📣 ลงทุนลงลงใจไปกับการทำเด็กหลอดแก้วแล้วแต่ยังไม่ท้อง เกิดอะไรขึ้นกับเรากันนะ?
top of page
ค้นหา

📣 ลงทุนลงลงใจไปกับการทำเด็กหลอดแก้วแล้วแต่ยังไม่ท้อง เกิดอะไรขึ้นกับเรากันนะ?



ICSI หรือ "เด็กหลอดแก้ว" เป็นวิธีที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมมากที่สุดในขณะนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยค่ะว่า หากปัจจัยต่างๆ ในการสร้างเด็กหลอดแก้วนั้นไม่เอื้ออำนวยจริงๆ ก็ค่อนข้างที่จริงประสบความสำเร็จได้ยากมากๆ ซึ่งปัจจัยที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ



● ICSI คืออะไร ทำไมจึงทำสำเร็จยาก?



แม่ๆ หลายคนที่กำลังเข้าสู่ภาวะมีบุตรยาก อาจกำลังมองหาข้อมูลในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์กันอยู่ใช่มั้ยคะ แน่นอนว่าการทำ ICSI หรือ "เด็กหลอดแก้ว" เป็นวิธีที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมมากที่สุดในขณะนี้ ซึ่งก็คือการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย เลี้ยงเป็นตัวอ่อน แล้วย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้เจริญเติบโตต่อไป



อย่างไรก็ตามยังมีความเข้าใจผิดกันว่าเมื่อเราเข้าปรึกษาแพทย์ และใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้วแล้ว จะสามารถตั้งครรภ์ได้ 100%



จากสถิติการตั้งครรภ์จากเด็กหลอดแก้วมีประมาณ 35-50% เท่านั้น หรือ หากมีการคัดโครโมโซมก็อาจมีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นเป็น 70-75% ไม่มีวิธีหรือสถาบันไหนการันตีความสำเร็จได้ 100% ค่ะ



จากการศึกษาพบว่าสาเหตุหลักที่ทำให้การทำเด็กหลอดแก้วไม่ประสบความสำเร็จคือ "คุณภาพของเซลล์ไข่" นั่นเองค่ะ



เซลล์ไข่ คือวัตถุดิบหลักในการสร้างตัวอ่อน แน่นอนว่าต้องเอาไปผสมกับ "อสุจิ" ด้วย ดังนั้นคุณภาพของอสุจิของฝ่ายชายก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งเช่นกัน



เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยแก้ปัญหาผู้มีบุตรยากได้ เช่น


ท้องธรรมชาติไม่ได้ ก็ใช้การปฏิสนธิภายนอก


ไข่ไม่ตก ก็เก็บไข่มาปฏิสนธิภายนอก


ท่อนำไข่ตีบ อสุจิไม่สามารถเข้าไปผสมกับไข่ได้ ก็เก็บไข่มาปฏิสนธิภายนอก


แต่สำหรับตัวคุณภาพของไข่นั้น เทคโนโลยีไปช่วยไม่ได้นั่นเองค่ะ หากไข่ หรือ อสุจิ ไร้คุณภาพ ต่อให้ใช้เทคโนโลยีนำมาผสมกันภายนอกได้ แต่ก็อาจกลายเป็นตัวอ่อนที่ไม่ดี ตัวอ่อนตายก่อนย้ายกลับโพรงมดลูก หรือย้ายแล้วก็ไม่ฝังตัวและแท้งไปในที่สุด



สาหตุใดบ้างที่ทำให้การ ICSI ไม่ประสบความสำเร็จ?



วันนี้เราไปศึกษาในรายละเอียดกันค่ะว่า มีสาหตุใดบ้างที่ทำให้การ ICSI ไม่ประสบความสำเร็จค่ะ



1. อายุฝ่ายหญิง



กรณีที่อายุของฝ่ายหญิงมากกว่า 35 ปี จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่แย่ลง ส่งผลให้คุณภาพของไข่แย่ลง ยิ่งอายุมากขึ้นไข่ยิ่งเสื่อม โครโมโซมของเซลล์ไข่ยิ่งผิดปกติ ผู้หญิงอายุ 35 ปี เซลล์ไข่จะมีโครโมโซมผิดปกติถึง 50% ถ้าอายุ 40 ปีมีโกาสที่โครโมโซมไข่ผิดปกติถึง 85-90%



