top of page
ค้นหา

ท้องไว มีลูกง่าย เพียงแค่ปรับจุลินทรีย์ในช่องคลอดให้สมดุล



สำหรับใครก็ตามที่มีปัญหาตั้งครรภ์ยาก พยายามด้วยวิธีธรรมชาติมานานแค่ไหนก็ตามแต่น้องก็ยังไม่มาสักที สาเหตุหนึ่งอาจมาจากจุลินทรีย์ในช่องคลอดได้ด้วยนะคะ แล้วเราควรทำอย่างไรให้จุลินทรีย์ที่อยู่ในช่องคลอดสมดุล วันนี้ครูก้อยมีคำตอบมาฝากกันค่ะ


จุลินทรีย์ในช่องคลอดสำคัญกับคุณแม่เตรียมท้องอย่างไร


ช่องคลอดของผู้หญิงเราประกอบด้วยแบคทีเรียชนิดดี คือ แลคโตบาซิลไล (Lactobacilli) และแบคทีเรียชนิดไม่ดี ได้แก่ เชื้อรา Vulvovginal Candidasis (VYI), เชื้อทริโคโมแนส (Trichomonasis), เชื้อแบคทีเรีย Bacterial Vaginosis หากคุณแม่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้แบคทีเรียชนิดดีมีจำนวนลดลงและเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดไม่ดีในช่องคลอดได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการตั้งครรภ์ยากขึ้นนั่นเองค่ะ ดังนั้นคุณแม่เตรียมท้องทุกคนจะต้องปรับสมดุลของแบคทีเรียชนิดดีให้มีมากกว่าแบคทีเรียชนิดไม่ดีเพื่อให้ระบบเจริญพันธุ์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้มากขึ้นค่ะ


พฤติกรรมเสี่ยงต่อการลดปริมาณแบคทีเรียชนิดดีในช่องคลอด เช่น รับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อาหารหมักดอง, ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ, นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันตกลง, มีเพศสัมพันธ์มากกว่า 1 คู่นอน เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน, สวมใส่กางเกง กางเกงชั้นใน หรือกระโปรงที่รัดแน่นเป็นเวลานาน รวมถึงทำความสะอาดน้องสาวแบบผิดวิธี (สวนล้างช่องคลอด หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดน้องสาวที่มีความเป็นด่างสูง) ฯลฯ


รักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในช่องคลอดด้วยวิธีต่อไปนี้


1. ล้างช่องคลอดอย่างถูกวิธี ห้ามสวนล้างช่องคลอด


แม้ว่าหลายคนอาจติดการสวนล้างช่องคลอดเพราะคิดว่าวิธีนี้จะช่วยทำความสะอาดช่องคลอดไปถึงข้างใน แต่ในความเป็นจริงแล้วน้ำยาสำหรับล้างน้องสาวอาจทำลายแบคทีเรียชนิดดีและทำให้แบคทีเรียชนิดไม่ดีเจริญเติบโตง่ายขึ้น ส่งผลให้แบคทีเรียภายในช่องคลอดเสียสมดุลและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากต้องทำความสะอาดช่องคลอดจริง ๆ ควรล้างด้วยน้ำสะอาดเบา ๆ บริเวณภายนอกเท่านั้น ไม่ควรถูหรือเกาแรง ๆ เพราะอาจทำให้เกิดแผลและติดเชื้อง่ายขึ้นค่ะ ทั้งนี้แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นเฉพาะวันที่มีเหงื่ออกและวันที่ประจำเดือนมาเท่านี้ก็พอแล้วค่ะ


2. มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย


ด้วยการมีคู่นอนเพียง 1 คน โดยฝ่ายหญิงจะต้องใช้แผ่นยางอนามัยหรือฝ่ายชายจะต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้งดมีเพศสัมพันธ์มากกว่า 1 คู่นอนและงดเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์


3. ตรวจภายในปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป


การตรวจภายในทั้งมดลูก รังไข่ ท่อรังไข่และช่องคลอด จะช่วยให้ทราบว่ามีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงทั้งแบบแสดงอาการและไม่แสดงอาการหรือไม่ หากพบซีสหรือเนื้องอกอยู่ก็สามารถดูแลรักษาอาการไม่ให้ลุกลามจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่อาจเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต


4. รับประทานอาหารที่ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด


สำหรับช่องคลอดของคุณแม่เตรียมท้องที่มีสุขภาพดีจะต้องมีแบคทีเรียชนิดดีในปริมาณที่สมดุล โดยสารอาหารสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลน้องสาวโดยตรงนั่นก็คือ โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ที่มีสายพันธุ์เกี่ยวข้องกับระบบเจริญพันธุ์ ได้แก่


4.1 อาหารที่อุดมไปด้วยแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ (Probiotics)


โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นแบคทีเรียสายพันธุ์โพรไบโอติกส์ที่มีเกี่ยวข้องกับระบบเจริญพันธุ์ ได้แก่ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เป็นแบคทีเรียที่ทำหน้าที่ต้านจุลชีพโดยการลด pH ในช่องคลอด จึงมีส่วนช่วยป้องกันช่องคลอดติดเชื้อได้เป็นอย่างดี แลคโตบาซิลลัสมีหลายชนิด ได้แก่


  • Lactobacillus rhamnosus HN001 และ Lactobacillus acidophilus La-14 เป็นแบคทีเรียที่ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีในช่องคลอดและปรับค่า pH ในช่องคลอดให้สมดุล

  • Lactobacillus acidophilus NCFM เป็นแบคทีเรียที่ช่วยเพิ่มระดับแบคทีเรียชนิดดีและลดเวลาการขนส่งอาหารในลำไส้ ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานเต็มประสิทธิภาพ ระบบภูมิคุ้มกันจึงทำงานได้เต็มที่

  • Lactobacillus gasseri เป็นแบคทีเรียที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและรักษาการเผาผลาญให้กลับมาเป็นปกติ อีกทั้งป้องกันไขมันสะสมจนทำให้น้ำหนักเกินมาตรฐาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการมีลูกยาก

  • Lactobacillus crispatus เป็นแบคทีเรียที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อที่ช่องคลอดและลำไส้ สำหรับอาหารที่อุดมไปด้วยแลคโตบาซิลลัส ได้แก่ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ไวน์ กิมจิ ซุปมิโสะ ถั่วเน่า (นัตโตะ) คีเฟอร์ (Kefir) ชาหมักคอมบูชา เป็นต้น

2. เน้นอาหารที่อุดมไปด้วยบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)


บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) เป็นแบคทีเรียที่ช่วยย่อยอาหาร, ผลิตกรดไขมันสายสั้น และลดอาการอักเสบของร่างกาย สำหรับอาหารที่อุดมไปด้วยบิฟิโดแบคทีเรียม ได้แก่ โยเกิร์ต ผักดอง กิมจิ ถั่วเน่า (นัตโตะ) ขนมปังเปรี้ยว ฯลฯ บิฟิโดแบคทีเรียมมีส่วน บิฟิโดแบคทีเรียมมีหลายชนิด ได้แก่


  • Bifidobacterium lactis HN019 ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันการติดเชื้อของร่างกาย

  • Bifidobacterium longum BB536 ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

  • Bifidobacterium breve M-16V ช่วยเพิ่มระดับของบิฟิโดแบคทีเรียมและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

  • Bifidobacterium breve B-3 ช่วยลดปริมาณไขมันในร่างกาย ส่งผลให้การทำงานของตับดีขึ้น ค่าเอนไซม์ในตับลดลง ช่วยลดน้ำหนักตัว


นอกจากโพรไบโอติกส์แล้วยังมีสารอาหารสำคัญมากมายที่ช่วยบำรุงและรักษาสมดุลของช่องคลอด ได้แก่

  • Larch arabinogalactan extract เป็นเส้นใยที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ ช่วยเพิ่มแบคทีเรียชนิดดีให้แก่ลำไส้ ลดคอเลสเตอรอลและกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน พบได้ในสาหร่ายลาช อะราบิโนกาแล็กแทน

  • Blood orange extract เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายและป้องกันโรคเรื้อรังอย่างมะเร็ง, เบาหวาน, หัวใจ ฯลฯ พบได้ในส้มสีเลือด

  • Emblic extract หรือสารสกัดจากมะขามป้อม อุดมไปด้วย quercetin, สารประกอบ phyllaemblic, กรดแกลลิก, แทนนิน, ฟลาโวนอยด์, เพคตินและวิตามินซี ช่วยต่อต้านพิษและการอักเสบของยีน ช่วยลดสารอนุมูลอิสระที่มีผลต่อกระบวนการอักเสบ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด, ไขมันและคลอเรสเตอรอล พบได้ในมะขามป้อม

  • Camu camu extract เป็นพืชที่มีวิตามิน C สูงที่สุดในโลก มีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มความแข็งแรงของเม็ดเลือดขาว ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันช่องคลอดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดไม่ดี พบได้ในพืชคามูคามู

  • Folic acid กรดโฟลิก (โฟเลต) หรือวิตามิน M มีส่วนช่วยเสริมสร้างกระบวนการเผาผลาญโปรตีนและการสร้างเม็ดเลือดแดง อีกทั้งเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้มีสุขภาพดี และที่สำคัญยังช่วยป้องกันการแท้งบุตรและภาวะเด็กพิการแต่กำเนิด พบได้ในไข่แดง ตับ และผักใบเขียวเข้ม

  • Yeast beta-glucan เป็นสารประกอบในกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae) สำหรับทำขนมปังโดยเฉพาะ ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้พร้อมต่อการกำจัดเชื้อโรค

  • Peach fiber หรือลูกพืช เป็นผลไม้ไฟเบอร์สูงที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียมและวิตามินอีกมากมาย รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบำรุงผิวพรรณและลดความอ้วนไดัในเวลาเดียวกัน

บทความที่น่าสนใจ


ดู 198 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page