สำหรับคุณแม่หลายคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการมีลูกนั้น อาจมองว่าไขมันเป็นต้นตอของปัญหาสุขภาพต่าง ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วไขมันมีทั้งชนิดดีและเลว ซึ่งไขมันทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง วันนี้ครูก้อยจะพามาทำความรู้จักกับไขมันเลวกันว่ามันคืออะไร มาจากไหนบ้าง แล้วมีวิธีรับมือกับไขมันชนิดนี้อย่างไรไม่ให้มาเป็นอุปสรรคในการตั้งครรภ์อีกต่อไป ตามมาอ่านกันเลยค่ะ
ไขมันเลวคืออะไร
LDL หรือ Low density lipoprotein เป็นไขมันในหลอดเลือด (Cholesterol) ที่นำพาไขมันคอเลสเตอรอลไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้งาน แต่หากร่างกายได้รับไขมันชนิดนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดการสะสมของ LDL ตามผนังหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดช้าลงและเกิดการอุดตันในเส้นเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบแข็งและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ
ไขมันเลวมาจากไหนบ้าง
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูปอย่างไส้กรอก แฮม แหนม กุนเชียง
อาหารทอดด้วยน้ำมันสัตว์ เช่น ไก่ทอด หมูกรอบ
อาหารหรือของหวานที่มีส่วนผสมของกะทิ เช่น พะแนง กล้วยบวชชี
อาหารที่มีไขมันทรานส์ปริมาณมาก เช่น เฟรนช์ฟรายส์ คุกกี้ โดนัท ครีมเทียม นมข้นจืด เนยขาว เนยเทียม
เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ เหล้า สาเก
ภาวะแทรกซ้อนจากไขมันเลว
1. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)
หรือที่ใครหลายคนรู้จักกันในชื่อว่า PCOS เกิดจากต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติและผลิตถุงน้ำหลายใบ หรือบางรายอาจเกิดซีสต์ในรังไข่และทำให้รังไข่ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ประจำเดือนมาน้อยกว่าคนทั่วไปหรืออาจไม่มีประจำเดือนเลย นอกจากจะลดโอกาสการตั้งครรภ์แล้ว หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้อีกด้วยค่ะ
2. โรคเบาหวาน
เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง อันเนื่องมาจากการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) จากตับทำงานบกพร่อง ร่างกายจึงนำน้ำตาลในเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ไม่เต็มที่ ทำให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง เป็นผลทำให้ไตดูดน้ำตาลกลับไปได้ไม่หมดและมีน้ำตาลเล็ดลอดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ หากปล่อยไว้นานอาจก่อใก้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น ภาวะต้อกระจก, ภาวะไตวายเรื้อรัง, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ภาวะเส้นเลือดอุดตัน และอื่น ๆ อีกมาก โดยทั่วไปแล้วโรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์ แต่หากคุณแม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก่อนตั้งครรภ์อาจทำให้ความเสี่ยงต่อการแท้งลูกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทั้งนี้คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถมีลูกได้เพียงแต่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลเป็นพิเศษ
3. ความดันโลหิตสูง
เป็นภาวะที่ร่างกายมีความดันโลหิตในระดับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งถือว่าสูงกว่าระดับความดันโลหิตของคนทั่วไป โดยภาวะดังกล่าวจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวและรูหดเล็กลง เลือดจึงไหลเวียนอวัยวะต่าง ๆ น้อยลง อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายจึงทำงานผิดปกติ และหากหลอดเลือดและหัวใจได้รับความเสียหายเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเฉียบพลัน, ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น นอกจากนี้ความดันโลหิตสูงยังมีผลต่อการตั้งครรภ์ด้วยนะคะ แม้ว่าจะตั้งครรภ์ได้แต่โอกาสที่ลูกน้อยจะเสียชีวิตในครรภ์นั้นมีสูงมาก เนื่องจากภาวะดังกล่าวส่งผลให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารและออกซิเจนน้อยลง แถมยังมีผลต่อพัฒนาการผิดปกติของทารกอีกด้วย อีกทั้งเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่เองด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ภาวะความดันโลหิตสูงสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์นะคะ หากตั้งครรภ์ขณะมีภาวะดังกล่าวให้รีบพบแพทย์
