top of page
ค้นหา

ไขข้อข้องใจ ประจำเดือนก็มาปกติ แต่ทำไมไม่ท้องสักที?




ไขข้อข้องใจ ประจำเดือนก็มาปกติ แต่ทำไมไม่ท้องสักที? มีแม่ๆ ถามครูก้อยเข้ามาว่าเมนส์มาปกติเลยค่ะ ไม่มีอาการปวดท้อง แต่ทำไมน้องไม่มา?


ก่อนอื่นแม่ๆ ต้องทำความเข้าใจก่อนนะคะว่าการตั้งครรภ์ไม่ได้มีปัจจัยเดียวแค่เรื่องประจำเดือนค่ะ มันยังมีปัจจัยอื่นด้วย ซึ่งถ้าเราไม่เคยไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เราจะไม่รู้เลยว่าเรามีภาวะนี้ หรือปัญหานี้อยู่ ซึ่งมันอาจไม่ส่งผลกระทบต่อประจำเดือน จึงไม่มีสัญญาณเตือนนั่นเองค่ะ ครูก้อยมาไขข้อข้องใจให้ค่ะว่าเหตุใดปจด.มาปกติ แต่ไม่ท้อง!


.


(1) แม่อาจมีภาวะ PCOS


PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) หรือกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่

คือ ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้สตรีที่อยู่ในภาวะนี้มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล เกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือทั้งสอง


ข้าง รังไข่จึงมีขนาดโตขึ้น และอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ำไข่ไม่ตก ส่งผลให้มีบุตรยาก


แต่! ในสตรีบางรายไม่พบอาการผิดปกติเรื่องประจำเดือนก็มีภาวะนี้ได้ค่ะ ดังนั้นหากมีภาวะ PCOS แต่ประจำเดือนก็มาปกติ แต่ไข่ไม่ตก พยายามมีเบบี๋เท่าไหร่ก็ยังไม่ท้องยังไงล่ค่ะ


คำแนะนำคือแม่ๆควรไปพบแพทย์เพื่ออัลตร้าซาวด์ดูรังไข่ คนที่มีภาวะ PCOS อัลตร้าซาวด์พบถุงหุ้มไข่ (follicles) กระจุกตัวจำนวนมาก


การวินิจฉัยข้อนี้มักจะเข้าใจสับสนกับ ซีสต์ในรังไข่ ผู้หญิงจำนวนมากที่อัลตร้าซาวด์พบซีสต์ในรังไข่ แต่ไม่ได้มีภาวะ PCOS ซึ่งซีสต์ที่ไม่ใช PCOS นี้โดยปกติจะเป็นก้อนซีสต์ที่มีของเหลวอยู่ข้างไหนและอาจฝ่อสลายไปได้เอง


แต่ PCOS นั้นจริงๆแล้วมันไม่ใช่ซีสต์ แต่มันคือถุงหุ้มเซลล์ไข่ หรือที่เรียกว่า follicles ที่ไม่


เจริญเติบโตและกระจุกตัวกันอยู่ในรังไข่


อธิบายดังนี้ โดยธรรมชาติแล้วรังไข่จะผลิตเซลล์ไข่ ซึ่งเซลล์ไข่จะถูกห่อหุ้มด้วย follicle เมื่อไข่เจริญเติบโตพร้อมตกในแต่ละรอบเดือน follicle ก็จะปริออก และปล่อยเซลล์ไข่ตกลงมา


แต่ในกรณีผู้หญิงที่อยู่ในภาวะ PCOS การมีฮอร์โมนเพศชายที่มากเกินไปส่งผลให้ follicles ไม่เจริญเติบโต เซลล์ไข่หยุดการเจริญเติบโตและกระจุกตัวรวมกันอยู่ที่รังไข่นั่นเองค่ะ


ในการอัลตร้าซาวด์จะเห็นฟองไข่เรียงกันเป็นฟองเล็กๆคล้ายๆกับสร้อยมุก


เกณฑ์ประเมินในข้อนี้คือ เมื่ออัลตร้าซาวด์ตรวจดูแล้วพบถุงหุ้มไข่กระจุกตัวรวมกันมากกว่า 12 ใบ และรังไข่มีขนาดใหญ่ประมาณ 10 ซม. หรือมากกว่านั้น


และยังสามารถทำได้ด้วยการเจาะเลือดเช็ค


ฮอร์โมนเพศชายข้างต้นว่ามีระดับสูงผิดปกติหรือไม่ อีกตัวหนึ่งคือฮอร์โมน LH เป็นฮอร์โมนไข่ตก เมื่อมีภาวะนี้ไข่จะไม่ตกร่างกายจึงผลิตฮอร์โมน LH ออกมาเพื่อจะดันให้ไข่ตก ดังนั้นสตรีมีภาวะ PCOS จะมีฮอร์โมน LH สูงผิดปกตินั่นเองค่ะ


.