การตอบสนองต่อยากระตุ้นไข่น้อยลง ได้ไข่น้อยและต้องใช้ปริมาณยาเยอะในการกระตุ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีก ได้แก่ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป Ovarian hyperstimulation syndrome (OHSS) ซึ่งเมื่อคุณภาพไข่แย่ คุณภาพตัวอ่อนย่อมแย่ตามไปด้วย และยากที่ตัวอ่อนจะฝังตัวและพัฒนาเติบโตต่อไปค่ะ



2. อสุจิของฝ่ายชาย



อสุจิที่จะเข้าผสมกับไข่แล้วทำให้เกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนที่สมบูรณ์นั้น ต้องเป็นอสุจิที่มีคุณภาพด้วย ในทางการแพทย์มีหลักเกณฑ์ในการวัดอสุจิที่มีคุณภาพอยู่ 4 หลักเกณฑ์ ได้แก่



1. ปริมาตรในการหลั่ง ต้องไม่น้อยกว่า 1.5 cc ต่อการหลั่งหนึ่งครั้ง


2. จำนวนตัวอสุจิ ต้องมีไม่น้อยกว่า 15 ล้านตัวต่อน้ำอสุจิ 1 cc


3. ต้องมีตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวมากว่า 40%


4. ต้องมีอสจิที่มีรูปร่างสมบูรณ์ ไม่น้อยกว่า 4%



หากมีปัญหาข้างต้น มันก็คือสาหตุที่ทำให้คุณท้องธรรมชาติไม่ได้



การใช้วิธี ICSI ก็คือการคัดเลือกอสุจิที่ดีที่สุดมาเจาะเข้าเนื้อไข่โดยตรง แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าตัวที่ถูกเลือกมาคือตัวที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว เพราะอาจยังมีความผิดปกติใน DNA ของตัวอสุจิที่ซ่อนอยู่อีก ดังนั้นหาก อสุจิไม่มีคุณภาพก็จะส่งผลให้


- เกิดการปฏิสนธิลดลง


- ทำให้ได้ตัวอ่อนน้อย


- คุณภาพตัวอ่อนไม่ดี อาจตายก่อนย้าย หรือย้ายแล้วก็แท้งได้ง่าย



3. ความผิดปกติของตัวอ่อนด้านสารพันธุกรรมหรือโครโมโซม



บ่อยครั้งตัวอ่อนสวย คุณภาพดี แต่ย้ายแล้วไม่ตั้งครรภ์ อาจเป็นเพราะตัวอ่อนเหล่านั้นมีความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้ จนกว่าจะมีการคัดโครโมโซมตัวอ่อนไปตรวจก่อนทำการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก ปัจจัยที่ทำให้โครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติได้แก่


- ฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปี


- คู่สมรสมีความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดได้


- มีประวัติการแท้งมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป


- มีประวัติล้มเหลวในการตั้งครรภ์จากวิธีเด็กหลอดแก้วมาก่อน



ดังนั้นหากแม่ที่อายุ 35 แพทย์อาจจะแนะนำให้มีการคัดโครโมโซมก่อนย้ายตัวอ่อน อย่างไรก็ตามถึงแม้จะคัดโครโมโซมแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จ 100% เนื่องจากการหยิบเอาเซลล์ของตัวอ่อนไปตรวจนั้น หยิบได้ไปเพียงบางส่วนเท่านั้น ถึงแม้ตอนคัดผลจะปรากฏว่าผ่าน แต่ไม่ได้หมายความว่าผ่านทั้งหมด แต่เป็นแค่ผ่านเกณฑ์ที่ทำให้โอกาสตั้งครรภ์มีสูงขึ้น



4. มดลูกและเยื่อบุโพรงมดลูก



อย่าลืมว่าเมื่อปฏิสนธิได้ตัวอ่อนที่สมบูรณ์ภายนอกร่างกายแล้ว ท้ายที่สุดก็ต้องย้ายเข้ามาฝังตังในโพรงมดลูกของแม่ๆค่ะ ดังนั้นหากโพรงมดลูกไม่หนาตัว ไม่แข็งแรง ไม่มีเลือดไหลเวียนนำพาสารอาหารไปเลี้ยงเพียงพอ ตัวอ่อนก็ยากที่จะฝังตัวได้ค่ะ



ผนังมดลูกที่สมบูรณ์พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนต้องมีลักษณะดังนี้



