โรคอะไร มีลูก ไม่ได้ มีโรคไหนบ้าง คนอยากมีลูกต้องรู้
top of page
ค้นหา

โรคอะไร มีลูก ไม่ได้ มีโรคไหนบ้าง คนอยากมีลูกต้องรู้



โรคอะไรมีลูกไม่ได้ หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าโรคที่ทำให้มีลูกไม่ได้มีอยู่จริงหรือไม่ ซึ่งจากที่ครูก้อยได้ลองศึกษาหาข้อมูลมา ภาวะโรคที่ทำให้ไม่สามารถมีลูกได้นั้นยังไม่มีนะคะ เพียงแต่มีภาวะทางร่างกายต่าง ๆ ที่ถ้าหากฝ่ายหญิงหรือชาย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย มีภาวะทางร่างกายเหล่านี้อยู่ ก็จะทำให้เกิดภาวะมีลูกยากได้นั่นเองค่ะ


โรคอะไร มีลูก ไม่ได้ ไขข้อสงสัยทำไมบางคนจึงมีภาวะมีบุตรยาก


จากที่กล่าวไปค่ะว่า ในปัจจุบันนั้นหากจะกล่าวถึงตัวโรคที่มีลักษณะอาการที่ทำให้ผู้ป่วยนั้น ๆ ไม่สามารถมีลูกได้จากตัวโรคเอง ยังไม่มีให้พบค่ะ แต่ถ้าหากจะกล่าวถึงว่า ทำไมบางคนอยากมีลูก ก็มีทันใจและสมหวังได้อย่างรวดเร็ว แต่กับบางคนจะพยายามแค่ไหนก็ไม่มีสักทีนั้น ครูก้อยสามารถตอบได้ทันทีค่ะว่าปัญหาเช่นนี้เกิดจาก "ภาวะมีบุตรยาก"


"ภาวะมีบุตรยาก" คืออะไร มีลักษณะอาการอย่างไรบ้าง?


หากครูก้อยจะอธิบายให้ตรง ๆ ตัวเลยก็คือ ภาวะนี้คือการที่คู่สามี-ภรรยาไม่สามารถปฏิสนธิหรือมีลูกได้ สาเหตุอาจเกิดจากฝ่ายชาย (ประมาณ 25%) หรือฝ่ายหญิง (40%) หรือเกิดจากทั้งสองฝ่าย (20%) และภาวะการมีบุตรยากนี้ยังรวมไปถึงผู้หญิงที่มีอาการแท้งบุตรตามธรรมชาติ ผู้ชายที่มีภาวะเป็นหมันก็เช่นกัน

ดังนั้นหากต้องการมีบุตรจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง


ภาวะมีบุตรยากมีกี่ชนิด?


สามารถแบ่งภาวะมีบุตรยากได้เป็น 2 ประเภท คือ

ภาวะมีบุตรยาก ชนิดปฐมภูมิ (Primary Infertility)


คือคู่สมคสที่มีบุตรยากโดยยังไม่เคยมีบุตรมาก่อน


ชนิดทุติยภูมิ (Secondary Infertility)


คือคู่สมควรที่เคยมีบุตรมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก


สาเหตุของฝ่ายชาย การสร้างอสุจิผิดปกติ


สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชายสามารถแบ่งออกได้หลายปัจจัยด้วยกันค่ะ เช่น

  • ลูกอัณฑะฝ่อ

  • ลูกอัณฑะไม่ลงมาในถุงอัณฑะ

  • โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ

  • การอุดตันของท่อน้ำเชื้อ

  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  • ความพิการแต่กำเนิด

  • การทำหมัน

  • ความร้อน ความเครียด หรือปัจจัยอื่น ๆ

การตรวจหาสาเหตุสำหรับฝ่ายชาย


การตรวจหาสาเหตุ สำหรับฝ่ายชาย จะมีการตรวจร่างกายทั่วไป, การตรวจเลือด, การตรวจเชื้ออสุจิเพื่อทราบจำนวนการเคลื่อนไหว และรูปร่างของตัวอสุจิ ลักษณะต่าง ๆ ของอสุจิ,จำนวนของอสุจิ เป็นต้น