(2) แม่อาจมีช็อกโกแลตซีสต์


ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกและประจำเดือนไหลย้อนกลับไปสะสมในรังไข่ มีลักษณะเป็นถุงน้ำรังไข่ที่บรรจุของเหลวคล้ายช็อกโกแลต ซึ่งถุงน้ำจะใหญ่ขึ้น ๆ จากการถูกเติมเต็มในรอบเดือนแต่ละเดือน จะใหญ่เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและทำให้เกิดพังผืดหนาขึ้นเรื่อยๆ


ซึ่งอาจมีอาการตั้งแต่ปวดท้องประจำเดือนรุนแรง หรือประจำเดือนมามากผิดปกติ

แต่บางรายอาจไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมาเลยค่ะ

โรคนี้เป็นสาเหตุของการมีบุตรยากเนื่องจากท่อนำไข่


ตีบตัน ทำให้ไข่ไม่สามารถเดินทางได้สะดวก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งผลพวงที่มีสาเหตุมาจากช็อกโกแลตซีสต์ เพราะเมื่อเยื่อบุนี้ไปเกาะอยู่บนรังไข่ ทำให้รังไข่มีพื้นในการผลิตไข่ และสร้างฮอร์โมนน้อยลง เพราะถูกแทนที่ด้วยช็อกโกแลตซีสต์ไข่ที่ผลิตได้ก็ด้อยคุณภาพ และยังทำให้ท่อรังไข่คดงอ ไข่กับอสุจิที่ผสมกันแล้วจึงผ่านมาฝังตัวได้อย่างไม่สมบูรณ์


.


(3) แม่มีปัญหาเรื่องมดลูก


ประจำเดือนแม่ๆ อาจจะมาปกติ อสุจิคุณสามีแข็งแรง ไข่ตกปกติ ทำการบ้านถูกวัน เกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน แล้วตัวอ่อนก็จะเคลื่อนตัวมาฝังตัวที่โพรงมดลูกค่ะ


ปัญหาก็คือมดลูกไม่พร้อมให้ตัวอ่อนฝังตัว แม่จึงไม่ท้องสักที!


มดลูกก็เปรียบเสมือน "บ้านหลังแรกของลูก" นั่นเองค่ะ


ดังนั้นเราต้องเตรียมบ้านที่สะอาด ปลอดโปร่ง เลือดไหลเวียนดี ผนังหนาแข็งแรง จึงจะเป็นที่ที่ปลอดภัยกับลูกน้อยยังไงล่ะคะ มดลูกที่สมบูรณ์พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนต้องมีลักษณะดังนี้


🔸️หนาตามเกณฑ์ 8-10 มิล

🔸️ใส เป็นวุ้น ไม่หนาทึบ

🔸️เรียง 3 ชั้นสวย (Triple lines)

🔸️มดลูกที่อุ่น มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเพียงพอ

🔸️ปราศจากสารพิษและฮอร์โมนตกค้าง


มดลูกที่หนาทึบเพราะมีประจำเดือนเก่าคั่งค้าง ทับถม เป็นมดลูกที่สกปรก เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้ไม่เพียงพอ ลองนึกถึงภาพของแอร์ที่ไม่ได้ล้างสิคะ สกปรก ฝุ่นทับถม อากาศที่ออกมาก็ไม่บริสุทธิ์ มดลูกก็เช่นกัน ต้องดีท็อกซ์ขับเลือดเก่า หรือ สารพิษจากการใช้ฮอร์โมนต่างๆออกมา เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้เลือด เลือดไหลเวียนนำพาสารอาหารไปเลี้ยงมดลูกได้เพียงพอ


ต้องทานอาหารที่ให้โปรตีนสูงเพื่อเสริมผนังมเลูกให้หนาตัวและทานอาหารที่มีฤทธิ์อุ่นที่ช่วยให้เลือด


ไฟลเวียนนำพาสารอาหารไปเลี้ยงมดลูกได้อย่างเพียงพอ ลดการอักเสบติดเชื้อ หากแม่ๆ ดูแลมดลูกดีก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสฝังตัว ติดลูกง่ายขึ้นค่ะ


.