1.เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเพียงพอ มดลูกอุ่น


2.หนา 8-10 มิล


3.ใส ไม่ทึบ


4.เรียงสวย 3 ชั้น ( Triple Lines)



นอกจากนี้ต้องไม่มีปัญหาอื่นๆ เช่น โพรงมดลูกบิดเบี้ยวจากเนื้องอกมดลูก หรือ มีติ่งเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อน



5.ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ



กรณีนี้คือแม่ๆ อาจมีความผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (ฮอร์โมนตั้งครรภ์) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผนังมดลูกฟูหนาตัวขึ้นพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งเรียกว่ามี "ภาวะบกพร่องของระยะลูเทียสเฟส" (Luteal phase defect)



ความบกพร่องของระยะลูเทียลเกิดขึ้นเมื่อ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนถูกผลิตน้อยเกินไปหลังจากไข่ตก ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หนาตัว หรือ มดลูกไม่ตอบรับกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ส่งผลให้มีช่วงระยะลูเทียลสั้นประมาณ 10 วัน จากนั้นก็จะมีประจำเดือนมาไวกว่าปกติ ทำให้วงจรรอบเดือนเสียสมดุล โพรงมดลูกไม่สามารถพัฒนาไปถึงจุดที่สมบูรณ์พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนได้ ส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัวหรือแท้งในระยะเริ่มต้น



ในบางกรณีแพทย์จะให้ฮอร์โมนมาเสริมเพื่อช่วยพยุงครรภ์หลังย้ายตัวอ่อน หากแม่ๆใช้ยาไม่สม่ำเสมอก็อาจส่งผลให้มีฮอร์โมนไม่เพียงพอในการที่จะพยุงการตั้งครรภ์ไว้ได้ค่ะ



6. การดูแลตัวเองหลังใส่ตัวอ่อน



แม่ๆรู้ไหมช่วง 7 วันแรกหลังย้ายตัวอ่อน เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด เป็นช่วงที่ตัวอ่อนจะฟักออกจากเปลือก เกาะติดเข้าสู่โพรงมดลูก และจะฝังตัว ช่วงนี้จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ครูก้อยมี 5 วิธีดูแลตัวเองหลังใส่มดลูกมาฝากค่ะ



1. ห้ามเคลื่อนไหวมาก ห้ามเคลื่อนไหวแรง



งดการเคลื่อนไหวมากไว้ก่อนค่ะ หากวางแผนล่วงหน้าให้วางแผนใช้วันลาเพื่อพักหลังใส่ตัวอ่อนค่ะ ไม่ควรขับรถ นั่งเรือ นั่งมอเตอร์ไซด์ไปทำงาน ขึ้นลงบันไดวันละหลายรอบ ยกของหนัก แบบนี้ไม่ควรค่ะ



อะไรที่เป็นการเคลื่อนไหวแรงๆ เช่น ออกกำลังกาย เดินมากๆ หรือแม้กระทั่งมีเพศสัมพัธ์ก็งดก่อนค่ะ ขอเลยค่ะในช่วง 7 วันนี้ ให้นอนพักผ่อนให้มากที่สุด แต่ไม่ใช่ว่านอนติดเตียง แค่เตรียมการล่วงหน้าให้พร้อมค่ะ ถ้ามีห้องชั้นบนก็นอนชั้นบนไปเลย ให้สามียกอาหารไปให้ค่ะ หรือจะเตรียมห้องไว้ข้างล่าง งดการขึ้น ลงบันได แม่ๆ ลุกเข้าห้องน้ำได้ตามปกตินะคะ



.



2. ดูแลเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ



เน้นอาหารสุก สะอาด งดทานอาหารหมักดอง อาหารดิบ เพราะจะเสี่ยงท้องเสีย ขับถ่ายบ่อยมดลูกก็บีบตัว ปูดอง แซลมอนดอง ส้มตำปลาร้า ปลาดิบ งดก่อนค่ะ



พวกผักสดก็ต้องล้างให้สะอาด ให้ชัวร์ให้ทานผักแบบนำมาประกอบอาหารให้สุกดีกว่าค่ะ


ทานอาหารที่ให้โปรตีนสูง ช่วงนี้ก็เช๊คโปรตีน Ferty ดื่มได้ปกติ โปรตีนช่วยให้ตัวอ่อนเจริญเติบโต งดทานพวกอาหารแช่แข็ง ไมโครเวฟ อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง



