top of page
ค้นหา

ฉีดเชื้อ IUI แล้วไม่ติด!สาเหตุมาจากอะไร❓



ฉีดเชื้อ IUI แล้วไม่ติด!

สาเหตุมาจากอะไร❓



อาจมีหลายคู่ที่รักษาการมีบุตรยากด้วยวิธีฉีดเชื้อ หรือ IUI แต่ไม่สำเร็จดังหวัง บางคู่ทำ IUI มาหลายครั้งก็ยังไม่ติด สาเหตุมาจากอะไร เราไปหาคำตอบกันค่ะ


Intrauterine insemination (IUI) คือ การปฏิสนธิแบบธรรมชาติ IUI ไม่ใช่การปฏิสนธิภายนอก หรือ การทำเด็กหลอดแก้ว IUI เป็นเพียงการย่นระยะเวลาให้อสุจิเจอกับไข่เร็วขึ้น ง่าย และตรงจุดขึ้น โดยการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกเลย แล้วเจ้าอสุจิก็ต้องออกเรงหลังจากนั้นในการเข้าเจาะไข่ แล้วปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อน ฝังตัวในโพรงมดลูกและตั้งครรภ์ต่อไป


อัตราความสำเร็จจากการทำ IUI ไม่ได้สูงกว่าการตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติมากนัก ซึ่งการทำ IUI มีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 10-20% ต่อรอบการรักษาค่ะ


ดังนั้นการทำ IUI จึงต้องการปัจจัยหลัก 3 ข้อที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จ นั่นคือวัตถุดิบตั้งต้นจากฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ได้แก่ 1.ไข่ ➕ 2.สเปิร์ม และที่สำคัญคือ 3.ฝ่ายหญิงต้องมีมดลูกที่แข็งแรงพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนหลังจากเกิดการปฏิสนธิ


สาเหตุที่การทำ IUI ไม่สำเร็จก็อาจเกิดจากปัจจัยหลัก 3 ข้อนี้ไม่พร้อมและปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับมดลูกและอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง เราไปศึกษารายละเอียดกันค่ะ


1. ไข่ของฝ่ายหญิงไม่สมบูรณ์


IUI ต้องการไข่ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิง


ฝ่ายหญิงที่ท้องยากอาจมาจากไข่ไม่เจริญเติบโต และไม่ตกตามรอบเดือน IUI จึงอาจเป็นคำตอบที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ เพราะการทำ IUI จะต้องมีการฉีดกระตุ้นไข่ของฝ่ายหญิงให้เจริญเติบโตและตกตามรอบเดือน จากนั้นเมื่อกระตุ้นให้ไข่ตกแล้ว ก็จะฉีดน้ำเชื้อเข้าไปผสม จึงเป็นการเพิ่มโอกาส


ปฏิสนธิได้


อย่างไรก็ตามฝ่ายหญิงต้องมีไข่ที่มีคุณภาพด้วย การทำ IUI ไม่ได้หมายถึงการทำให้ไข่มีคุณภาพ การฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตก ไข่ที่ตกมา ไม่ได้หมายความว่าคือไข่ที่สมบูรณ์พร้อมปฏิสนธิเสมอไป


ผู้หญิงที่มีอายุมาก หรือในวัย 35 ปีขึ้นไป ในทางการแพทย์เซลล์ไข่จะมีความผิดปกติทางโครโมโซมไปแล้วถึง 50% ซึ่งเป็นสาเหตุให้ไข่ด้อยคุณภาพ ไข่แก่ ไข่ไม่มีพลังงานที่จะปฏิสนธิ จึงเป็นสาหตุของการท้องยาก หรือ ปฏิสนธิแล้วไม่แบ่งตัว ไม่ฝังตัว ดังนั้นถึงจะฉีดเชื้อเข้าไป แต่ไข่ด้อยคุณภาพ โอกาสท้องก็น้อยลงนั่นเองค่ะ


ผู้หญิงในวัย 35 จึงควรพิจารณาการรักษาในขั้นสูงกว่าโดยการทำเด็กหลอดแก้ว เพราะสามารถกระตุ้นไข่สะสมและเก็บไข่ได้หลายใบ มีโอกาสปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนหลายตัวจากการเพาะเลี้ยงในห้องแล็บ อย่างไรก็ตามก็ต้องอาศัยเซลล์ไข่ตั้งต้นที่มีคุณภาพด้วยค่ะ



แม่ๆรู้ไหม❓ เซลล์ไข่ที่สมบูรณ์โตตามเกณฑ์พร้อมรับการปฏิสนธิ คือ ต้องมีขนาด 20 mm

ดังนั้นการเตรียมตัวบำรุงไข่ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้าสู่กระบวนการ IUI หรือ ICSI ช่วยทำให้เซลล์ไข่สมบูรณ์ขึ้นได้

เพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิและตั้งครรภ์ต่อไป



.


