top of page
ค้นหา

อายุมาก ไข่แก่ ท้องยาก!เพราะพลังงานในเซลล์ไข่ลดลง



อายุมาก ไข่แก่ ท้องยาก!

เพราะพลังงานในเซลล์ไข่ลดลง



แม่ๆรู้ไหม สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คู่ของเรามีบุตรยาก คือ "อายุของฝ่ายหญิง" ค่ะ อายุที่มากขึ้นส่งผลต่อคุณภาพของเซลล์ไข่ พลังงานในการแบ่งเซลล์ของเซลล์ไข่ลดลง อัตราความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ไข่สูงขึ้น โดยในทางการแพทย์ช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไปเป็นช่วงขาลงของวัยเจริญพันธุ์


ข้อมูลจาก นพ.ปภากร มิ่งมิตรพัฒนะกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านการเจริญพันธุ์และรักษาผู้มีบุตรยาก ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก รพ.กรุงเทพ อธิบายเรื่องการแบ่งเซลล์ในร่างกายไว้ดังนี้


เซลล์ร่างกายประกอบด้วยโครโมโซมทั้งหมด 46 ชิ้นหรือ 23 คู่ การที่ทารกจะลืมตาดูโลกนั้นมีจุดเริ่มต้นจากเซลล์สืบพันธุ์ (Gamete) ของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งเซลล์สืบพันธุ์นี้ก็จะนำเอาสาร


พันธุกรรมของพ่อและแม่ไปรวมกันเกิดขึ้นเป็นชีวิตใหม่ขึ้นมา ดังนั้นการที่แต่ละฝ่ายต้องส่งเซลล์สืบพันธุ์ไปปฏิสนธิกันให้เป็นชีวิตใหม่จะต้องส่งไปเพียง 23 ชิ้นเพื่อให้รวมกันเป็น 46 ชิ้น ซึ่งเป็นจำนวนปกติของเซลล์มนุษย์


กลไกการแบ่งโครโมโซมจาก 46 ชิ้นในเซลล์ร่างกายปกติไปเป็น 23 ชิ้นในไข่นั้น ไม่ได้สมบูรณ์แบบทุกครั้ง หมายความว่าไข่บางใบอาจแบ่งโครโมโซมได้ 23 ชิ้น หรืออาจมากไปเป็น 24 ชิ้น หรืออาจขาดไปเหลือแค่ 22 ชิ้น


ดังนั้น เมื่อไข่ใบที่มีจำนวน "โครโมโซมไม่ปกติ" แม้ไปผสมกับอสุจิที่มีจำนวนโครโมโซมปกติ ตัวอ่อนที่เกิดมาจะมีจำนวนโครโมโซมไม่ปกติ อาจมากกว่าหรือน้อยกว่า 46 ชิ้น ทำให้ตัวอ่อนแสดงความผิดปกติในหลายรูปแบบ ได้แก่


✔ตัวอ่อนหยุดการแบ่งเซลล์ตั้งแต่ยังไม่ฝังตัว

✔ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้

✔ตัวอ่อนฝังตัวได้แต่ไม่สามารถสร้างอวัยวะและเนื้อเยื่อได้ตามปกติหรือท้องลม


✔ตัวอ่อนฝังตัวได้แต่แท้งในระยะต่อมา

✔หรือตัวอ่อนเติบโตจนคลอดออกมา แต่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือสติปัญญา


ซึ่งอัตราความคลาดเคลื่อนของโครโมโซมในไข่จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นในแต่ละปี จึงทำให้ผู้หญิงที่มีอายุมากตั้งครรภ์ยากและมีโอกาสแท้งบุตรสูงขึ้น


