งานวิจัยเผย! แพ้กลูเต็น (Gluten Intolerance) เสี่ยงท้องยาก! เลี่ยงกลูเต็นไว้ อาจท้องง่ายขึ้น
top of page
ค้นหา

งานวิจัยเผย! แพ้กลูเต็น (Gluten Intolerance) เสี่ยงท้องยาก! เลี่ยงกลูเต็นไว้ อาจท้องง่ายขึ้น


●Gluten คืออะไร?



กลูเต็น (Gluten) เป็นไกลโคโปรตีนที่พบได้ในข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโพด ซึ่งในปัจจุบันเราใช้กลูเตนในการผลิตขนมปัง ช่วยให้ขนมปังเหนียวนุ่ม น่ารับประทาน รวมทั้งในข้าวโอ๊ต เค้ก พาย ซีเรียล และใช้แทนเนื้อสัตว์ในอาหารเจอีกด้วย



การแพ้กลูเต็น (Gluten Intolerance) โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบการย่อยทางพันธุกรรมไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เกิดขึ้นเมื่อกลูเต็นซึ่งไม่สามารถสามารถย่อยผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็ก ทำให้เกิดอาการเช่นเดียวกับการแพ้แลคโตสในนมวัว



ผู้แพ้กลูเต็นอาจมีอาการท้องอืด มีก๊าซในกระเพาะ และท้องเสีย แต่ไม่มีการอักเสบของลำไส้อย่างรุนแรง



ปัจจุบันการแพ้กลูเต็นถูกพูดถึงอย่างมากในอเมริกาเพราะทานอาหารที่ทำจากพวกแป้งสาลีเป็นหลัก แต่คนเอเชียก็ทานอาหารจำพวกนี้เช่นเดียวกัน อาหารยอดฮิตคือพวกขนมปังหรือเบเกอรี่ พิซซ่า ซีเรียล พาสต้า ต่างก็มีส่วนผสมจากแป้งข้าวสาลี หากเราพยายาม



จะรักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์แต่ก็ยังพบว่ายังเจ็บนั่น ปวดนี่อย่างไม่มีสาเหตุ เราอาจแพ้กลูเตนอยู่ก็ได้ค่ะ



.



●เราแพ้กลูเตนหรือไม่มาเช็ค 6 สัญญาณเตือนดังนี้ค่ะ



อาการเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากการรับประทานอาหารที่มีกลูเต็น อย่างไรก็ตามอาการอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณหรือประเภทของกลูเตนที่เรารับประทานเข้าไปค่ะ



1.ท้องเสียและท้องผูก



ท้องเสียและท้องผูก ซึ่งเป็นอาการที่พบได้โดยทั่วไปของผู้ที่แพ้กลูเต็น ซึ่งอาจมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะและคลื่นไส้ วิงเวียนร่วมด้วย



2.อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ



ผู้ที่แพ้กลูเต็นจะมีอาการท้องอืดร่วมด้วย โดยจะมีความรู้สึกไม่สบายท้อง และมีแก๊สในกะเพาะอาหาร บางครั้งอาจสับสนกับอาการที่เกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไปซึ่งสามารถก่อให้เกิดท้องอืดท้องเฟ้อ



ได้ แต่การแพ้กลูเตนนั้นจะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ โดยไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่รับประทาน



3. มีอาการปวดเกร็งในช่องท้อง



อาการปวดเกร็งช่องท้องอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ แต่ถ้าเกิดจากผู้ที่แพ้กลูเต็นจะเกิดเป็นประจำหลังรับประทานอาหารที่มีกลูเตน ดังนั้นต้องหมั่นสังเกตค่ะ



4. อ่อนเพลีย



ผู้ที่แพ้กลูเต็นจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายหรือง่วงนอนโดยไม่ทราบสาเหตุซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตตามปกติได้ เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีผลไปยับยั้งการดูดซึมสารอาหารที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้ทันที ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง อย่างไรก็ตามอาการอ่อนเพลียอาจเกิดจากสาเหตุอื่นด้วย ดังนั้นถ้าเรามีอาการอ่อนเพลียเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาการแพ้กลูเต็นค่ะ



5. คลื่นไส้ วิงเวียน



ผู้ที่แพ้กลูเต็นจะมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียนซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดอาการทันทีเมื่อรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเต็น



6. ปวดศีรษะ



หากคุณมีอาการปวดศีรษะเป็นประจำ หรือปวดไมเกรน อาจเกิดจากการแพ้กลูเต็นได้ค่ะ



.