2. อสุจิของฝ่ายชายด้อยคุณภาพ


IUI ต้องการอสุจิที่แข็งแรงจากฝ่ายชาย

ปัญหาการมีบุตรยากจากฝ่ายชาย เช่น เชื้อไม่ว่าย หรือมีจำนวนตัวอสุจิน้อย อาจแก้ปัญหาได้ด้วยการทำ IUI เพราะ IUI จะต้องมีการเก็บเชื้ออสุจิของฝ่ายชายออกมาภายนอก แล้วนำมาทำการแยกเอาอสุจิที่มีคุณภาพฉีดกลับเข้าไป


แต่การแยกเชื้ออสุจินี้เป็นการแยกในเบื้องต้น ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเหมือนการทำ ICSI หรือเด็ก


หลอดแก้ว IUI อาจแยกเพียงแค่เชื้อตัวที่ตายกับเชื้อที่ยังมีชีวิตออกจากกัน แต่เชื้อที่มีชีวิต ยังว่ายได้นั้นอาจเป็นตัวที่รูปร่างผิดปกติ หรือ DNA แตกหัก หรือ มีโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งไม่สามารถรู้ได้ด้วยการทำ IUI เมื่อฉีดเข้าไปเชื้อก็ต้องว่ายไปเจาะไข่เองตามธรรมชาติ จะเจาะได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของสเปิร์ม


ดังนั้น IUI จึงต้องการอสุจิที่มีคุณภาพ คุณผู้ชายจึงต้องดูแลร่างกายก่อนเก็บเชื้อ งดดื่ม งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนไปเก็บเชื้อ ก็จะช่วยทำให้สเปิร์มแข็งแรงได้


ทั้งนี้ IUI เหมาะกับผู้ที่สเปิร์มมีปัญหาไม่มากนัก หากเป็นหมัน หรือไม่หลั่ง หรือเชื้อไม่ว่ายเลย กรณีแบบนี้ทำ IUI ไปก็อาจไม่สำเร็จ อาจต้องใช้วิธี ICSI ค่ะ


.


3. มดลูกไม่พร้อมในการฝังตัว



IUI ต้องการมดลูกที่พร้อมในการฝังตัว

อย่างที่กล่าวข้างต้น IUI คือการปฏิสนธิตามธรรมชาติ ดังนั้นตัวอ่อนต้องมาฝังตัวที่โพรงมดลูก หากมดลูกไม่แข็งแรง อักเสบ ติดเชื้อ ไม่หนาพอ ไม่สามารถโอบอุ้มตัวอ่อนได้ การตั้งครรภ์ก็ไม่เกิดขึ้น


แม่ๆรู้ไหม❓มดลูกที่แข็งแรง เหมาะสมในการฝังตัวของตัวอ่อนต้องมีลักษณะ 4 ประการ ดังนี้

- หนา 8-10 มิล ตามเกณฑ์

- เรียงสามชั้นสวย (Triple Lines)

- ใส ไม่ทึบ ไม่มีประจำเดือนเก่าทับถมคั่งค้าง

- อุ่น เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเพียงพอ


ในการทำ IUI นั้น รอบที่ฉีดเชื้อจะมีการอัลตราซาวด์ติดตามความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกด้วย หากพบความหนาไม่เหมาะสม ก็จะช่วยแก้ไขให้ดีขึ้น โดยแพทย์อาจให้ฮอร์โมนเสริม


สำคัญที่สุดแม่ๆ ต้องบำรุง เตรียมผนังมดลูกให้แข็งแรงด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นโปรตีน เน้นอาหารฤทธิ์อุ่นที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยง


มดลูกได้ดี ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้นค่ะ



.


4. ปัญหาอื่นๆเกี่ยวกับมดลูกที่ขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน


โดยหลักแล้วแพทย์จะต้องตรวจเช็คภายในก่อนว่าแม่ๆมีโรคประตำตัวหรือโรคทางสูติฯ อะไรบ้างที่ขัดขวางการตั้งครรภ์ เช่น เนื้องอกในโพรงมดลูก ช็อกโกแลตซีสต์ ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก ท่อนำไข่บวมน้ำ ซึ่งทั้วหมดนี้เป็นสาเหตุที่ขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนทั้งสิ้น จึงควรรักษาภาวะเหล่านี้ให้หายก่อนการฉีดเชื้อเพื่อเพิ่มโอกาสให้ตัวอ่อนฝังตัวอย่างสมบูรณ์ค่ะ

.

.


อย่าลืมนะคะ การบำรุงเตรียมตัวล่วงหน้า บำรุงไข่ บำรุงสเปิร์มไปก่อนกระตุ้นไข่และเก็บเชื้อบวกกับ


การเตรียมผนังมดลูกให้แข็งแรง สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้นได้ ศึกษาวิธีการบำรุงตามนี้ บำรุงดี มีโอกาสเพิ่มมากขึ้นค่ะ ครูก้อยขอให้ทุกคู่สมหวังนะคะ



ดู 1,877 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page