สาเหตุของฝ่ายหญิง


สาเหตุของการมีบุตรยากในฝ่ายหญิงก็จะใกล้เคียงกับฝ่ายชายเช่นกันค่ะ เช่น

  • ความผิดปกติของการเจริญของไข่และการตกไข่

  • ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง

  • ความผิดปกติของรังไข่ เช่น ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง

  • ภาวะรังไข่ล้มเหลวจากการติดเชื้อ รังสี การผ่าตัดหรือ อายุ

  • โรคทางต่อมไร้ท่ออื่น ๆ

  • ความผิดปกติในอุ้งเชิงกรานรวมทั้งท่อนำไข่

  • ท่อนำไข่อุดตันจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การทำหมัน การผ่าตัด


การตรวจหาสาเหตุสำหรับฝ่ายหญิง


ขณะที่ฝ่ายหญิง จำเป็นต้องตรวจร่างกายทั่วไป, การตรวจเลือด, การตรวจภายใน,การตรวจมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด จะช่วยบอกความผิดปกติ เช่น เนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เป็นต้นค่ะ


ในกรณีที่มีปัญหามีบุตรยากทั้ง 2 ฝ่าย


เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ทั้งนี้จึงควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาสาเหตุของทั้งสองฝ่าย โดยแพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุ หากเป็นฝ่ายชายส่วนมากก็จะซักประวัติส่วนตัวและตรวจเชื้ออสุจิ เพราะฉะนั้นจึงควรงดการหลั่งอสุจิประมาณ 2-7 วันก่อนมาพบแพทย์ ส่วนการหาสาเหตุในฝ่ายหญิงก็มักจะซักประวัติส่วนตัวและทำการตรวจภายใน ตรวจระดับฮอร์โมนเพศ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ต่อไปค่ะ


การรักษาอาการเบื้องต้น


การรักษาภาวะมีบุตรยากสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบหลัก ๆ ด้วยกันค่ะ คือ


รักษาจากอาการ


สำหรับการรักษาเบื้องต้นของภาวะนี้ จะเน้นการรักษาแบบทั่วไปจากภาวะร่างกายก่อนค่ะ เช่น

  • รักษาตามสาเหตุ เช่น ถุงน้ำช็อกโกแลต เนื้องอกมดลูกขนาดใหญ่หรือกดเบียดโพรงมดลูก ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง

  • ไม่เครียด

  • รักษาสุขภาพทั่วไป


การรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์


ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวไกลไปมาก และมีวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากมากมาย ขึ้นอยู่กับอายุ ปัญหา สาเหตุของผู้มีบุตรยาก ซึ่งแพทย์จะร่วมกับคนไข้ในการค้นหาวิธีรักษา เช่น การรับประทานยาหรือฉีดกระตุ้นเพื่อให้มีการตกไข่ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรือการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF, ICSI) ในบางรายอาจจะต้องมีการผ่าตัด เช่น ซีสต์ เนื้องอก เลาะพังผืด แก้ไขท่อนำไข่ตัน หรือแม้แต่การผ่าตัดแก้หมัน เป็นต้น


อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญของคู่รักทุกคู่ที่อยากจะสร้างครอบครัว คือต้องคอยหมั่นสังเกตตนเองหรือแต่ละฝ่ายอยู่เสมอค่ะ เพราะอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่แสดงออกมานั้นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะมีบุตรยากทั้งสิ้น ดังนั้นไม่ควรละเลยตนเองเด็ดขาดนะคะ เพราะการที่จะมีเจ้าตัวเล็กได้นั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นรากฐานที่แข็งแรงก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพของเจ้าตัวเล็กด้วยนั่นเองค่ะ



บทความที่น่าสนใจ




ดู 1,011 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page