(4) แม่อายุมาก ถึงปจด.จะมาปกติ แต่เซลล์ไข่เค้าเสื่อมคุณภาพลงเรื่อยๆ


เหตุผลก็เป็นเพราะในทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกายของผู้หญิงนั้น เมื่ออายุยิ่งมากขึ้น จำนวนเซลล์ไข่ก็จะลดลง จนลดลงต่ำสุดเมื่อเข้าสู่ภาวะวัยทอง เป็นเรื่องธรรมชาติที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นควบคู่ไปกับจำนวนที่น้อยลงคุณภาพของเซลล์ไข่ที่มีอยู่ก็จะถดถอย ด้อยคุณภาพลงไปเรื่อยๆ ด้วย และอาจมีความผิดปกติของโครโมโซมของเซลล์ไข่เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นอีกด้วยค่ะ


จากสถิติของโอกาสในการตั้งครรภ์ของแต่ละช่วงอายุมีดังนี้ค่ะ


🔹️อายุ 20 ปี จะมีอัตราการตั้งท้อง 25%

🔹️อายุ 30 ปี จะมีอัตราการตั้งท้อง 20%


🔹️อายุ 35 ปี จะมีอัตราการตั้งท้อง 15%

🔹️อายุ 40 ปี จะมีอัตราการตั้งท้อง 5%


จากสถิติข้างต้นนั่นก็เป็นเพราะยิ่งอายุมาก คุณภาพของไข่ (Egg Quality) ก็ลดลงด้วย โดยเมื่อพูดถึงคุณภาพของไข่ ในทางการแพทย์จะมีการเชื่อมโยงถึง "ความปกติทางโครโมโซมของไข่" โดยไข่ที่โครโมโซมปกติ เรียกว่า "euploid" ส่วนไข่ที่มีโครโมโซมปกติเรียกว่า "aneuploid"


โดยไข่ที่มีโครโมโซมปกติ (Chromosomally normal egg) จะมีโครโมโซม 23 แท่ง เมื่อมีการปฏิสนธิจากอสุจิของฝ่ายชายที่มีโครโมโซมปกติอีก 23 แท่ง ตัวอ่อนที่สมบูรณ์ก็จะมีโครโมโซมรวม 46 แท่ง


ความสัมพันธ์ของอายุกับคุณภาพของไข่ก็คือ...

เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะมีไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติ (aneuploid) เพิ่มขึ้น ไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติคือมีจำนวนโครโมโซมมาก หรือ น้อยกว่า 23 แท่ง หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นจากไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติอาจจะส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว (embryo fails to implant in the uterus) แท้งในระยะเริ่มแรก (miscarriage)

หรือทารกเป็นดาวน์ซินโดรม


👉 สถิติความปกติของโครโซมของเซลล์ไข่ในแต่ละช่วงอายุ


🔹️อายุ 25 โครโมโซมปกติ 75%

🔹️อายุ 35 โครโมโซมปกติ 50%

🔹️อายุ 40 โครโมโซมปกติ 10-15%


เป็นไงคะแม่ๆ ได้รู้รายละเอียดกันชัดเจนแล้ว อายุคงไม่ใช่แค่เพียงตัวเลขแล้วแน่ๆ หากพร้อมที่จะมีบุตรแล้วก็ไม่ต้องรอให้อายุมากนะคะ จูงมือกันไปหาคุณหมอ ตรวจสุขภาพให้เรียบร้อย ทานอาหารบำรุงร่างกาย เจ้าตัวน้อยก็จะมาในเร็ววันค่ะ


แต่สำหรับคนที่อายุเยอะแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าหมดโอกาสนะคะ เพราะตราบใดที่เรายังมีไข่ เราก็มีโอกาสท้องค่ะ ถึงจะโอกาสน้อยลงแต่การบำรุงไข่ด้วยการทานอาหารที่มีโภชนาการสูง การดูแลร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้แม่ๆได้ค่ะ


.


