15 วิธี "มีลูกง่าย"ไม่ต้องพึ่งหมอ!
การตั้งครรภ์อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคู่
แต่แม่ๆรู้ไหม❓สาหตุหนึ่งที่ทำให้ท้องยากมาจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต พฤติกรรมการทานอาหารและการขาดความรู้ในการบำรุงที่ถูกต้อง ดังนั้นอยากเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สามารถทำได้ด้วยวิธีธรรมชาติ
ดูแลตัวเองให้ดี เบบี๋อาจมาตามธรรมชาติ แต่สำหรับบางคู่ที่พยายามแล้วน้องยังไม่มา ก็ห้ามละเลยนะคะ ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด เพราะบางทีอาจมีความผิดปกติที่ถึงแม้เราจะแข็งแรงก็ท้องธรรมชาติเองไม่ได้ เช่น ท่อนำไขตันทั้งสองข้าง มีเนื้องอกโพรงมดลูก เป็นต้น เมื่อรักษา หรือ ผ่าตัดแล้วก็มีโอกาสท้องธรรมชาติได้ค่ะ
ไปดู 15 วิธีบำรุงให้มีโอกาสท้องธรรมชาติกันค่ะ
.
1.เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์
ช่วงบำรุงเตรียมตั้งครรภ์ควรเน้นทานอาหารที่ให้สาร
ต้านอนุมูลอิสระสูง เพราะสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายเราจะเข้าทำลายเซลล์ไข่และสเปิร์ม นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท้องยาก
เน้นทานผลไม้ ผักหลากสีที่ให้วิตามิน C วิตามิน E สูงซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ หรือ สมุนไพรไทยได้แก่ น้ำมะกรูด ที่ให้วิตามิน C ไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันเซลล์ไข่จากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ
.
2.อย่าข้ามอาหารเช้าและทานมื้อเช้าเป็นมื้อใหญ่
ทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ มีการศึกษาพบว่าการทานอาหารเช้าที่ได้สารอาหารครบถ้วนช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ส่งผลดีกรณีต่อสตรีที่ฮอร์โมนไม่สมดุล อยู่ในภาวะ PCOS (ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง)
การทานอาหารเช้าเป็นมื้อใหญ่ช่วยลดความเสี่ยงภาวะดื้ออินซูลิน จากการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่ทาน
อาหารเช้ามื้อใหญ่เป็นเวลา 12 สัปดาห์ มีอัตราการตกไข่มากกว่าผู้หญิงที่ทานอาหารเช้าเพียงเล็กน้อยและเน้นทานอาหารเย็น
.
3.งดไขมันทรานส์ เลิกกินของมันของทอด
ไขมันทรานส์ส่งผลต่อภาวะไข่ไม่ตก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ส่งผลให้ร่างกายอักเสบและเสี่ยงต่อภาวะดื้ออินซูลิน ไขมันทรานส์พบได้ในของทอด อาหารแปรรูป จังค์ฟู้ด เบเกอรี่ต่างๆ
ควรหันมาทานกรดไขมันดี ที่ได้จากถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พวกธัญพืช เช่น งาดำ เมล็ดฟักทอง หรือ กฟล็กซีดที่ให้โอเมก้า 3 สูง ซึ่งไขมันดีส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศที่สมดุล ปรับให้ไข่ตกปกติ
.
4. ลดการทานคาร์บลง
คาร์โบไฮเดรตหรือแป้งให้พลังงาน ร่างกายต้องการแต่ถ้าทานมากเกินไป จะกลายเป็นน้ำตาลในเลือดสูงน้ำตาลเกิน ดื้ออินซูลิน ส่งผลต่อภาวะ PCOS และเกิดไขมันพอกตับ ไตรกลีเซอไรด์สูง คาร์บที่ควรลดคือพวก refined carb หรือ คาร์บขัดสี ได้แก่ ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปังขาว เป็นต้น เพราะจะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดมันที แต่ควรเน้นทาน complex carb หรือ คาร์บเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าวกล้อง ธัญพืขต่างๆ ควินัว หัวมัน งาดำ ลูกเดือย ถั่ว เมล็ดฟักทอง เป็นต้น พวกนี้จะย่อยช้าๆ ไม่ไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดเฉียบพลัน วิตามินสูง มีไฟเบอร์สูงช่วยลดไขมันในเลือด เหมาะกับคนที่เป็น PCOS ให้หันมารับประทานคาร์บเชิงซ้อน จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ลดการอักเสบ ไม่เสี่ยงภาวะดื้ออินซูลินซึ่งปัจจัยเหล่านั้นทำให้อาการ PCOS แย่ลงทั้งสิ้น
.
