ไข่ตกกันรึปล่าวอันไหนคือ ไข่ตก 1...2...หรือ 3 แม่ๆช่วยกันตอบหน่อยค่าาาาา
top of page
ค้นหา

ไข่ตกกันรึปล่าวอันไหนคือ ไข่ตก 1...2...หรือ 3 แม่ๆช่วยกันตอบหน่อยค่าาาาา


ไข่ตกกันรึปล่าว

อันไหนคือ ไข่ตก 1...2...หรือ 3 แม่ๆช่วยกันตอบหน่อยค่าาาาา



พยายามมาเป็นปี ไม่ท้องสักที อาจเป็นเพราะไข่ไม่ตก! เราจะรู้ได้อย่างไรว่าไข่ตก แม่ๆบางคนไม่เคย test ไข่ตกเลย พยายามทำการบ้านสม่ำเสมอแต่ไม่ท้องอาจเป็นเพราะไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกแต่ทำการบ้านไม่ตรงวันไข่ตกก็ได้ค่ะ


ดังนั้นการเช็ควันไข่ตกจึงเป็นเรื่องเบื้องต้นที่สำคัญที่แม่ๆวางแผนท้องต้องรู้


มานับรอบเดือน...หาวันไข่ตกกันค่ะ


#การนับวันไข่ตก: ไข่จะตกใน Day 14 ของรอบเดือน ดังนั้นนับรอบเดือนให้เป็นก่อน


#การนับรอบเดือน: วันแรกที่มีประจำเดือนคือ Day 1 นับไปจนถึงวันสุดท้ายก่อนมีประจำเดือนรอบถัดไป เช่น วันที่ 1 มี.ค. มีประจำเดือนวันแรก วันที่ 29 มี.ค. มีประจำเดือนอีกครั้ง แสดงว่ามี รอบเดือน 1-28 คือ 28 วัน


ถ้ามีรอบเดือน 28 วัน วันที่ไข่ตกคือ Day14 ของรอบเดือนค่ะ (หลักการหาวันไข่ตกคือ รอบเดือน ลบด้วย 14 เช่น ถ้ารอบเดือน 30 วัน วันไข่ตกคือ Day 16)


ให้จดรอบเดือนไว้สัก 3 รอบเดือนนะคะ จะนับวันไข่ตกแม่น รอบเดือนต้องสม่ำเสมอด้วย ซึ่งรอบเดือนที่ปกติจะอยู่ที่ 28 วัน วันไข่ตกก็จะอยู่ที่ Day 14


แต่ให้แน่นอนที่สุดคือให้ซื้อชุดตรวจไข่ตก (LH) มาเทสว่าไข่ตกตามที่เราลองคำนวณไว้รึปล่าว เทสสัก 2-3 รอบเดือน ก็จะรู้จำนวนรอบเดือนและนับวันที่ไข่ตกได้แม่นยำขึ้น


ชุดตรวจไข่ตกคืออะไร ทำงานอย่างไร


ชุดตรวจไข่ตกหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา โดยจะใช้การตรวจระดับบฮอร์โมน LH จากปัสสาวะ


ฮอร์โมน LH คืออะไร


Luteinizing Hormone (LH) หรือเรียกว่า "ฮอร์โมนไข่ตก" เป็นฮอร์โมนที่ปล่อยไข่ให้ตก พร้อมสำหรับการปฏิสนธิ เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) โดยฮอร์โมน LH จะทำหน้าที่กระตุ้นไข่ในเพศหญิงให้ตกลงมาตามรอบเดือน หากไม่มีฮอร์โมนดังกล่าวจะไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ ฮอร์โมน LH จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ ซึ่งจะมีผลทำให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอการปฏิสนธิ


ซึ่งแม่ๆสามารถเช็คฮอร์โมนตัวนี้ได้ด้วยการใช้ชุดตรวจไข่ตกจุ่มในปัสสาวะ เพื่อจะได้ทราบว่าในแต่ละเดือนเรามีไข่ตกหรือไม่ (ปกติไข่จะตกใน Day 14 ของรอบเดือน แม่ๆสามารถเช็คล่วงหน้าก่อน 3-4 วันได้ค่ะ เพราะไข่อาจไม่ได้ตกตรงเป๊ะใน Day 14 เสมอไป)


