แม่ๆคนไหนกำลังเตรียมไปใส่ตัวอ่อนอยู่บ้างคะ มาดูขั้นตอนการย้ายตัวอ่อน (Embryo Transfer) กันค่ะ
top of page
ค้นหา

แม่ๆคนไหนกำลังเตรียมไปใส่ตัวอ่อนอยู่บ้างคะ มาดูขั้นตอนการย้ายตัวอ่อน (Embryo Transfer) กันค่ะ


การย้ายตัวอ่อน Embryo Transfer (ET) จะทำหลังจากเซลล์ไข่ปฎิสนธิกับสเปิร์มเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะสามารถย้ายตัวอ่อนได้ตั้งแต่ตัวอ่อนระยะ Day 2 ถึง Day 5 (Blastocyst) ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ในแต่ละราย


ซึ่งเอาจป็นการย้ายตัวอ่อนรอบสด (Fresh ET) หรือ รอบแช่แข็งในรายที่ไม่สามารถย้ายได้ในรอบสดเพราะ


👉มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (OHSS)

👉รอผลคัดกรองโครโมโซมในคู่สามีภรรยาที่มีความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรม

👉ไม่สะดวกต่อการย้ายตัวอ่อนในรอบสด


สามารถตัดสินใจย้ายตัวอ่อนในรอบแช่แข็งได้ (Frozen-thawed ET) ครูก้อยนำข้อมูลจาก safefertilitycenter.com มาฝากค่ะ จากการศึกษาพบว่าการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งในสตรีที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ให้ผลดีกว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบสด รวมถึงข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ (Evidence base medicine) ชนิด Systematic review และ


Meta-analysis ในสตรีที่มีอายุระหว่าง 27-33 ปี พบว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบแช่แข็งให้อัตราการตั้งครรภ์ (Clinical and ongoing Pregnancy Rate) ดีกว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบสด 32% และ 31% ตามลำดับ และอัตราการแท้งมีแนวโน้มน้อยกว่าการย้ายรอบสดแต่ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


.

.


●ขั้นตอนกระบวนการการย้ายตัวอ่อนเป็นอย่างไร❓


การย้ายตัวอ่อนทั้งในรอบสด และรอบแช่แข็งเหมือนกัน ต่างกันที่วิธีการเตรียมโพรงมดลูกก่อนการย้าย


✅#การย้ายตัวอ่อนรอบสด


จะย้าย 2-5 วันหลังการเก็บไข่โดยการย้ายผ่านสายย้ายตัวอ่อนและใช้เครื่องอัลตราซาวด์ช่วยในการกำหนดตำแหน่งที่จะใส่ตัวอ่อน การย้ายตัวอ่อนไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ ภายหลังการย้ายตัวอ่อนจะใช้ฮอร์โมนชนิดโปรเจสเตอโรนธรรมชาติ (Natural Progesterone) เพื่อพยุงการตั้งครรภ์ อาจเป็นชนิดเม็ด ชนิดเจลล์ สอดช่องคลอด รับประทานหรือให้ทั้งสองชนิดร่วมกัน



✅#การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง มี 2 วิธีคือ


1. การย้ายรอบธรรมชาติ (Natural Frozen-thawed Embryo Transfer)

จะใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) จากรังไข่ในการเตรียมโพรงมดลูก ไม่มีการใช้ยาฮอร์โมนจากภายนอกในการเตรียม จึงต้องมีการตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมน และอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดเพื่อคาดการณ์วันไข่ตก เพื่อทำการย้ายตัวอ่อนตามระยะตัวอ่อนที่เลี้ยง


2. การเตรียมโพรงมดลูกด้วยยา (Artificial or Medicated Embryo Transfer)

เป็นการใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) จากภายนอก เช่น ชนิดรับประทาน ทา แปะ หรือ สอดช่องคลอดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือร่วมกัน อาจมียาฉีดเพื่อกดการทำงานของรังไข่ชั่วคราวในรายที่เตรียมโพรงมดลูกยาก ก่อนเริ่มยาฮอร์โมนเอสโตรเจน


👉ในปัจจุบัน การเตรียมโพรงมดลูกในรอบธรรมชาตินั้น มีแนวโน้มให้ผลการตั้งครรภ์ที่เท่ากันหรือสูงกว่า แต่ข้อมูลยังไม่สรุปแน่ชัด ข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์ ตีพิมพ์ในปี 2013

พบว่าการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งในรอบธรรมชาติ ให้


อัตราการตั้งครรภ์ (Clinical Pregnancy Rate and ongoing Pregnancy Rate) และอัตราการคลอดมีชีพ (live birth rate) ที่สูงกว่าการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งโดยการเตรียมโพรงมดลูกโดยฮอร์โมนจากภายนอก แต่ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


.

.


แม่ๆ ที่เก็บไข่แล้วจึงควรเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน ผนังมดลูกที่แข็งแรงต้องมีความหนา8-10 มิล ใส และเรียงสวยสามชั้น ที่สำคัญมดลูกต้องได้รับเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเพียงพอ มดลูกต้องอุ่น โดยแม่ๆต้องเลือกทานอาหารที่มีโภชนาการสูง เน้นโปรตีน อาหารฤทธิ์อุ่น และพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะคะ ครูก้อยรวบรวมอาหารเมนูมดลูกอุ่นและขั้นตอนการเตรียมผนังมดลูกมาให้แล้ว ศึกษาและทำตามนะคะเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสความสำเร็จค่ะ


ดู 55 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page