(5) สเปิร์มคุณสามีด้อยคุณภาพ


แม่ๆ อาจปกติดีทุกอย่างแต่ไม่เคยรู้เลยว่าที่ไม่ท้องเพ


ราะสเปิร์มคุณสามีด้อยคุณภาพ!


ปัญหาการมีบุตรยากสาเหตุมาจากฝ่ายชายถึง 40% ดังนั้นหากคู่ของเราทำยังไงก็ไม่ท้องสักที อย่าโทษฝ่ายหญิงฝ่ายเดียวค่ะ เพราะการตั้งครรภ์ต้องการสเปิร์มจากคุณสามีด้วย หากสเปิร์มด้อยคุณภาพ โอกาสที่จะเข้าปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ก็ต่ำลง โอกาสท้องก็ต่ำลงเช่นกันค่ะ


ดังนั้นหากคู่ของคุณกำลังประสบปัญหามีบุตรยาก ควรจะจูงมือคุณสามีไปตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ (Semen Analysis) ด้วยนะคะ โดยเกณฑ์การวัดคุณภาพของอสุจิมีดังนี้


(1) ปริมาตรของน้ำเชื้อที่หลั่ง ต้องหลั่งได้ไม่น้อยกว่า 1.5 cc. ต่อการหลั่ง 1 ครั้ง


(2) จำนวนสเปิร์ม ต่อการหลั่ง 1 ครั้ง ต้องไม่น้อยกว่า 15 ล้านตัวต่อ 1 cc.


(3) อัตราการเคลื่อนไหวของสเปิร์ม ต้องมีเปอร์เซ็นการเคลื่อนไหวไม่ต่ำกว่า 40%



(4) รูปร่างของสเปิร์ม ต้องมีรูปร่างสมบูรณ์ ปกติไม่น้อยกว่า 4 %


ดังนั้นหากในการทำการบ้านแต่ละครั้ง ถึงแม้ว่าคุณสามีจะหลั่งมากก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าในน้ำอสุจิที่หลั่งออกมานั้นจะมีจำนวนตัวสเปิร์ม

อยู่มาก หรือ ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนตัวสเปิร์มมากถึงเกณฑ์ แต่ออกมาแล้วนอนนิ่งไม่ว่ายไปหาไข่ แบบนี้แพทย์จะเรียกว่า "เชื้อตาย"ค่ะ ถึงแม้มีมากแต่เชื้อตาย...โอกาสท้องก็ลดลงนั่นเองค่ะ



👉แล้วจะทำอย่างไรให้สเปิร์มแข็งแรง?


จากงานวิจัยหลายฉบับพบว่า การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการพักผ่อนที่เพียงพอ การลดพฤติกรรมทำลายสเปิร์ม เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้สเปิร์มมีคุณภาพดีขึ้น


โดยเฉพาะการรับประทานอาหารนั้นสำคัญมาก

มีงานวิจัยศึกษาพบว่า.....มีอาหารที่มีสรรพคุณในการช่วยปรับปรุงคุณภาพสเปิร์ม ช่วยเพิ่มจำนวนตัว การ


เคลื่อนไหว และ ปรับปรุงรูปร่างสเปิร์มให้สมบูรณ์ขึ้น ได้แก่ สารต้านอนุมูลอิสระเซซามีน จากงาดำ

เบต้าแคโรทีน จากแครอท ไลโคปีน จากมะเขือเทศ

ฟีลกูลีน จากน้ำอินทผลัม สารต้านอนุมูลอิสระฟีนอลิคในน้ำผึ้งชันโรง หรือ รากปลาไหลเผือก การทานแร่ธาตุ Zinc ซึ่งมีมากในเมล็ดฟักทอง เป็นต้น


.

.


การมีบุตรยากมีสาหตุมาจากหลายปัจจัย ดังนั้นนอกจากดูแลบำรุงร่างกายของตัวเองให้สมบูรณ์แข็งแรงแล้วควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็คให้ละเอียด เพื่อจะได้ทราบทุกปัญหาและหาวิธีการรักษาที่ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ค่ะ


ดู 5,146 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page