4. ภาวะเครียด
เมื่อคุณแม่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเกินไป ส่งผลให้คุณแม่รู้สึดลดความมั่นใจในตัวเอง บางทีอาจนำมาสู่ภาวะความเครียดที่ทำให้ฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) และฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) อาจไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้เกิดภาวะตกไข่ผิดปกติและลดโอกาสตั้งครรภ์ให้น้อยลงด้วย ดังนั้นหากรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในภาวะเครียดมากเกินไป แนะนำให้หาทางความเครียดโดยด่วนด้วยการฝึกสมาธิ เล่นโยคะ นั่งหนังสือ หรือฟังดนตรีบำบัด
ไขมันเลว กำจัดได้ด้วยการดูแลตัวเอง
1. รับประทานอาหารเตรียมท้อง
โปรตีนจากพืชและสัตว์ ช่วยซ่อมแซมเซลล์ส่วนสึกหรอของร่างกาย อีกทั้งบำรุงเซลล์ไข่ให้อ้วนโตสมบูรณ์และสร้างผนังมดลูกให้แข็งแรง ได้แก่ ไข่, ปลา, อกไก่ไม่ติดมัน, ถั่วเหลือง, งาดำ
ผักใบเขียว ช่วยลดการอักเสบและปกป้องเซลล์ไข่ไม่ให้ถูกทำลายจากสารอนุมูลอิสระ ช่วยเร่งการตกไข่ กระตุ้นให้รอบประจำเดือนเป็นปกติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการตกไข่ ไข่สุกพร้อมปฏิสนธิ ได้แก่ บร็อคโคลี, วีทกราส, คะน้าใบหยัก หรือผักเคล, หน่อไม้ฝรั่ง, อาโวคาโด
อาหารทะเล ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ได้ดี, ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ, เพิ่มความต้องการทางเพศ, กระตุ้นรังไข่ให้ผลิตไข่สำหรับปฏิสนธิ ได้แก่ ปลาทู ปลาอินทรี ปลาแซลมอน หอยนางรม
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์สืบพันธุ์เสียหายและชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ได้แก่ สตรอว์เบอร์รี บลูเบอร์รี แบล็คเบอร์รี
ข้าวกล้องและขนมปังไม่ขัดสี ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและขับถ่ายอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีของเสียตกค้างอยู่ในร่างกาย, มีช่วยเสริมประสิทธิภาพในการสร้างตัวอ่อน ได้แก่ ข้าวกล้อง, ขนมปังโฮลวีต
ไขมันดี หรือ HDL (High Density Lipoprotein) เป็นไขมันชนิดดีที่คอยรวบรวมไขมันเลว หรือ LDL (Low-Density Lipoprotein) ที่สะสมอยู่ในเลือดเพื่อขับออกจากร่างกาย นอกจากจะช่วยลดน้ำหนักจากไขมันเลวได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเยื่อบุโพรงมดลูก, เสริมประสิทธิภาพของการผลิตไข่, กระตุ้นการตกไข่, ป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ, ป้องกันภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศและป้องกันการปฏิสนธิล้มเหลว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการมีลูกยาก (อ่านเพิ่มเติม: ไขมันดีคนท้อง ดีอย่างไร ทำไมคุณแม่อยากท้องต้องทาน)
2. ควบคุมน้ำหนักอย่างถูกวิธี
น้ำหนักตัวมากเกินไปมีผลทำให้โอกาสมีลูกน้อยกว่าคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐานถึง 20% และหากต่อให้ตั้งครรภ์แล้วก็ตาม แต่มีความเสี่ยงต่อการแท้งลูกในช่วง 3 เดือนแรกอีกด้วยค่ะ ทั้งนี้ครูก้อยขอแนะนำให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที เพราะนอกจากจะช่วยลดไขมันเลวแล้ว ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย อีกทั้งช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจทำให้มีลูกยากอีกด้วยค่ะ
3. จัดการความเครียดให้ได้
อย่างที่บอกไปเบื้องต้นว่า เมื่อคุณแม่รู้สึกเครียดก็จะทำให้ฮอร์โมนแห่งความเครียดอย่างคอร์ติซอล (Cortisol) ถูกผลิตออกมาจำนวนมาก ส่งผลให้คอร์ติซอลสูงขึ้นจนระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติและเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เป็นสาเหตุให้ท้องยาก ดังนั้นหากรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในภาวะเครียดมากเกินไป แนะนำให้หาทางความเครียดโดยด่วนด้วยการฝึกสมาธิ เล่นโยคะ นั่งหนังสือ หรือฟังดนตรีบำบัด เป็นต้น
บทความที่น่าสนใจ
ไขมันดีคนท้อง ดีอย่างไร ทำไมคุณแม่อยากท้องต้องทาน
อยากมีน้องต้องกินไขมัน! อ๊ะๆ ไขมันดีเท่านั้นนะคะ
รู้จัก "ไขมันดี"ที่ดีต่อสตรีอยากท้องแม่ๆที่บำรุงเตรียมตั้งครรภ์การทาน
Comentários