หลังจากเซลล์ไข่ปฎิสนธิกับสเปิร์มเรียบร้อยแล้ว คุณหมอจะย้ายตัวอ่อนที่คัดเลือกมาแล้วเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวและเกิดการตั้งครรภ์ แล้วแม่ๆ รู้มั้ยคะว่าการย้ายตัวอ่อนมีกี่แบบ แบบไหนให้ผลลัพธ์ดีกว่ากัน วันนี้ครูก้อยจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
การย้ายตัวอ่อนมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
การย้ายตัวอ่อนสามารถทำได้ตั้งแต่ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (วันที่ 2-5) ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ของแต่ละรายการย้ายตัวอ่อนแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การย้ายตัวอ่อนรอบสด และการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง
1. การย้ายตัวอ่อนรอบสด
เป็นการย้ายตัวอ่อนหลังจากเก็บไข่และนำมาปฏิสนธิจนเกิดเป็นตัวอ่อนและเลี้ยงจนถึงระยะ 2-5 วัน โดยย้ายผ่านสายย้ายตัวอ่อนและใช้เครื่องอัลตราซาวด์กำหนดตำแหน่งที่จะใส่ตัวอ่อน ไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ ภายหลังการย้ายตัวอ่อนจะใช้ฮอร์โมนชนิดโปรเจสเตอโรนธรรมชาติเพื่อพยุงการตั้งครรภ์ มีแบบชนิดเม็ด, ชนิดเจลล์, สอดช่องคลอด, รับประทาน หรือให้ทั้งสองชนิดร่วมกัน การย้ายตัวอ่อนประเภทนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (OHSS), ผู้ที่รอผลคัดกรองโครโมโซมในคู่สมรสที่เสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม และผู้ที่ไม่สะดวกย้ายตัวอ่อนในรอบสด
2. การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง
มีขั้นตอนการเตรียมมดลูก 2 วิธี ได้แก่ การใช้รอบธรรมชาติ และการใช้ยาเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูก
1. การใช้รอบธรรมชาติ (Natural Frozen-thawed Embryo Transfer)
คุณหมอจะนัดมาตรวจอัลตราซาวด์ดูขนาดไข่เพื่อคาดการณ์วันไข่ตก และตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน จากนั้นคุณหมอจะนัดย้ายตัวอ่อนหลังจากตกไข่แล้วประมาณ 5-6 วัน โดยใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่ในการเตรียมโพรงมดลูก (ไม่ใช้ยาฮอร์โมนจากภายนอก)
จากข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ในปี 2013 พบว่าการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งในรอบธรรมชาติ ให้อัตราการตั้งครรภ์และอัตราการคลอดมีชีพสูงกว่าการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งประเภทเตรียมโพรงมดลูกโดยฮอร์โมนจากภายนอก แต่ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติแต่อย่างใด
2. การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกด้วยยา (Artificial or Medicated Embryo Transfer)
คุณหมอจะใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจนจากภายนอก เช่น ชนิดรับประทาน, ทา, แปะ, สอดช่องคลอด หรือใช้ร่วมกัน ทั้งนี้อาจใช้ยาฉีดกดการทำงานของรังไข่ชั่วคราวในกรณีที่คุณแม่เตรียมโพรงมดลูกยาก ก่อนที่จะเริ่มใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน
ขั้นตอนการย้ายตัวอ่อน
คุณแม่ต้องกลั้นปัสสาวะประมาณ 1 ชม. ก่อนย้ายตัวอ่อน
คุณหมอจะอัลตร้าซาวนด์หน้าท้องเพื่อหาตำแหน่งสำหรับฝังตัวอ่อน
นักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนจะนำตัวอ่อนให้แพทย์และย้ายตัวอ่อนลงตามตำแหน่งที่คุณหมอกำหนด
คุณหมจะสอดยาเข้าทางช่องคลอดหลังจากใส่ตัวอ่อน
จากนั้นคุณหมอจะปล่อยให้คุณแม่นอนพัก 15-60 นาที
คุณหมอจ่ายยาพยุงการตั้งครรภ์และนัดเจาะเลือดตรวจการตั้งครรภ์วันที่ 10 หลังจากย้ายตัวอ่อน
ดังนั้นหากแม่ๆ เก็บไข่เสร็จแล้ว ควรเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน โดยผนังมดลูกที่แข็งแรงจะต้องหนาประมาณ 8-10 มม. รูปร่างใส, เรียงสวยสามชั้น ที่สำคัญต้องมีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกเพียงพอจนทำให้มดลูกอุ่น
วิธีเตรียมตัวที่ครูก้อยมักจะแนะนำแม่ๆ ก็คือการเลือกทานอาหารที่มีโภชนาการสูง เน้นโปรตีนและอาหารฤทธิ์อุ่น ซึ่งครูก้อยรวบรวมอาหาร 40 เมนูมดลูกอุ่น และขั้นตอนการเตรียมผนังมดลูกมาให้แล้ว อย่าลืมศึกษาและทำตามกันนะคะ เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จให้มากขึ้นค่ะ
コメント