รู้ไหม? ไม่มีมูกตกไข่สัญญาณท้องยาก!
top of page
ค้นหา

รู้ไหม? ไม่มีมูกตกไข่สัญญาณท้องยาก!



รู้ไหม? ไม่มีมูกตกไข่สัญญาณท้องยาก!



มูกตกไข่ คืออะไร? แม่ๆรู้จักกันรึปล่าวคะ ผู้หญิงเรานั้นในแต่ละช่วงของรอบเดือนจะมีของเหลวออกมาทางช่องคลอดเป็นเมือก หรือมูกใสๆ หรือ บางคนเรียกว่าตกขาว ทั้งหมดทั้งมวลนี้มันคือ vaginal discharge ของเหลวที่ออกมาตามแต่ละช่วงของรอบเดือนเป็นปกติตามธรรมชาติ...ซึ่งสี ความข้นเหนียว หรือ กลิ่นของมันก็จะแตกต่างกันไป


เช่น ช่วงที่มีประจำเดือน ก็จะมีเลือดประจำเดือนสีแดง


หรือถ้ามีความผิดปกติ ติดเชื้อราหรือแบคทีเรียก็อาจเป็นตกขาว ขุ่นข้น มีกลิ่นผิดปกติ หรือมีสีเหลือง เขียว อาจมีอาการคันร่วมด้วย


ส่วนเจ้า "มูกตกไข่" Fertile Cervical Mucus (Fertile CM) นั้นเป็นมูกที่มีลักษณะลื่นและใส ยืดได้คล้ายไข่ขาว จะถูกหลั่งออกมาช่วงก่อนที่จะมีการตกไข่ของรอบเดือนแต่ละรอบ



หากแม่ๆ มีรอบเดือนปกติ 28 วัน วันไข่ตกคือวันที่ 14 ของรอบเดือน ประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนไข่ตก ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้น ส่งผลให้มูกช่องคลอดลื่นและใส หรือ มีมูกไข่ตก ออกมามากขึ้น เป็นกลไกของร่างกายในการสืบพันธุ์เพื่อทำให้อสุจิผ่านเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ


อย่างไรก็ดี ผู้หญิงแต่ละคนมีปริมาณ ช่วงเวลามีมูกตกไข่ และ ลักษณะของมูกในช่องคลอดในช่วงไข่ตกแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับจำนวนรอบเดือน สุขภาพ หรือการใช้ยาบางชนิด


มูกตกไข่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์อย่างไร?


แน่นอนว่าการมีมูกตกไข่แสดงให้เห็นว่าแม่ๆกำลังจะมีไข่ตกลงมาในรอบเดือนนั้น เป็นสัญญาณในเบื้องต้นให้เรารู้ว่ารังไข่ยังมีการทำงานปกติ ฮอร์โมนยังสมดุล ยังมีการผลิตไข่และโตพร้อมตก หากไข่ตกลงมาแล้วได้รับการปฏิสนธิก็มีโอกาสตั้งครรภ์


ดังนั้นผู้หญิงที่ช่องคลอดแห้ง ไม่มีมูกตกไข่เลย อาจเป็นสัญญาณของภาวะรังไข่เสื่อม ฮอร์โมนไม่สมดุล ซึ่งเป็นสาเหตุของการตั้งครรภ์ได้ยากขึ้นค่ะ



.


รู้ไหมค่าความเป็นกรด-ด่างของมูกตกไข่ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์?


ค่าความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอดและในปากมดลูกของฝ่ายหญิงมีความสำคัญมาก

โดยปกติร่างกายจะควบคุมค่า pH ของช่องคลอดให้อยู่ในสภาวะที่เป็นกรดอ่อนๆ (ค่า pH อยู่ที่ 3.8-4.5) เพื่อเป็นการสร้างเกราะป้องกันแบคทีเรีย (BV) และ ยีสต์ (Candida) ไม่ให้เจริญเติบโตในช่องคลอด แต่ผลเสีย คือ#สภาวะเป็นกรดนี้เองที่จะทำลายสเปิร์มด้วย เพราะสเปิร์มจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ในสภาวะที่เป็นด่างค่ะ


อย่างไรก็ตามเมื่อถึงช่วงเวลาตกไข่ของแต่ละรอบเดือนร่างกายก็จะปรับตามธรรมชาติ ซึ่งช่วงตกไข่จะมีการหลั่ง Luteinizing Hormon (LH) ออกมาส่งผลให้มีการสร้างมูกไข่ตกที่จะช่วยปรับค่า pH ของช่องคลอดให้มีความเป็นด่างประมาณ pH 7 เพื่อให้สเปิร์มได้ผ่านด่านว่ายเข้ามาได้ง่ายขึ้นและทำให้


สเปิร์มมีชีวิตอยู่ในร่างกายของผู้หญิงได้ถึง 2-5 วัน มีโอกาสว่ายไปถึงท่อนำไข่และปฏิสนธิต่อไป


ดังนั้น การรักษาความสมดุลของกรด-ด่างในร่างกายจึงสำคัญมากต่อแม่ๆ ที่อยากท้อง ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่างหรืออัลคาไลน์จะช่วยปรับสมดุลความเป็นด่างในร่างกายให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม #ทำให้มีมูกตกไข่ ส่งผลให้มีโอกาสตั้งครรภ์ง่ายขึ้น หากช่องคลอดมีสภาพเป็นกรด สเปิร์มก็จะตายเรียบ!


สภาวะร่างกายที่เป็นกรด หรือ ด่างนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาการนอนหลับที่มีคุณภาพ อาหารที่เรารับประทาน ความเครียด การออกกำลังกาย


โดยเฉพาะอาหารเป็นตัวแปรหนึ่งที่สำคัญที่มีส่วนทำให้ร่างกายมีสภาวะเป็นกรด หรือ ด่าง โดยจะต้องดูจากกระบวนการทางเคมีในร่างกายว่าจะเปลี่ยนอาหารที่กินเข้าไป ให้กลายเป็นกรดหรือด่างในขั้นตอนสุดท้าย เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของอาหารแต่ละชนิด เช่น


📚ในกรณีการศึกษาพบว่า กรดซิตริค ที่พบในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะกรูด มะนาว เป็นกรดผลไม้ที่จะถูกเปลี่ยนต่อไปเป็นไบคาร์บอเนต และ #เพิ่มสภาวะความเป็นด่างให้กับร่างกาย


ส่วนอาหารที่เพิ่มสภาวะเป็นกรดให้กับร่างกาย ได้แก่ น้ำตาล ไขมันทรานส์ เนื้อแดง ผลิตภัณฑ์จากนม เกลือ คาเฟอีน แอลกอฮอล์ค่ะ


มูกตกไข่จึงมีความสำคัญเพราะมันเป็นสัญญาณว่าแม่ๆ อาจมีไข่ตกในทุกเดือน อย่างไรก็ตามแม่ๆ ต้องรักษาสมดุลของฮอร์โมน รักษาความเป็นกรด-ด่างของร่างกายให้เหมาะสมด้วยเพื่อให้มูกตกไข่อยู่ในสภาวะที่เป็นด่าง เหมาะสมต่อความอยู่รอดของสเปิร์ม เป็นการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ค่ะ


ดู 1,907 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page