top of page
ค้นหา

ไข่จ๋า...อยู่ไหน? ทำไม ไข่ไม่ตก!



??ไข่จ๋า...อยู่ไหน?

ทำไม ไข่ไม่ตก!


พยายามปั๊มเบบี๋กันมาเป็นปี แต่ไม่ท้องสักที เคยเช็ควันไข่ตกกันมั้ยคะแม่ๆ บางคู่ไม่เคยเช็คเลย แถมยังไม่รู้ว่าไข่ตกช่วงไหน ทำการบ้านเสียเปล่าไปทุกรอบ บางคู่เช็คทุกเดือนแต่ก็เทสไม่เจอไข่ตกเลย..โอกาสท้องก็ริบหรี่ค่ะ

แม่ๆรู้ไหม? ภาวะตกไข่ผิดปกติพบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงได้บ่อย โดยพบได้มากถึง 40% ของผู้หญิงที่มีภาวะมีบุตรยาก!


🤰การตั้งครรภ์นั้นเกิดจากอสุจิเข้าเจาะไข่ที่ตกลงมาในแต่ละรอบเดือนแล้วเกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อน ฝังตัวในโพรงมดลูกเติบโตเป็นทารกน้อยๆในครรภ์ต่อไป


🗓การนับไข่ตกนั้นให้แม่ๆ นับรอบเดือนของตัวเองให้เป็นก่อนว่าเป็นคนมีรอบเดือนกี่วัน ซึ่งรอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคนจะสั้น-ยาวไม่เท่ากันค่ะ โดยปกติรอบเดือนจะอยู่ที่ 28 วัน ให้นับวันที่ประจำเดือนมาครั้งแรกเป็นวันที่ 1 และวันสุดท้ายคือวันก่อนที่มีประจำเดือน


รอบถัดไป


เช่น ประจำเดือนมาวันแรกวันที่ 1 มีนาคม และ มาอีกครั้งในวันที่ 29 มีนาคม แสดงว่า มีรอบเดือน ตั้งแต่วันที่ 1-28 มีนาคม คือ 28 วัน


#ทีนี้มาดูกันต่อว่าไข่ตกวันไหนของรอบเดือน❓


โดยปกติไข่จะตกในวันที่ 14 ของรอบเดือน ดังนั้นหากคุณมีรอบเดือน 28 วัน ไข่ก็จะตกในวันที่ 14 ของรอบเดือน (คิดง่ายๆคือให้เอาจำนวนรอบเดือน - 14 ก็จะได้วันไข่ตกค่ะ)


เช่น ถ้ามีรอบเดือน 30 วัน ไข่จะตกในวันที่ 16 ของรอบเดือน

ถ้ามีรอบเดือน 21 วัน ไข่จะตกในวันที่ 7 ของรอบเดือนค่ะ


อย่างไรก็ตามรอบเดือนที่สั้นหรือยาวกว่าปกติ ไข่ที่ตกลงมาอาจไม่มีคุณภาพเท่ารอบปกตินะคะ และการนับวันไข่ตกนี้จะแม่นยำก็ต่อเมื่อคุณมีรอบเดือนที่สม่ำเสมอค่ะ


แม่ๆสารมาถเช็คให้ชัวร์ด้วยการเช็คจากปัสสาวะโดย


ใช้แถบวัดฮอร์โมนไข่ตก หรือ LH หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปค่ะ


🎯เมื่อรู้วันไข่ตกแล้วก็จะได้สะกิดสามีให้ทำการบ้านถูกวันค่ะ มีเคล็ดลับที่ควรรู้ คือ อสุจิของคุณสามีสามารถมีชีวิตอยู่ในช่องคลอดของฝ่ายหญิงได้ถึง 3-5 วัน แต่ไข่เมื่อตกลงมาแล้วจะอยู่ได้แค่ 12-24 ชั่วโมงเท่านั้นค่ะ ดังนั้นเมื่อนับวันไข่ตกเป็นแล้ว ควรเรียกให้สามีทำการบ้านล่วงหน้ารอก่อนไว้ได้เลยค่ะ เมื่อไข่ตกปุ๊บ อสุจิที่รออยู่แล้วก็สามารถว่ายเข้าเจาะไข่ได้ปั๊บค่ะ