อัตราความผิดปกติของโครโมโซมในเซลล์ไข่สัมพันธุ์กับอายุที่เพิ่มขึ้นดังนี้


โดยสถิติความผิดปกติของโครโซมของเซลล์ไข่ในแต่ละช่วงอายุปรากฏตามข้อมูล ดังนี้


🔹️อายุ 25 โครโมโซมผิดปกติ 25%

🔹️อายุ 35 โครโมโซมผิดปกติ 50%

🔹️อายุ 40 โครโมโซมผิดปกติ 85-90%



อนุมูลอิสระ ส่งผลต่อความเสื่อมของเซลล์ไข่ และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้โครโมโซมเซลล์ไข่ผิดปกติ



โดยทั่วไปแล้วในร่างกายมีการสร้างอนุมูลอิสระออกมาตลอดเวลาจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร อนุมูลอิสระส่วนใหญ่มีอะตอมของออกซิเจนที่ไวต่อการทำปฏิกริยาออกซิเดชัน หรือเรียกว่า Reactive Oxygen Species (ROS) ซึ่งสร้างความเสียหายแก่เซลล์ หากร่างกายเรามีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ที่จะมาจัดการกับ ROS ไม่เพียงพอจะทำให้เซลล์ต่างๆถูกทำลายจนเสื่อมไปเรื่อยๆ รวมถึงเซลล์ไข่ของผู้หญิงด้วย



มีงานวิจัยศึกษาพบว่า สาเหตุหลักของการทำเด็กหลอดแก้วแล้วไม่ประสบความสำเร็จมาจากตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ (รองลงมาคือปัญหาเรื่องผนังมดลูก) ซึ่ง ตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์อาจมาจากโครโมโซมผิดปกติ สืบเนื่องมาจากเซลล์ไข่มีความเสื่อมจากอนุมูลอิสระ หรือไข่ที่ไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นนั่นเอง เมื่อเกิดการรวมตัวกับ DNA แล้วทำให้โมเลกุลของ DNA เปลี่ยนไป ส่งผลให้โครโมโซมเสียหาย หรือเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ชั้น lipid ซึ่งเป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์ทำให้เซลล์ไข่เสื่อมสภาพ (Oocyte aging)



นอกจากนี้อนุมูลอิสระจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์ไข่ได้มากยิ่งขึ้นในกระบวนการ “ทำเด็กหลอดแก้ว” เนื่องจากเซลล์ไข่ที่เก็บออกมา จะไม่มีของเหลวที่เรียกว่า “follicular fluid” ป้องกันอยู่เหมือนในร่างกายมนุษย์ ทำให้เซลล์ไข่ถูกทำลายและเสื่อมสภาพเร็วขึ้นไปอีก



เราจะลดความเสื่อมของเซลล์ไข่จากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระได้อย่างไร?


สำหรับผู้หญิงที่มีบุตรยาก ที่ต้องใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI) การมีเซลล์ไข่ที่มีคุณภาพเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้ตัวอ่อนที่สมบูรณ์ ส่งผลต่อโอกาสในความสำเร็จ อย่างไรก็ตามการทำเด็กหลอดแก้วเป็นการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการคัดเลือกไข่และอสุจิตัวที่ดีที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีช่วยในการคัดเลือก ไข่ที่ดีได้ แต่ ไม่สามารถทำให้ไข่มีคุณภาพได้


"คุณภาพของไข่" นั้นอยู่ที่การบำรุงและสภาพความสมบูรณ์ของร่างกายของแม่ๆ เอง ที่ต้องเตรียม


บำรุง "วัตถุดิบตั้งต้น" ไปให้พร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมเซลล์ไข่ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด และถูกทำลายน้อยที่สุดก่อนเข้ากระบวนการทางการแพทย์ด้วยการทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระให้เพียงพอค่ะ เน้นอาหารที่ให้สารอนุมูลอิสระสูง เช่นผลไม้รสเปรี้ยวตระกูลเบอร์รี่ มะนาวและมะกรูดของไทย


