รอบเดือนสั้นส่งผลการมีลูกอย่างไร มีวิธีแก้ให้เป็นปกติมั้ย
top of page
ค้นหา

รอบเดือนสั้นส่งผลการมีลูกอย่างไร มีวิธีแก้ให้เป็นปกติมั้ย

หนึ่งในคำถามคาใจคุณแม่หลายๆ คนคือการมีรอบเดือนสั้นหรือยาวเกินไป จะส่งผลต่อการมีบุตรยากมั้ย แล้วรอบเดือนที่ปกติจะต้องมีกี่วัน แต่ละรอบเดือนควรมีประจำเดือนมากี่วัน มีวิธีแก้ให้เป็นปกติมั้ย วันนี้ครูก้อยมีคำตอบค่ะ



รอบเดือนปกติมีกี่วัน


รอบเดือนในแต่ละเดือนถือว่าเป็นตัวชี้วัดสมดุลฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิง และแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของการทำงานของระบบสืบพันธุ์โดยรวมของเพศหญิง โดยทั่วไปรอบเดือนโดยปกตินั้นมี 28-35 วัน โดยนับวันที่มีประจำเดือนวันแรกเป็นวันที่ 1 และวันก่อนวันแรกของประจำเดือนรอบถัดไปเป็นวันสุดท้าย หากคุณแม่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุกเดือน แต่บางรอบมาสั้นบ้าง ยาวบ้างภายใน 28-35 วัน ก็ถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากรอบเดือนสั้นกว่า 21 วัน หรือยาวกว่า 36 วัน และมาไม่สม่ำเสมอ บางเดือนมี 21 วัน อีกเดือน 40 วัน อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของประจำเดือนผิดปกติค่ะ


แต่ละรอบเดือนควรมีประจำเดือนมากี่วัน


โดยทั่วไป 3-7 วันถือว่าปกติค่ะ หากมามากกว่านั้นและมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้องรุนแรง, มีลิ่มเลือด, สีหรือกลิ่นผิดปกติ ครูก้อยแนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดต่อไป เพราะอาจเป็นสัญญาณของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, เนื้องอกในรังไข่ หรือมะเร็งปากมดลูก


สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมีรอบเดือนสั้น หรือยาวกว่าปกติ


1. ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิง


ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งต้องพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กหาสาเหตุอย่างละเอียดว่าเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง บางทีอาจเกิดจากวัยทองก่อนวัย, รังไข่เสื่อม หรือมีโรคอย่างอื่น เช่น ไทรอยด์ เป็นต้น


2. มีภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง


หรือ PCOS เป็นภาวะที่ผู้หญิงมีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป มีอาการอ้วนลงพุง ขนดก หน้ามัน เป็นสิว ทำให้ผู้หญิงที่อยู่ในภาวะนี้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หลายเดือนมาที หรือประจำเดือนขาดหายและทำให้ไข่ไม่ตก เมื่อไข่ไม่ตกก็ไม่มีโอกาสท้องนั่นเองค่ะ


มีวิธีแก้รอบเดือนสั้นมั้ย


หากแม่ๆ ต้องการให้รอบเดือนกลับมาเป็นปกติ ครูก้อยแนะนำให้พยายามปรับฮอร์โมนให้สมดุล เพื่อส่งผลให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอและวงจรการตกไข่เป็นปกติขึ้น โดยวิธีดูแลตัวเองง่ายๆ ได้แก่


1. ปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาการ

ควรทานอาหารที่มีโภชนาการสูง โดยเน้นโปรตีนธัญพืช, ผักสด, ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ รวมถึงงดทานของหวาน, ของมัน และของทอด


2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ


ความอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไข่ไม่ตกเรื้อรังและเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน รวมถึงดูแลตัวเองไม่ให้ผอมจนเกินไปเพราะจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศไม่ปกติ


3. พักผ่อนให้เพียงพอและพยายามผ่อนคลาย


ความเครียดจะสั่งให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนความเครียดที่ชื่อว่า "คอร์ติซอล" ออกมารบกวนสมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงนั่นเองค่ะ


บทความที่น่าสนใจ



ดู 1,957 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page