5.กินอาหารที่ให้กากใย ไฟเบอร์
ไฟเบอร์ได้จากการทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้ อโวคาโด ผักใบเขียวต่างๆ และธัญพืช เช่น ควินัว งาดำ ข้าวโอ๊ต หรือพวกหัวมัน ข้าวกล้อง ถั่วต่างๆ เป็นต้น
ไฟเบอร์ช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดและช่วยดูดซัยคอเลสเตอรอลในเลือดและขับถ่ายออกมาทางอุจจาระ ช่วยให้อิ่มนาน เป็นการควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย
📚มีการศึกษาพบว่าการเพิ่มการทานไฟเบอร์มากกว่า 10 กรัมต่อวันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงการมีบุตรยากที่มาจากการตกไข่ผิดปกติได้ถึง 44%
.
6.เน้นทานโปรตีนจากพืชแทนเนื้อสัตว์
โปรตีนเป็นสารอาหารหมู่หลักที่สำคัญมากที่ร่างกายต้องได้รับให้เพียงพอต่อวัน โปรตีนช่วยสร้างและซ่อมแซมเซลล์ อีกทั้งยังเป็นสารตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย
แต่แหล่งในการได้รับโปรตีนมีความสำคัญที่ต้องพิจารณาด้วย การทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์มากเกินไป เน้นเนื้อแดง เนื้อติดมัน จะมีฮอร์โมนเร่งเนื้อแดงแนเปื้อน และมีปริมาณไขมันสูง ส่งผลต่อสมดุลฮอร์โในในร่างกาย
📚มีการศึกษางานวิจัยจาก Harvard School of Public Health พบว่าผู้หญิงกินโปรตีนจากสัตว์จำนวนถึง 39% จะประสบปัญหาภาวะที่มีบุตรยากมากกว่าผู้หญิงที่กินโปรตีนจากพืช
📚 ยังมีอีกงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of obstetrics and gynecology เมื่อปี 2008
ศึกษาพบว่าผู้หญิงที่เปลี่ยนการรับประทานโปรตีนจากสัตว์มาเป็นโปรตีนจากพืชอาจช่วยลดความเสี่ยงจากการมีบุตรยากเนื่องปัญหาเรื่องไข่ไม่ตกได้ถึง 50%
ควรเน้นทานอาหารที่ให้โปรตีนสูง จากแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพ ถ้าทานโปรตีนจากสัตว์ควรทาน ไข่ เนื้อปลา นมแพะ อกไก่ และหันมาเน้นเพิ่มโปรตีนโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง อัลมอนด์ งาดำ ควินัว เมล็ดฟักทอง เป็นต้น เพื่อบำรุงเซลล์ไข่ให้แข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งนี้โปรตีนยังช่วยทำให้ฮอร์โมนในร่างกายทำงานอย่างสมดุลรวมไปถึงฮอร์โมนเพศที่เป็นสิ่งสำคัญในการตั้งครรภ์ ส่งผลต่อรอบเดือนที่สม่ำเสมอ วงจรการตกไข่ที่เป็นปกตินั่นเองค่ะ
.