พยายามดื่มน้ำมากๆ อย่าให้ท้องผูก เพราะไปเบ่งนานก็ไม่ดีกับมดลูก ดื่มน้ำอินทผลัมช่วยได้ค่ะ มีไฟเบอร์สูง ลดอาการท้องผูก



อาหารที่ควรงดทานจากที่เคยทานมาช่วงเตรียมผนังมดลูก ได้แก่ ชาดอกคำฝอย น้ำมะกรูดคั้นสด พวกนี้ให้งดเมื่อใส่ตัวอ่อน เพราะดอกคำฝอยมีฤทธิ์ขับลิ่มเลือด ส่วนน้ำมะกรูดเป็นของสดเกรงจะท้องเสียได้ค่ะ ควรเซฟตัวเองให้มากที่สุดค่ะ



.



3. หลีกเลี่ยงสารเคมีทุกชนิด



ตั้งแต่สกินแคร์ที่ใช้ ให้ใช้ออแกนิคไม่มีน้ำหอม พาราเบน แอลกอฮอล์ รวมไปถึงสารเคมีในการทำความสะอาดบ้าน น้ำยาล้างห้องน้ำ ถูพื้น ล้างรถ ล้างจาน แม่ไม่ต้องทำก่อนนะคะช่วงนี้ ให้สามีทำก่อนค่ะ



และอย่าเพิ่งรีบไปทำสวยค่ะ ทำเล็บ ทำสีผม เลเซอร์ ฟิลเล่อร์ โบท็อกซ์ รักษาสิว ฟอกสีฟัน พักก่อนค่ะ ให้เรามีเบบี๋ที่แข็งแรง คลอดออกมาอย่างสมบูรณ์ก่อนค่ะ จากนั้นเรื่องความสวยงามค่อยว่ากันต่อ



.



4. ห้ามเครียด



รู้ว่าห้ามยาก แต่ต้องจัดการกับมันค่ะ แม่บางคนเครียดมากกลัวไม่ติด รู้ไหมยิ่งเครียดยิ่งไม่ติด เพราะเมื่อเราเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือ ฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา ซึ่งมันจะไปทำลายสมดุลฮอร์โมนเพศ ขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน



ไม่ต้องเครียดค่ะ ใส่ตัวอ่อนมาแล้ว ให้ดูแลตัวเองให้ดีที่สุดตามที่กล่าวมา เพราะเครียดไปก็ช่วยอะไรไม่ได้ ยิ่งทำให้แย่ลงเสียอีก คิดบวกไปเลย เดินหน้าดูแลตัวเองเต็มที่ค่ะ



.



5. ทานวิตามินต่อเนื่อง



วิตามินบำรุงที่ทานก่อนตั้งครรภ์ ใส่ตัวอ่อนแล้วทานต่อได้ค่ะ โดยเฉพาะโฟลิกห้ามขาดเลยทานต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์เลยค่ะ วิตามิน OvaAll ของครูก้อยแม่ใส่ตัวอ่อนแล้วทานต่อได้ มี โฟลิก Fish oil Q10 วิตามินและแร่ธาตุรวม ซึ่งดีต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนค่ะ



รู้แล้วนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง เพื่อให้ตัวอ่อนน้อยๆ เกาะได้แน่นๆ และเจริญเติบโตเป็นที่เบบี๋ที่สมบูรณ์แข็งแรงที่สุดนะคะ



เห็นแล้วใช่มั้ยคะว่าสาเหตุที่อาจทำให้การทำเด็กหลอดแก้วไม่ประสบความสำเร็จนั้นมีหลายปัจจัยด้วยกัน ครูก้อยแนะนำให้แม่ๆ บำรุงไข่และดูแลร่างกายให้พร้อมล่วงหน้า 3 เดือนก่อนไปเก็บไข่เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว ทานอาหารบำรุงไข่ บำรุงผนังมดลูกให้แข็งแรง ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายให้ปกติ บำรุงสเปิร์มและดูแลสุขภาพของคุณสามีด้วย ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วได้ค่ะ เพราะเราเตรียมวัตถุดิบที่ดีไปแล้ว เผลอๆอาจจะท้องธรรมชาติแบบไม่ทั้นตั้งตัวก็ได้นะคะ ครูก้อยขอให้ทุกคู่มีเบบี๋มาเติมเต็มชีวิตครอบครัวในเร็ววันค่ะ

ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page