อ่านผลจากชุดตรวจไข่ตกอย่างไร


จากรูปแม่ๆจะเห็นว่า จะมีฝั่งตัว C คือ control ค่าควบคุม และ ฝั่งตัว T คือ ผลจากการ test ไข่ตก ใช้ฝั่งที่มีลูกศรชี้จุ่มลงไปในปัสสาวะประมาณ 5 วินาที จากนั้นรอผลประมาณ 3-5 นาที

ถ้ามีไข่ตก แถบ T จะเข้มเท่าแถบควมคุม (C) ดังรูปที่ 3 หากสีอ่อนกว่า ดังรูปที่ 2 วันนั้นไข่ยังไม่ตก แต่อาจอยู่ในช่วงที่ใกล้วันไข่ตก จึงตรวจพบ LH

ส่วนรูปที่ 1 แถบ T ไม่ขึ้นเลย แสดงว่าไข่ไม่ตกค่ะ


วันที่ไข่ตก แถบต้องเข้มนะคะ ถ้าอ่อนกว่า C อาจยังไม่ตก อย่างไรก็ตามเคล็ดลับการปั๊มลูกต้องปั๊มก่อนวันไข่ตกล่วงหน้า 3-4 วันเลยค่ะ แนะนำให้แม่ๆตรวจไข่ตกล่วงหน้าด้วย อย่ารอตรวจ Day 14 เท่านั้น เพราะมันอาจคลาดเคลื่อนได้


ถ้าตรวจพบขีดสีอ่อนตามรูปที่ 2 ก็ปฏิบัติภารกิจได้เลยค่ะ เพราะอสุจิของสามีสามารถมีชีวิตในช่องคลอดของฝ่ายหญิงได้นานถึง 3 วัน ดังนั้นทำรอไปก่อนเมื่อไข่ตกปุ๊บก็มีโอกาสเจอเจ้าอสุจิรออยู่แล้วนะคะ


หากตรวจเจอไข่ตก..ต้องรีบทำการบ้านภายใน 24 ชม. เพราะไข่หลังตกลงมาแล้วเค้าจะอยู่ได้แค่ 12-24 ชม.เท่านั้นจากนั้นจะสลายไป นี่แหละคือเหตุผลที่ต้องรู้รอบเดือน รู้วันไข่ตก จะได้กำหนดวันทำการบ้านล่วงหน้า ทำต่อมาจนถึงวันไข่ตก และปิดท้ายหลังวันไข่ตกด้วยนะคะ เพื่อความชัวร์


ตรวจไม่เจอไข่ตกเลย เป็นเพราะสาเหตุใด


สาเหตุหลักที่ไข่ไม่ตกเพราะฮอร์โมนไม่สมดุลค่ะ แม่ๆที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ปจด.ขาดหาย หรือรอบยาว ส่วนใหญ่อยู่ในภาวะ PCOS (ถุงน้ำหลายใบในรังไข่) เป็นภาวะที่ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นกันมาก และต้องประสบกับปัญหามีบุตรยากเพราะภาวะนี้ส่งผลให้ฮอร์โมยผิดเพี้ยน ฮอร์โมนเพศชายสูง ไข่ไม่ตกเรื้อรัง!


สมดุลฮอร์โมนสามารถปรับได้ด้วยหลักโภชนาการ การทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ งดของหวาน ของมัน ของทอด เน้นทานอาหารเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงเลือด


น้ำมะกรูด มี "ไบโอฟลาโวนอยด์" สูง ช่วยให้เลือดสูบฉีดไหลเวียนดีมาก และมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า "เควอซิทีน" สูง


จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Ovarian Research ปี 2020 ได้ศึกษาประโยชน์ของสารเควอซิทีนต่อผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS


พบว่า..."เควอซิทีน"ช่วยลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย


และช่วยเสริมการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และ เอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญในการสืบพันธุ์ รอบเดือน ไข่ตก และการตั้งครรภ์ ช่วยให้ฮอร์โมนเพศหญิงสมดุลขึ้น



ดู 183 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page