7.เสริมวิตามินบำรุง
การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่สำคัญที่สุด อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวอาจทำให้เราได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในแต่ละวัน เพราะเรารับประทานในปริมาณน้อย และสารอาหาร หรือ วิตามินบางชนิดร่างกายสามารถดูดซึมได้น้อยในรูปแบบของอาหาร และเราไม่สามารถมั่นใจได้ว่าในอาหารแต่ละมื้อเราได้รับวิตามินที่เพียงพอตามปริมาณที่ร่างกายต้องการได้รับหรือไม่
ดังนั้น หลักในการบำรุงเตรียมตั้งครรภ์ของครูก้อยคือ ทานวิตามิน 30% ค่ะ ครูก้อยจะเน้นเรื่องโภชนาการเป็นหลัก เพราะอาหารสำคัญที่สุดค่ะ แต่ก็ไม่ขาดเรื่องวิตามินเสริมที่จะทำให้ร่างกายเราได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและจำเป็นสำหรับคนที่เตรียมตัวเป็นคุณแม่ค่ะ
🔑ครูก้อยใช้สูตรนี้ค่ะ อาหาร 70% วิตามิน 30%
📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Medicine Insight Womens Health เมื่อปี 2019
ได้รวบรวมผลการศึกษา ถึงความสำคัญของ micronutrients ซึ่งได้แก่ "วิตามินและแร่ธาตุ" ที่จำเป็นที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์
งานวิจัยศึกษาพบว่าสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนอกจากการทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการแล้ว การขาดวิตามินและแร่ธาตุก็เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่ง เพราะวิตามินและแร่ธาตุมีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างปกติและสมบูรณ์ รวมถึงระบบสืบพันธุ์ด้วย
การได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอนอกจากจะส่งผลให้ผู้หญิงมีลูกง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิด
✔ส่งผลต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ (oocyte quality and maturation)
✔การปฏิสนธิ ( fertilization)
✔การฝังตัวของตัวอ่อน (implantation)
✔การเจริญเติบโตของตัวอ่อน (embryo development)
✔ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของภาวะเจริญพันธุ์อีกด้วย
.
8.ทานโฟลิกและธาตุเหล็กให้เพียงพอ
โฟลิกและธาตุเหล็กจำเป็นและสำคัญมากสำหรับผู่หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ทุกคนซึ่งควรได้รับก่อนท้อง
อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพนั้นสำคัญมาก ผู้ที่พร้อมและตั้งใจจะมีลูกควรกินธาตุเหล็กและโฟลิกสัปดาห์ละครั้ง ก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 12 สัปดาห์ เนื่องจากในช่วง 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาสมองและระบบประสาท เป็นช่วงเวลาที่หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะยังไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ จึงควรเสริมธาตุเหล็กและโฟลิกอย่างต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้คลอดอย่างปลอดภัย ร่างกายครบ 32 ลด
ความเสี่ยงต่อการพิการแต่กำเนิด ช่วยให้ทุกการเกิดมีคุณภาพ มีพัฒนาการที่สมวัย เจริญเติบโตอย่างสูงดีสมส่วน
👉ทำไมต้องกินกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์❓
ยังมีความเข้าใจที่ผิดว่าเมื่อตั้งครรภ์ถึงจะรับประทานวิตามินโฟลิก แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องกินก่อนท้อง เพราะวิตามินโฟลิก ช่วยในการสร้างและแบ่งเซลล์ในตัวอ่อนให้สมบูรณ์ตั้งแต่หลังปฏิสนธิภายใน 28 วัน จึง
ดังนั้นการเสริมกรดโฟลิกสามารถทำได้ตั้งแต่วางแผนมีบุตร หรือก่อนตั้งครรภ์ 1-3 เดือน และทานต่อไปอีกหลังเริ่มตั้งครรภ์ยาวไปจนอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ เพราะหากรอจนทราบว่าตั้งครรภ์ก่อนแล้วค่อยทานอาจจะสายเกินไป เพราะในช่วงอายุครรภ์ที่ 3-4 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ จะเป็นช่วงที่พัฒนาการของสมองและระบบประสาทของทารกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหลอดประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งนั่นอาจช้าเกินไปที่จะแก้ไขความผิดปกติ