●กลูเตนส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากอย่างไร?



มีงานวิจัยรายงานว่าการกินกลูเต็นอาจส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้ผู้หญิงประจำเดือนมาไม่ปกติ รังไข่ทำงานผิดปกติ และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะของการมีบุตรยาก



การแพ้กลูเต็นอาจก่อให้เกิดโรคที่เรียกว่า โรคเซลิแอค (Celiac Disease)โดยกลูเต็นจะทำให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อตัวเอง โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะสร้างแอนติบอดีเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อบุเซลล์ที่ลำไส้เล็กส่งผลให้เกิดการอักเสบและฝ่อในที่สุด ไม่สามารถทำงาน



ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การดูดซึมอาหาร เกลือแร่ วิตามิน ได้ไม่เพียงพอ



ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการ ท้องอืด ท้องเสียเรื้อรัง ปวดท้องที่เกิดจากก๊าซในกระเพาะอาหาร โลหิตจาง เนื่องจากดูดกลืนโฟลิค และวิตามิน B12 ได้ไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลง กระดูกพรุน ระบบประสาททำงานผิดปกติ ผิวหนังเป็นผื่นบริเวณข้อศอกและเข่า ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ โกธรง่าย ซึมง่าย ในกรณีที่เกิดในเด็กจะทำให้เด็กโตช้า ตัวเล็กกว่าเด็กปกติทั่วไป ในผู้ป่วยโรคเซลิแอค บางรายจะไม่มีอาการเลยก็ได้แต่โรคดังกล่าวยังคงมีการทำลายลำไส้เล็กอย่างต่อเนื่อง พบว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเซลิแอคประมาณ1-2% ประชากรไทยพบโรคนี้ได้ 0.3%พบได้มากในคนผิวขาว เป็นได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากสุดในกลุ่มช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไปโดยหากมีพ่อ แม่ พี่น้องในครอบครัวเป็นโรคนี้ จะมีโอกาสที่คนอื่นๆในครอบครัวจะเป็นโรคนี้ด้วยถึง 10%



มีงานวิจัยพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคเซลิแอคมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีบุตรยากและแท้งได้ง่ายอีกด้วยค่ะ มีงานวิจัยฉบับหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Human Reproduction ได้ทำการศึกษาความเชื่อมโยงของการเป็นโรคเซลิแอคกับภาวะมีบุตรยากและถาวะ



แทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ โดยได้รายงานว่าแพทย์ควรต้องตรวจเรื่องภาวะการแพ้กลูเต็นเมื่อพบผู้ป่วยที่มีภาวะมีบุตรยาก เพื่อหาสาเหตุซึ่งอาจเกิดจากเรื่องนี้เพราะ 80%ของผู้ป่วยเรื่องนี้จะไม่แสดงอาการ



จากงานวิจัยได้เปรียบเทียบประวัติของผู้หญิงที่มีประวัติเกี่ยวกับโรคเซลิแอคจาก Danish National Patient Register จำนวน 6,319 คน กับ ผู้หญิงที่ไม่มีประวัติเกี่ยวกับโรคนี้ จำนวน 63,166 คน นักวิจัยจาก Horsens and Odense hospitals และ Aarhus University เปรียบเทียบโอกาสในการตั้งครรภ์ การมีชีวิตรอดของทารกหรือการตายในครรภ์ การเกิดภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก การตั้งครรภ์นอกมดลูก และการแท้ง จากผู้หญิงสองกลุ่มดังกล่าว โดยงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่เป็นโรคเซลิแอคแต่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจะมีการแท้ง 11 % และทารกตายในครรภ์1.62%ต่อการท้อง 1,000 ครั้ง และยังพบว่าช่วงเวลา2ปีก่อนมีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเซลิแอคผู้หญิงตั้งท้องน้อยลง25%



.


.



ครูก้อยแนะนำว่า ผู้ที่มีอาการแพ้กลูเต็น ควรลดการรับ



ประทานอาหารจำพวกแป้ง ขนมปัง หรือเบเกอรี่ต่างๆ แล้วทดแทนด้วยธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวฟ่าง คีนัว แฟล็กซีด งาดำ อัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง ถั่วต่างๆ หรือ เลือกรับประทานอาหารจำพวกแป้งที่ระบุไว้ว่าปราศจากสารกลูเต็นค่ะ

ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page