EAB0QEXbTASoBOZB7ZAcYLh1A1zKrvmntyi4nwsdK4ZCixZAMhZBKPzpEdJNF00ZBNVQZBkV7JcU88g2o98bTdZBXAZBZBttIOZBiZCKj755ukZAlTHMy44ZBjSKKE3zhvdk4M7nPbroJh60CEaq8kfZAYnmI44exDpieZCCoAzTO4RRji3clwuZCllPIsdUWaacrfZBE9nZA2TGOgZDZD เอสโตรเจนต่ำ ทำให้ผู้หญิงแก่ #คืนความสาวทั้งระบบ
top of page
ค้นหา

เอสโตรเจนต่ำ ทำให้ผู้หญิงแก่ #คืนความสาวทั้งระบบ


เอสโตรเจนต่ำ ทำให้ผู้หญิงแก่

#คืนความสาวทั้งระบบ


🌸เอสโตรเจน (Estrogen) คือฮอร์โมนเพศหญิงที่ร่างกายผลิตขึ้นเองจากรังไข่เป็นหลัก มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการทำงานในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง หากฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุล จะส่งผลให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานไม่เป็นปกติ ลักษณะความสาว ความสมบูรณ์ทางเพศหญิงก็จะลดลง หรือนำไปสู่ภาวะ "วัยทองก่อนวัย" นั่นเองค่ะ


วัยทอง" คือ วัยที่ประจำเดือนเริ่มขาดหาย ฮอร์โมนเพศหญิงลดลง พบในสตรีวัย 40 ปีขึ้นไป แต่หากมีอาการต่อไปนี้ก่อนวัย 40 อาจเป็นสัญญาณ "รังไข่เสื่อมก่อนวัย" ส่งผลให้ผู้หญิงแก่ก่อนวัย และต้องพบเจอกับปัญหากวนใจทางร่างกายและส่งผลต่อจิตใจและชีวิตคู่ได้ เอสโตรเจนต่ำส่งผลอย่างไรบ้าง ไปศึกษากันค่ะ


1.ช่องคลอดแห้ง เจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์


เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลง ทำให้ไม่มีมูกตกไข่หรือของเหลวหล่อลื่นที่อวัยวะเพศตามธรรมชาติ ส่งผลให้ช่องคลอดแห้ง และเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ส่งผลให้สภาพจิตใจย่ำแย่และกระทบถึงความสัมพันธ์กับสามี และหากต้องการมีบุตรก็จะยากไปอีกเพราะฝาสยหญิงจะรู้สึกเจ็บและกลัวที่จะมีเพศสัมพันธ์


.


2. ประจำเดือนผิดปกติ


รอบเดือนปกติควรมี 28 วันไม่ควรสั้นกว่า 21 วันหรือยาวเกิน 35 วันค่ะ

เมื่อรังไข่เริ่มเสื่อม ฮอร์โมนเอสโตรเจนก็ผิดปกติ รอบเดือนเลยเริ่มเพี้ยน สังเกตได้เลยหากรอบเดือนเริ่มห่าง มาน้อย บางรายเมนส์หายไปเลย และยังมีาการปวดท้องประจำเดือนอีกด้วย เพราะฮอร์โมนไม่สมดุล ทำให้ผนังมดลูกหลุดลอกไม่สมบูรณ์


.


3. ปวดท้องประจำเดือน


อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก จากการหลั่งสารที่ชื่อว่าพรอสตาแกลนดิน ที่สร้างขึ้นบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน ทำให้เยื่อบุมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน โดยปกติผู้หญิงจะมีอาการปวดท้องน้อยก่อนประจำเดือนมา 1-2 วัน และมีอาการปวดในช่วงประจำเดือนมาแล้ว 2-3 วันแรก โดยลักษณะเป็นอาการปวดบีบหรือปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย


หากแม่ๆ มีสุขภาพร่างกายในช่วงเวลานั้นไม่สมบูรณ์แข็งแรง หรือมีความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอทำให้ระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายผิดปกติ และเมื่อยิ่งมีความเครียดจะส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงการทำงานของรังไข่จึงขาดความสมดุล โดยแสดงออกมาด้วยอาการปวดบริเวณท้องน้อยเพิ่มมากขึ้นค่ะ


นอกจากนี้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไม่สมดุล ส่งผลต่อฮอร์โมนเซโรโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมอารมณ์ทำให้อารมณ์ขึ้นๆลงๆ และหากฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่เสถียรจะส่งผลต่อกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) เช่น มีอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน ตัวบวม เหวี่ยงวีน ซึมเศร้า


.