👉ธาตุเหล็กสำคัญอย่างไรต่อหญิงวางแผนตั้งครรภ์❓
ธาตุเหล็กจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดที่เพิ่มจำนวนอย่างมากในช่วงตั้งครรภ์ ปริมาณเลือดในร่างกายคุณแม่ตั้งครรภ์จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 70% เพื่อ
ให้เพียงพอต่อการนำสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกที่อาศัยอยู่ในครรภ์มารดา จากสถิติพบว่า สตรีตั้งครรภ์มากกว่าครึ่งมีภาวะโลหิตจางจากการได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ
ดังนั้นหญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเพื่อให้มีธาตุเหล็กเพียงพออาหารที่ให้ธาตุเหล็กสูง เช่น ผักใบเขียว ไข่ ถั่ว ตับ เนื้อแดงไม่ติดมัน แต่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารได้ 100% ดังนั้นจึงควรรับประทานธาตุเหล็กเสริมได้
ยิ่งไปกว่านั้นการได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอยังลดความเสี่ยงภาวะมีบุตรยากอีกด้วย มีการศึกษาพบว่า 15% ของหญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและมีผลต่อสภาวะมีบุตรยาก ดังนั้นแม่ๆจึงควรพิจารณาทานธาตุเหล็กเสริมตั้งแต่ก่อนจะตั้งครรภ์
ในช่วงของการตั้งครรภ์การขาดธาตุเหล็กนั้นถือว่าเป็นเรื่องอันตราย เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์หลายอย่าง เช่น เพิ่มความ
เสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้ทารกที่เพิ่งคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เป็นต้น
.
9.ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไข่ไม่ตก คือ น้ำหนักที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักที่มากไปหรือน้อยไปส่งผลให้ฮอร์โมนเพศไม่สมดุล ประจำเดือนมาไม่ตรง ไข่ไม่ตก ท้องยากค่ะ
👉น้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ วัดอย่างไร❓
วัดได้จากค่า BMI หรือ ค่าดัชนีมวลกายค่ะ
วิธีการหาค่าดัชนีความหนาของร่างกาย หรือที่เราเรียกว่า "ดัชนีมวลกาย" หรือ "บีเอ็มไอ" (BMI - Body Mass Index) มีสูตรคือ
"BMI = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม / ส่วนสูงเป็นเมตร x ส่วนสูงเป็นเมตร"
👉ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 58 กิโลกรัม และมีส่วนสูง 169 เซนติเมตร ต้องนำส่วนสูงมาคิดเป็นเมตรก่อน คือ 169 เซนติเมตร จะเท่ากับ 1.69 เมตร แล้วนำมาคูณด้วยส่วนสูงที่คิดเป็นเมตรอีกครั้ง คือ 1.69 x 1.69 = 2.856 จากนั้นให้เอาน้ำหนักคือ 58 กิโลกรัม เป็นตัวตั้ง แล้วจึงหารด้วยค่าส่วนสูงที่คำนวณได้คือ 2.856 ก็จะได้ค่า BMI เท่ากับ 20.308
ซึ่งผู้ที่มีค่า BMI อยู่ในระหว่าง 18.5-24.9 (มาตรฐานสากล) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ถ้าน้อยกว่า 18.5 ก็ถือว่าผอมไป
ถ้ามากกว่า 24.9 คือมีค่า 25.0 ขึ้นไปก็จะถือว่าอ้วน
แต่สำหรับมาตรฐานคนเอเชียแล้วเกณฑ์ปกติจะอยู่ที่ 18.5-22.9
👉ความอ้วนทำให้ท้องยากได้อย่างไร❓
ความอ้วนมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตจากไขมัน เมื่อไขมันมากเกินไป การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการตกไข่ในเพศ
หญิงอาจเกิดความผิดปกติ
✔ส่งผลให้ไม่มีการตกไข่
✔ประจำเดือนมาน้อยแบบกะปริดกะปรอย
✔ประจำเดือนขาดหายไป
👉กรณีที่ผอมไปล่ะ❓
สังเกตุมั้ยคะ คนที่ผอมไป ลีนเกินไป หรือนักกีฬา เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายต่ำเกินไปจะท้องยาก เพราะไขมันเป็นสารตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมนเพศค่ะ (แต่เน้นไขมันดีนะ ไม่ใช่พวกทรานส์แฟท หรือ คอเลสเตอรอลที่สูงเกินไป) นายแพทย์ Robert จาก Corado for Reproductive Medicine เผยว่า ผู้หญิงที่สุขภาพดีและมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากกว่าหากมีค่า body fat อยู่ที่อย่างน้อย 17-19 อันนี้คือดูที่ body fat นะคะ ไม่ใช่ค่า BMI บางครั้งเราดูที่ค่า BMI โอเค แต่ body fat สูงหรือ ต่ำไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพค่ะ
.