🍋โดยเฉพาะน้ำมะกรูดมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ทั้งวิตามินซี ไบโอฟลาโวนอยด์ และ เควอซิทีน ซึ่งมีงานวิจัยศึกษาพบว่า ช่วยลดอัตราไข่ฝ่อได้ถึง 80% และเพิ่มอัตราตัวอ่อนถึงระยะบลาสโตซิสต์ได้อีกเท่าตัว


อายุมากขึ้นพลังงานในเซลล์ไข่ลดลง

เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น พลังงานในเซลล์ไข่จะด้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้การแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนมีประสิทธิภาพด้อยลง แบ่งเซลล์ได้ช้า ไม่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นบลาสโตซิสต์ หรือบางครั้งหยุดโตกลางทาง หรือไปหยุดการเจริญเติบโต


หลังจากใส่เข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ทำให้ไม่เกิดการฝังตัวอ่อน จึงไม่เกิดการตั้งครรภ์


ในเซลล์ไข่นั้นจะมีไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ซึ่งไมโตคอนเดรียนี้ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ไข่ โดยพลังงานดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์

ซึ่งเปรียบเสมือนโรงงานไฟฟ้าที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น และทำให้เซลล์ไข่มีพลังในการแบ่งตัวได้อย่างเป็นปกตินั่นเอง



จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Biology amd Endocrinology เมื่อปี 2018

ศึกษาพบว่าเมื่อผู้หญิงอายุเพิ่มมากขึ้นประสิทธิภาพในการทำงานของ Mitocondria ลดลง ทำให้เซลล์ไข่ไร้พลัง เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงอายุมากมีบุตรยาก


เราจะเพิ่มพลังงานในเซลล์ไข่ได้อย่างไร?


มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and


Sterility เมื่อปี 2009 ศึกษาพบว่า Co-enzyme Q10 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ ทำให้ไข่มีคุณภาพมากขึ้น โดยได้ทำการทดลองในหนูทดลองที่มีอายุมาก และสรุปผลว่า การทาน Co-enzyme Q10 อาจช่วยเพิ่มคุณภาพของเซลล์ไข่ของผู้หญิงที่มีอายุมาก


อีกงานวิจัยอีกหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2020 ได้ทำการทดลองให้ผู้หญิงอายุมาก (อายุ 38-46 ปี) พบว่าการรับประทาน Q10 ช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่รวมถึง ลดอัตราการแบ่งเซลล์และโครโมโซมผิดปกติของเซลล์ไข่อีกด้วย


Coenzyme Q10 คืออะไร?


CoQ10 คือสารที่มีคุณสมบัติคล้ายวิตามินซึ่งร่างกายสามารถผลิตเองได้ในปริมาณหนึ่ง พบในทุกเซลล์ของร่างกาย โดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม (Membrane) ของไมโตคอนเดรีย


Co-enzyme Q10 ถูกพบมากในอวัยวะที่ต้องการ


พลังงานสูง ซึ่งจะมีจำนวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) มาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง และพบได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงเซลล์ไข่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ ไมโตคอนเดรียมีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างพลังงาน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย

มีคุณสมบัติ ช่วยเพิ่มพลังงาน ซึ่ง Co-enzyme Q10 ทำงานโดยช่วยเพิ่มพลังให้กับ mitocondria ของเซล์ไข่นั่นเองค่ะ


จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Free radical Biology and Medicine เมื่อปี 2019 ศึกษาพบว่า Q10 จะลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น


ดังนั้นผู้ญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์หรือเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วควรได้รับ Q10 ในปริมาณที่เพียงพอเพื่อทำให้ไมโตคอนเดรียทำงานได้ดียิ่งขึ้นซึ่งปัจจุบันสามารถหาทานได้จากวิตามินเสริมQ10 ช่วยเพิ่มพลังงานให้เซลล์ไข่แบ่งตัวได้อย่างสมบูรณ์ เป็นการเพิ่มโอกาสได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพและส่งผลต่ออัตราการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นค่ะ



ดู 457 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page