห้องทดลองด้วย เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้สามารถมีลูกได้


5 สัญญาณที่บ่งบอกว่าเราอาจกำลังมีภาวะมีลูกยาก


โดยปกติแล้ว อาการที่บ่งบอกว่าเรากำลังมีภาวะมีบุตรยากนั้นสามารถแบ่งออกได้หลายประการทีเดียวค่ะ แต่หลัก ๆ สามารถดูได้จาก 5 อาการ ดังนี้


1.ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนไม่มา


เกิดจากรังไข่ทำงานผิดปกติ จึงทำให้ไม่มีการตกไข่ เพราะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลกัน


2.เวลามีประจำเดือน จะมามากกว่าปกติและปวดท้องมาก


เนื่องจากมดลูกบีบตัวผิดปกติ ทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนมาก ๆ ซึ่งอาจเกิดจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ก็เป็นไปได้ค่ะ


3.ไม่มีความต้องการทางเพศ


ความต้องการทางเพศลดลง จนอาจถึงขั้นเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แสดงว่ากำลังมีปัญหาบางอย่างในร่างกาย ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน


4.น้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป


ทำให้ร่างกายปรับตัว เพื่อการมีลูกได้ยากขึ้น และความสามารถในการเจริญพันธุ์ลดลง นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการแท้งได้


5.อายุที่เพิ่มขึ้น


ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งโอกาสในการมีลูกจะลดน้อยลงไปด้วย อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการที่ลูกในครรภ์จะมีความผิดปกติ


ทำอย่างไรหากมีอาการมีลูกยาก?


คุณพ่อคุณแม่สามารถทำตามคำแนะนำได้ดังนี้ค่ะ


นับวันตกไข่


สาเหตุจากการมีบุตรยากในคู่สมรสบางคู่ บางครั้งก็เกิดจากการเลือกวันมีกิจกรรมทางเพศที่ไม่ตรงกับ “วันตกไข่” เพราะใน 1 รอบเดือน ฝ่ายหญิงจะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้เพียงแค่ 1 วันหรือ 24 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งหากเลยวันมาแล้วก็ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ มีวิธีนับคือ ให้นับจากการมีรอบเดือนในทุก ๆ เดือนของฝ่ายหญิง โดยปกติแล้วฝ่ายหญิงจะมีรอบเดือนทุก ๆ 28 วัน ให้นับหลังจากวันที่มีรอบเดือนมาเป็นวันที่ 1 ให้นับไปอีก 14 วันที่จะเป็นวันที่ตกไข่ เคล็ดลับก็คือ ให้คู่สามีภรรยามีกิจกรรมทางเพศประมาณ 1-2 วันก่อนไข่ตกและหากน้ำเชื้ออยู่ภายในร่างกายฝ่ายหญิงจะสามารถอยู่ได้ประมาณ 2 วันและจะพอดีกับวันตกไข่พอดี จะช่วยเพิ่มโอกาสการมีบุตรได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้เหมาะกับฝ่ายหญิงที่มีรอบเดือนปกติเท่านั้น


ปรึกษาแพทย์


สำหรับผู้ที่ลองปฏิสนธิแบบวิธีธรรมชาติแล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ทั้งคู่ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งหากตรวจออกมาแล้วพบว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจนไม่สามารถมีลูกตามธรรมชาติได้ ในทางการแพทย์ก็มีเทคโนโลยีแก้ไขปัญหาการมีลูกยากโดยเฉพาะ อย่างการทำ “เด็กหลอดแก้ว (ICSI)” มารองรับ ซึ่งวิธีนี้เป็นเทคนิคสมัยใหม่ที่ทั่วโลกยอมรับ แถมยังให้ผลสำเร็จมากถึง 85% อีกด้วย


สรุปวิธีแก้ไขสำหรับผู้มีภาวะมีลูกยาก


หากคู่รักคู่ใดประสบกับภาวะมีบุตรยากก็ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ เพราะปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ มีหลายวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีลูก ไม่ว่าจะเป็นการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI – Intrauterine Insemination) การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF – In Vitro Fertilization) และการทำอิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic Sperm Injection)


ท้ายที่สุด สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการวางแผนมีเจ้าตัวน้อย สุขภาพ นั้น ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ฉะนั้นควรหมั่นสังเกตร่างกายของตัวเองให้ดี และหากพบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและหาทางรักษาอย่างทันท่วงทีนะคะ


บทความที่น่าสนใจ






ดู 140 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page