10.นอนให้เพียงพอ 7-9 ชม. ไม่เครียด
📚มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร
Current Sleep Medicine Report เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
สมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เราหลับ หรือ ตื่น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน และ คอร์ติซอล เป็นสมองส่วนที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วยเช่นกัน ดังนั้นฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ในผู้หญิง และ ฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิตสเปิร์มในผู้ชายจึงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับด้วย
โดยในผู้หญิงนั้น การนอนไม่เพียง
พอในระยะยาวส่งผลโดยตรงต่อการสร้าง Luteinizing Hormone (LH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ มีผลทำให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอการปฏิสนธิ LH เป็นฮอร์โมนหนึ่งที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่มีการตกไข่ของรอบเดือนนั้นๆ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติก็จะส่งผลต่อรอบเดือนที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากนั่นเองค่ะ
📚ส่วนในผู้ชายนั้น มีงานวิจัยของ Boston University School of Public Health เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าการนอนที่เพียงพอนั้นควรนอนหลับ 7-8 ชม.ต่อวัน ผู้ชายที่นอนน้อยกว่า 6 ชม.หรือ นอนมากกว่า 9 ชม.ต่อวัน ส่งผลต่อโอกาสในการทำให้คู่ของตนเองตั้งครรภ์ลดลง 42% ในแต่ละรอบเดือน
.
11.ลดคาเฟอีน งดการดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนแต่พอดีไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่ถ้าดื่มมากเกินไปอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ค่ะ
การที่ร่างกายได้รับคาเฟอีนประมาณ 300 มิลลิกรัมต่อวันหรือเทียบเท่ากับกาแฟชงเอง 3 ถ้วย ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะมีลูกได้ยากขึ้น เนื่องจากคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟจะส่งผลให้การตั้งครรภ์นั้นชะลอลง ซึ่งส่งผลให้โอกาสการมีลูกลดน้อยลงถึง 26% เลยทีเดียว
ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น ควรจะลดหรืองดแอลกอฮอร์ ซึ่งควรจะลดระยะเวลา 3 เดือนก่อนการทำเด็กหลอดแก้ว หรือเตรียมตั้งครรภ์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลให้โอกาสในการมีลูกลดลงถึง 50% เลยทีเดียว
.
12.บำรุงเซลล์ไข่อย่างน้อยล่วงหน้า 3 เดือน
ไข่ คือ "วัตถุดิบตั้งต้น" ของการตั้งครรภ์ ที่จะกลายมาเป็นตัวอ่อน และเติบโตเป็นทารกในครรภ์ของเราต่อไป ดังนั้นอยากเพิ่มโอกาสท้องต้องบำรุงตั้งแต่เซลล์ไข่ และต้องบำรุงก่อนท้อง เพราะเซลล์ไข่ที่มีคุณภาพส่งผลต่ออัตราการปฏิสนธิที่สูงขึ้น ตัวอ่อนพัฒนาแบ่งเซลล์อย่างปกติ ลดการเสี่ยงแท้ง เจริญเติบโตเป็นครรภ์ที่สมบูรณ์ต่อไปค่ะ
ครูก้อยจึงเน้นย้ำหลักโภชนาการที่บำรุงไข่เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งควรบำรุงล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ครูก้อยสรุปหลักการทานอาหารมาเป็น 5 Keys to Success ดังนี้ค่ะ
1.เพิ่มโปรตีน
2.ลดคาร์บ
3.งดหวาน
4.ทานกรดไขมันดี
5.เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์
➕เสริมวิตามินบำรุง
.
