top of page
ค้นหา

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมตั้งครรภ์ ด้วยการเติมโพรไบโอติกให้ร่างกาย

อัปเดตเมื่อ 23 พ.ย. 2566


หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้างว่าโพรไบโอติกมีส่วนสำคัญต่อการตั้งครรภ์ หากร่างกายได้รับจุลินทรีย์ชนิดนี้ในปริมาณที่เพียงพอก็จะช่วยเพิ่มโอกาสท้องง่ายขึ้นด้วย ว่าแต่จุลินทรีย์ชนิดนี้คืออะไร ช่วยให้ตั้งครรภ์ได้อย่างไร หาได้จากที่ไหนบ้าง ครูก้อยมีคำตอบมาฝากค่ะ


โพรไบโอติกส์คืออะไร


เป็นกลุ่มแบคทีเรียชนิดดีที่อาศัยอยู่ตามระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ ทำหน้าที่ผลิตสารสำหรับกำจัดเชื้อแบคทีเรียชนิดไม่ดีออกจากร่างกาย อีกทั้งมีส่วนช่วยในการดูดซึมอาหาร, รักษาโรคและป้องกันสภาวะผิดปกติของร่างกาย หากร่างกายมีปริมาณแบคทีเรียชนิดดีที่เพียงพอและมากกว่าแบคทีเรียชนิดไม่ดีก็จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


โพรไบโอติกส์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

  • Bifidobacterium Bifidum เป็นโพรไบโอติกส์ที่พบในลำไส้ใหญ่และช่องคลอด มีส่วนช่วยลดอัตราการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียชนิดไม่ดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุให้แก่ร่างกาย

  • Bifidobacterium Breve เป็นโพรไบโอติกส์ที่พบในช่องคลอดของผู้หญิง มีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบย่อยอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายกำจัดของเสียออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยให้ลำไส้ดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

  • Bifidobacterium Longum มีส่วนช่วยซ่อมแซมเยื่อบุผนังบริเวณทางเดินอาหาร รักษาสมดุลของลำไส้ บรรเทาอาการท้องผูกจากการกลั้นอุจจาระเป็นเวลานานที่อาจส่งผลให้อุจจาระร่นกลับเข้าไปในลำไส้ใหญ่

  • Lactobacillus Acidophilus เป็นโพรไบโอติกส์ที่พบได้ในโยเกิร์ต ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังเสริมประสิทธิภาพของการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ให้แก่ลำไส้ และลดเวลาการขนส่งในลำไส้ ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น

  • Lactobacillus Gasseri เป็นโพรไบโอติกส์ที่ช่วยลดไขมมันส่วนเกินบริเวณท้อง ลดภาวะความเครียดที่ทำให้นอนหลับยากและอาการท้องผูก อีกทั้งลดความเสี่ยงต่อการเผาผลาญผิดปกติจนเกิดภาวะอ้วนลงพุง

  • Lactobacillus Helveticus เป็นโพรไบโอติกส์ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันความดันโลหิตสูง และยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย

  • Lactobacillus Paracasei เป็นโพรไบโอติกส์ที่ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด รักษาภาวะลำไส้แปรปรวน ป้องกันการติดเชื้อและบรรเทาอาการฟันผุ

  • Lactobacillus Plantarum เป็นโพรไบโอติกส์ที่ช่วยยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียชนิดไม่ดี กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด

  • Lactobacillus Reuteri เป็นโพรไบโอติกส์ที่ช่วยบรรเทาอาการไขข้ออักเสบ บรรเทาอาการจากภูมิแพ้และทางเดินหายใจ

  • Lactobacillus Rhamnosus เป็นโพรไบโอติกส์ที่ช่วยยับยั้งเชื้อการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและช่องคลอด

  • Streptococcus Thermophilus เป็นโพรไบโอติกส์ที่พบในโยเกิร์ต ช่วยบรรเทาอาการจากผนังลำไส้อักเสบและโรคไตเรื้อรัง


ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์

  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี

  • บรรเทาและป้องกันอาการท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)

  • บรรเทาและป้องกันอาการท้องผูกด้วยการลดภาวะลำไส้อักเสบให้กลับสู่สภาวะปกติ

  • ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เนื่องจากโพรไบโอติกส์จะเปลี่ยนสภาพแบคทีเรียในลำไส้ไม่ให้เกิดสารในกลุ่มไนโตรเจน (Nitrogen) และอะโรมาติกเอมีน (Aromatic amines) ไม่ให้มีมากเกินไป

  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

  • ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและในช่องคลอด

  • รักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจน (Estrogen)

  • รักษาสมดุลของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

  • เพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุให้แก่ร่างกาย

  • ลดความเสียหายจากสารพิษในอวัยวะต่าง ๆ


โพรไบโอติกส์ มีในไหนบ้าง


สำหรับโพรไบโอติกส์สามารถพบได้ในอาหารหลากชนิด เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว คีเฟอร์ (Kefir) ดาร์กช็อคโกแลต น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล ชีสที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกส์อย่างเชดด้า คอทเทจ เกาด้า ซุปมิโซะ รวมถึงอาหารหมักดองอย่างกิมจิ คอมบูชา เทมเป้ และถั่วนัตโตะ


โพรไบโอติกส์ลดลง เกิดจากอะไร

  • ใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป

  • รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลมากเกินไป เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม ชา กาแฟ เฟรนช์ฟรายส์ แป้งที่ผ่านการขัดสี ฯลฯ

  • รับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

  • สูบบุหรี่เป็นเวลานาน

  • ละเลยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  • พักผ่อนน้อย ไม่ตรงตามความต้องการของร่างกาย

  • อายุเพิ่มขึ้น


โพรไบโอติกส์ เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้

  • ผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกายให้พร้อมต่อการตั้งครรภ์

  • ผู้ที่ต้องการให้ร่างกายมีฮอร์โมนที่สมดุล


Q&A คำถามที่พบบ่อย


โพรไบโอติกส์ ทานทุกวันได้ไหม


ได้ค่ะ เพียงแต่ต้องจำกัดปริมาณโพรไบโอติกส์ที่ควรได้รับในแต่ละวันจะต้องไม่เกิน 10 - 20 พันล้านตัว หรือ 10,000 ล้าน CFU/วัน ดังนั้นหากต้องการทานโพรไบโอติกส์จริง ๆ จัง ๆ แนะนำให้เช็กจากฉลากสินค้าทุกครั้งก่อนซื้อโพรไบโอติกส์มาทานนะคะ


กินโพรไบโอติกส์มากเกินไป อันตรายมั้ย


แม้ว่าโพรไบโอติกส์จะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่หากรับประทานมากเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหราสุขภาพตามมาอย่างเช่น

  • ปวดหัวจากการที่ร่างกายได้รับสารเอมีน (Amines) มากเกินไป

  • มีผื่นตามผิวหนัง

  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

  • เกิดอาการดื้อยา

  • เกิดกรดเกินในกระเพาะอาหาร


กินโพรไบโอติกส์ตอนไหนดี


สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะต่อการทานมากที่สุดคือช่วงก่อนมื้ออาหาร หรือระหว่างมื้ออาหารเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำย่อยเข้าไปทำลายโพรไบโอติกส์อันเนื่องมาจากสภาวะความเป็นกรดต่ำภายในกระเพาะอาหาร


โพรไบโอติกส์ ไม่เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเคมีบำบัด

  • ผู้ป่วยอยู่ในขั้นวิกฤติ

  • ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมาไม่นาน

บทความที่น่าสนใจ


ดู 383 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page