ดังนั้นหากไข่ไม่ตกลงมา เจ้าอสุจิก็ไปรอเก้อนั่นเองค่ะ แล้วมีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้ไข่ไม่ตก ครูก้อยรวบรวมมาให้แล้ว ไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ


1. ท่อนำไข่อุดตัน

ประเด็นนี้คือ ไข่อาจจะตกปกตินะคะ แต่สะพานรักถูกปิดตาย เจ้าสเปิร์มจึงมาเจอกับไข่ไม่ได้ โดยปกติไข่จะตกลงมาที่ท่อนำไข่นั่นเองค่ะ เมื่อ


ทำการบ้านสเปิร์มก็จะว่ายมาเจอไข่ตรงจุดนี้ หากท่อนำไข่อุดตันก็หมดสิทธิ์ท้องธรรมชาติค่ะ แต่ยังสามารถท้องได้ด้วยการทำเด็กหลอดแก้วนะคะ เพราะเป็นการเก็บไข่มาปฏิสนธิภายนอก


.


2.ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome (PCOS)


คือ ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ผู้ป่วยมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล เกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง รังไข่จึงมีขนาดโตขึ้น และอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไข่ไม่ตกเรื้อรัง สิวขึ้น ขนดก หรือมีบุตรยาก โดยมักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นหลัก


.


3.น้ำหนักน้อยหรือมากเกินไป



การที่มีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไปเป็นสาเหตุของภาวะไข่ไม่ตก ความอ้วนมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตจากไขมัน เมื่อไขมันมากเกินไป การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการตกไข่ในเพศหญิงอาจเกิดความผิดปกติ #ส่งผลให้ไม่มีการตกไข่ #ประจำเดือนมาน้อยแบบกะปริดกะปรอย #ประจำเดือนขาดหายไป


โดยทางการแพทย์จะวัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI)เพื่อประเมินภาวะโรคอ้วน หากมีค่า BMI อยู่ในช่วง 20-22 ยังถือว่าปกติ หากอยู่ในช่วง 25-30 ถือว่าอ้วนแล้วค่ะ


กรณีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปก็เช่นกันจะส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยเกินไป การเพิ่มน้ำหนักตัวหรือลดการออกกำลังกายลงก็เพียงพอต่อการให้มีการตกไข่กลับมาเป็นปกติ หากมีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนัก 10% จากเดิมก็สามารถช่วยให้มีการตกไข่กลับมาเป็นปกติได้ค่ะ


.


4. ภาวะระดับโปรแลคตินสูง



👉ภาวะระดับโปรแลคตินสูง (Hyperprolactinemia) คือ ภาวะที่พบความผิดปกติของระดับโปรแลคตินในเลือด (ค่าปกติ น้อยกว่า 25 mcg/L ในผู้หญิง และ 20 mcg/L ในผู้ชาย) สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ


👉โปรแลคติน (Prolactin)เป็นฮอร์โมนผลิตออกมาจากสมองส่วนหน้าเช่นเดียวกับ FSH และ LH มีหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารก ระดับโปรแลคตินจะสูงในสตรีขณะตั้งครรภ์และขณะให้นมบุตรมันมีอำนาจยับยั้งการหลั่งของ FSH และ LH เมื่อ FSH และ LH ลดลง การกระตุ้นการทำงานของรังไข่ก็ลดลง ทำให้การผลิตฮอร์โมนจากรังไข่ลดลง และไม่ตกไข่


👉ภาวะโปรแลคตินสูงในสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ และไม่ได้ให้นมบุตร จะมีผลกระทบต่อการทำงานของรังไข่ด้วย มีความรุนแรงต่างกันแล้วแต่ระดับของฮอร์โมนที่ผิดปกติและปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายตั้งแต่มีการตกไข่ปกติ, มีการตกไข่แต่ระดับโปรเจสเตอโรนต่ำ, การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ตกไข่เลย ทำให้บางครั้งประจำเดือนไม่สม่ำเสมอหรือขาดประจำเดือน


.



5. ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนเวลาอันควร


👉รังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร เป็นกลุ่มอาการที่รังไข่หยุดทำงานก่อนอายุ 40 ปี โดยจะมีอาการซึ่งประกอบด้วย การขาดประจำเดือน การมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ในระดับต่ำ และมีฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน (gonadotropin) อยู่ในระดับที่พบในสตรีวัยหมดระดู ทำให้ไข่ไม่ตกหรือการตกไข่ผิดปกติ


👉พบภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร ประมาณ 1% ในสตรีที่อายุน้อยกว่า 40 ปี, 0.1% ในสตรีที่อายุน้อยกว่า 30 ปี และ 0.01% ในสตรีที่อายุน้อยกว่า 20 ปี


.


6. ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน


👉ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Overactive thyroid หรือ Hyperthyroidism) คือภาวะความผิดปกติของฮอร์โมนที่มีมากเกินไป ทำให้ร่างกายมีกระบวนการเผาผลาญที่มากขึ้น และทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้น เช่น ตื่นเต้นและวิตกกังวล อยู่ไม่สุข น้ำหนักลด และต่อม


ไทรอยด์บวมโต


👉ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินมากกว่าผู้ชาย 10 เท่า ส่วนมากผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการครั้งแรกในอายุระหว่าง 20-40 ปี แต่ก็อาจพบได้ในทุกช่วงอายุ


👉อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน คือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือ ประจำเดือนขาด ส่งผลให้ไข่ไม่ตกทำให้มีบุตรยาก


.


7.ความเครียด นอนดึก


ความเครียดนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจแล้ว ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีลูกยากอีกด้วย เพราะฮอร์โมนจากความเครียดจะไปมีผลต่อสมองส่วนไฮโปธาลามัสซึ่งควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ทำให้การพัฒนาฟองไข่ในรังไข่ไม่ปกติ ไข่เจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดภาวะไม่ตกไข่ อีกทั้งยังทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวที่มดลูกได้ยากขึ้น


ส่วนการนอนดึก หรือ นอนไม่เพียงพอก็เป็นสาเหตุมา


จากความเครียดเช่นกัน การนอนไม่เพียงพอในระยะยาวส่งผลโดยตรงต่อการสร้าง Luteinizing Hormone (LH) ผิดปกติ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ มีผลทำให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอการปฏิสนธิ LH เป็นฮอร์โมนหนึ่งที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่มีการตกไข่ของรอบเดือนนั้นๆ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติก็จะส่งผลต่อรอบเดือนที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ


.


8.การออกกำลังกายอย่างหนัก/หักโหมเกินไป


การที่ผู้หญิงออกกำลังกายหนักๆ หักโหมนั้น ส่งผลต่อการมีลูกยาก เพราะทำให้หลายๆ ระบบในร่างกายเสียสมดุล เช่น กล้ามเนื้อ ระบบสมองหรือต่อมใต้สมอง มีผลต่อระบบฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอร์โรน ทำให้รังไข่ทำงานผิดปกติ การตกไข่ผิดปกติ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนขาดหายไปได้


🗓อย่างไรก็ตามมีกรณีที่ ""ไข่ตก แต่ "ตกช้า" ไม่เป็นไปตามรอบเดือน การตกไข่ที่ช้ากว่าปกติก็ไม่ได้ให้ไข่ที่มีคุณภาพดีเท่าไรนักและการตกไข่ที่ไม่ปกติยังบอกถึงฮอร์โมนในร่างกายผู้หญิงที่อาจจะทำงานได้ไม่ปกติ


เท่าไรนัก การที่ฮอร์โมนไม่ปกติบางครั้งอาจทำให้เกิดปัญหา ดังต่อไปนี้

🔸️ขาดมูกไข่ตก (Fertile cervical mucus)

🔸️ผนังมดลูกบาง หรือหนาเกินไป (ตำแหน่งที่ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะมาฝังตัว)

🔸️ระดับฮอร์โมนโปรเจนเตอโรนต่ำผิดปกติ

🔸️ระยะ Luteal phase สั้นลง (ระยะหลังไข่ตกที่ผนังมดลูกจะฟอร์มตัวหนาขึ้นเพื่อรับการฝังตัวของตัวอ่อน)


.

.


จะเห็นได้ว่าวาเหตุโดยรวมของภาวะไม่ตกไข่คือการที่ร่างกายมีฮอร์โมนไม่สมดุลนั่นเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การหันมาออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก รับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการและการทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด สิ่งเหล่านี้ส่งผลเกี่ยวข้องกับสมดุลฮอร์โมนทั้งสิ้น ดังนั้นเริ่มที่ตัวเราง่ายๆนะคะ ปรับพฤติกรรม ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะช่วยปรับฮอร์โมนให้กลับมาปกติได้ค่ะ




ดู 48 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page