13.บำรุงมดลูก
แม่ๆ ที่วางแผนตั้งครรภ์ต้องดูแลบำรุงร่างกายให้แข็งแรงในองค์รวม แต่สิ่งที่ห้ามมองข้ามและต้องดูแลเป็นพิเศษคือ #มดลูก ของเราค่ะ มดลูกเป็นอวัยวะที่สำคัญในการตั้งครรภ์ #เพราะมดลูกเปรียบเสมือนบ้านหลังแรกของลูก เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้ว ตัวอ่อนก็จะเคลื่อนตัวมาพักพิงที่บ้านหลังนี้ หากมดลูกไม่แข็งแรง ไม่สมบูรณ์พร้อมให้ตัวอ่อนฝังตัว ลูกน้อยของเราก็มาเกิดไม่ได้ค่ะ ดังนั้นแม่ๆ ทั้งหลายที่อยากท้องต้องดูแลมดลูกให้แข็งแรงนะคะ
👉โดยมดลูกที่แข็งแรงพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนนั้นต้องมีลักษณะ 4 ประการดังนี้
1.หนา 8-10 มิล
2.ใสเป็นวุ้น ไม่หนาทึบคั่งค้างด้วยเลือดปจด.เก่า
3.เรียง 3 ชั้นสวย (Triple lines)
4.มีสภาวะอุ่น มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ
การดูแลมดลูกทำได้ด้วยการทานอาหารที่มีแระ
โยชน์ เน้นอาหารฤทธิ์อุ่น กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด บำบัดและดีท็อกซ์ล้างสารพิษและประจำเดือนเก่าที่คัางค้าง เป็นการเตรียมมดลูกให้สะอาดเหมาะแก่การฝังตัว
.
14.บำรุงสเปิร์มคุณสามี
แน่นอนว่าวัตถุดิบตั้งต้นต้องการ "สเปิร์ม" จากคุณสามีด้วย ดังนั้นแม่ๆจะบำรุงไข่อย่างเดียวโดยไม่สนใจบำรุงสเปิร์มจากคุณสามีไม่ได้นะคะ
คุณภาพของสเปิร์มวัดจากปริมาตรการหลั่ง จำนวนตัว อัตราการวิ่งว่ายและรูปร่างที่สมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้ต้องไปตรวจค่ะจึงจะทราบได้ บางคู่ไม่ท้องสักทีแต่ก็ไม่ไผพบแพทย์จึงไม่รู้ปัญหา
การปรับปรุงคุณภาพสเปิร์มสามารถทำได้ด้วยหลักโภชนาการที่ถูกต้อง ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ งดพฤติดรรมทำร้ายสเปิร์ม ได้แก่ บุหรี่ แอลกอฮอล์ สารเสพติดต่างๆ และต้องบำรุงล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน เช่นกันค่ะ
.
15.ปรึกษาแพทย์
หากพยายามกันมานานแล้วถึงเวลาที่ต้องปรึกษาแพทย์แล้วค่ะ โดยให้ประเมินคู่ของเราดังนี้
✅มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ (2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
✅ไม่คุมกำเนิด
✅เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี แต่สำหรับฝ่ายหญิงที่อายุ 35 ปี ขึ้นไป แค่ 6 เดือนพอค่ะ
✅️แล้วยังไม่ท้อง
ประเมินแบบนี้แล้ว พบว่าถูกทุกข้อแล้วยังไม่ท้อง ในทางการแพทย์คือ คู่ของคุณกำลังเข้าสู่ภาวะมีบุตรยากแล้วค่ะ ดังนั้นไม่ต้องอายที่จะมาพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด และอาจใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อช่วยให้ตั้งครรภ์ต่อไปค่ะ
.
.
ครูก้อยขอเป็นกำลังใจให้ทุกคู่มีเบบี๋ในเร็ววันนะคะ หากดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง บำรุงไข่ บำรุงสเปิร์มให้สมบูรณ์ มีคุณถาพ เจ้าตัวน้อยก็จะมาอีกไม่นานเกินรอค่ะ
Comments