4. นอนไม่หลับ ร้อนวูบวาบ หนาวสั่น

ก็เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติ นอนหลับไม่สนิท เหงื่อออกกลางคืน

.


5. ตกขาว มีกลิ่น


ตกขาว เป็นของเหลวที่ขับออกจากช่องคลอด เป็นอาการของผู้หญิงที่สามารถเกิดได้ตามปกติ ในสตรีวัยเจริญพันธุ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแตกต่างกันไปตามรอบประจำเดือน ซึ่งส่งผลต่อลักษณะของของเหลวที่สร้างมาจากอวัยวะต่างๆ ในระบบสืบพันธ์ โดยตกขาวที่ปกติสามารถสังเกตได้โดย ตกขาวจะไม่มีกลิ่น และไม่คัน แต่ในบางครั้งตกขาวอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติได้หากการติดเชื้อ หรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ


.


6. ผิวเหี่ยว ไม่เต่งตึง หน้าอกหย่อนคล้อย มีปัญหาสิวเรื้อรัง


ผู้หญิงที่มีฮอร์โมนไม่สมดุลจะประสบปัญหากับสิวเรื้อรัง ทั้งที่ผ่านวัยรุ่นมาแล้วยังมีสิวขึ้นในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งเกิดจากการมีฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำแต่กลับมีฮอร์โมนแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS) อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาผิวแห้ง คันเป็นขุย และเมื่อฮอร์โมนเพศชายสูงแต่ฮอร์โมนเพศหญิงต่ำส่งผลให้ความเปล่งปลั่งเป็นหญิงลดลง ผิวจะเหี่ยว ไม่นุ่มลื่น หน้าออกก็เหี่ยว หย่อนคล้อย


.


7. ไม่มีอารมณ์ทางเพศ


เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดมาเลี้ยงอวัยวะสืบพันธุ์ลดลงด้วย ทำให้ช่องคลอดไม่พร้อมในการสืบพันธุ์ และมูกตกไข่ลดลง ช่องคลอดแห้ง เจ็บเมื่อร่วมรัก ฝ่ายหญิงก็จะหมดอารมณ์ทางเพศ ไม่อยากมีเพศสัมพันธ์


.


8. อ้วนง่าย


น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นสาเหตุหนึ่งเกิดจากฮอร์โมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมาไม่เพียงพอ ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์นี้เองที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบการเผาผลาญจึงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สาเหตุอีกประการหนึ่งคือภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS) ซึ่งเกี่ยวพันกับฮอร์โมนหลายตัว ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนหรือฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง นอกจากนี้ภาวะ PCOS ยังส่งผลให้ไข่ำไม่ตกเรื้อรังอีกด้วย


.


9. ท้องยาก


แน่นอนว่าเมื่อฮอร์โมนไม่สมดุล รังไข่ก็ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ประจำเดือนไม่มา ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกแต่เป็นไข่ด้อยคุณภาพ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยากค่ะ


.

.


การดูแลตัวเอง ปรับฮอร์โมนให้สมดุลจะช่วยชะลอรังไข่เสื่อมก่อนวัยได้ทางหนึ่ง สาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลมีหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ การใช้ยา หรือการได้รับสารเคมีบางชนิด


ดังนั้นแม่ๆ ต้องหันมาใส่ใจกับการปรับสมดุลฮอร์โมนให้เป็นปกติด้วยการทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หาเวลาผ่อนคลาย จัดการความเครียด ดูแลร่างกายให้ถูกต้อง ถูกวิธี และทานวิตามินเสริมที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน เมื่อฮอร์โมนกลับสมดุล รังไข่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราก็จะกลับมาสาวอีกครั้งค่ะ #คืนความสาวทั้งระบบ


ดู 1,286 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page