top of page
ค้นหา

มนุษย์เมนส์ เหวี่ยงวีน ซึมเศร้า กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)...รับมืออย่างไร❓


มนุษย์เมนส์ เหวี่ยงวีน ซึมเศร้า กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)...รับมืออย่างไร❓


🙎‍♀️ผู้หญิงหลายคนอาจประสบกับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ไม่ว่าจะเป็นอาการทางร่างกาย เช่น ปวดท้อง ตัวบวม คัดเต้านม หรืออาการแปรปรวนทางอารมณ์ เหวี่ยงวีน อาการเหล่านี้ปกติหรือไม่? เกิดจากสาเหตุใด และจะรับมืออย่างไร? ครูก้อยสืบค้นข้อมูลมาให้แล้ว ไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ


#อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome) หรือที่เรียกว่า พีเอ็มเอส (PMS) คืออาการทางอารมณ์ ร่างกายและพฤติกรรม เช่น หงุดหงิด เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือเจ็บเต้านม พบว่าอาการต่าง ๆ ของอาการก่อนมีประจำเดือนนั้นเกิดกับสตรีวัยเจริญพันธ์ได้ถึง 85 เปอร์เซ็นต์ โดยระดับความรุนแรงของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จะมีตั้งแต่ที่สามารถสังเกตได้เล็กน้อยไปจนถึงอาการที่รุนแรงมาก อาการต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนและมักจะ


หายไปเมื่อประจำเดือนมา



#อาการก่อนมีประจำเดือนเกิดขึ้นได้อย่างไร❓


ส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการก่อนมีประจำเดือนจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิง คือ ฮอร์โมนโปรเจสเตโรน (Progesterone) และเอสโตรเจน (Estrogen) ในช่วงก่อนมีประจำเดือน รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง โดยมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีผลต่ออารมณ์และเป็นส่วนที่กระตุ้นอาการก่อนมีประจำเดือนได้ การขาดเซโรโทนิน อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในช่วงก่อนมีประจำเดือน ทำให้เกิดความอ่อนล้า มีความอยากอาหารมากขึ้นและทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับได้


นอกจากนั้น อาการก่อนมีประจำเดือนสามารถมี


ความรุนแรงขึ้นได้หากเกิดภาวะซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม ภาวะซึมเศร้าไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดอาการนี้



#อาการก่อนมีประจำเดือนเป็นอย่างไร ❓


มักจะเกิดขึ้น 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน โดยอาการและความรุนแรงของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป และอาจเกิดขึ้นไม่ซ้ำกันในแต่ละเดือน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดเพียงไม่กี่อาการดังต่อไปนี้


👉อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ได้แก่


- มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดหรือโกรธง่าย


- มีความตึงเครียด วิตกกังวล และไม่มีสมาธิ


- มีอารมณ์เศร้า ร้องไห้บ่อย


- มีความต้องการหรืออยากอาหารมากกว่าปกติ



- มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม (Social Withdrawal)


- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ (Insomnia)


👉อาการทางด้านร่างกาย ได้แก่


- เจ็บเต้านม


- ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ


- ปวดศีรษะ


- ปวดท้อง ท้องอืด


- ท้องผูกหรือท้องเสีย


- น้ำหนักตัวเพิ่ม


- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย


- มีสิวขึ้น


อาการเจ็บปวดทางร่างกายหรือความเครียดที่เกิดขึ้นกับบางราย อาจมีความรุนแรงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่โดยปกติอาการต่าง ๆ จะหายไปภายใน 4 วัน ตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน



#เมื่อใดที่ควรพบแพทย์ ❓


หากอาการก่อนมีประจำเดือนเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สามารถควบคุมอาการได้และยังคงอยู่หรือพัฒนาไปจนเกิดกลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder: PMDD) ซึ่งมีความรุนแรงทางด้านอารมณ์มากกว่าอาการก่อนมีประจำเดือน โดยมีอาการผิดปกติทางกายและใจอย่างรุนแรง เช่น ซึมเศร้าอย่างมาก อารมณ์แปรปรวนง่าย โกรธง่าย ไม่มีสมาธิ อ่อนเพลีย วิตกกังวลและเครียด ซึ่งควร


ปรึกษาแพทย์โดยเร็ว



#รักษาและบรรเทาอาการได้อย่างไร ❓


วิธีบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือนมีมากมาย แต่บางวิธีอาจจะไม่ได้ผลสำหรับบางคน ผู้ป่วยจึงต้องพยายามลองปฏิบัติให้หลากหลาย เพื่อให้ได้วิธีที่ได้ผลกับตนเองที่สุด


👉ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต


- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยออกกำลังกายผสมผสานกันระหว่างการออกกำลังกายที่ใช้กำลังระดับปานกลางและแบบแอโรบิคที่ใช้กำลังมาก


ออกกำลังกายที่ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 2 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไป


- ฝึกบริหารร่างกายหรือออกกำลังกายแบบผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือออกกำลังกายที่ช่วยฝึกการ


หายใจอย่างถูกต้อง เช่น โยคะ จะช่วยลดอาการปวดศีรษะ ความวิตกกังวล หรือนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี


- นอนหลับให้ได้ 8 ชั่วโมงต่อวัน


- ทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นเวลา เช่น รับประทานอาหาร ออกกำลังกาย และเข้านอน ให้ตรงเวลาเสมอ


- พยายามรับมือกับความเครียดด้วยวิธีที่ดีต่อสุขภาพ เช่น พูดคุยกับเพื่อน เล่นโยคะ นวดผ่อนคลายหรือการบำบัดต่าง ๆ


- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือน เพราะอาจมีผลทำให้รู้สึกเศร้าหรือหดหู่มากยิ่งขึ้น


👉ดูแลเรื่องโภชนาการ


รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อรักษาสมดุล


ของร่างกายและจิตใจให้ดีอยู่เสมอ


- ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbohydrate) อยู่สูง เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ เช่น งาดำ ควินัว เมล็ดฟักทอง แฟล็กซีด ลูกเดือย ถั่วต่างๆ


- ลดการบริโภคของมัน ของทอด อาหารปรุงรสจัด


- ลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เกลือ (โซเดียม) และน้ำตาล มากจนเกินไป


- ดื่มน้ำขิงอุ่นๆจะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี รู้สึกผ่อนคลาย

.

.


💟กลุ่มอาการ PMS เกิดขึ้นมีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน หมั่นสังเกตอาการของตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ออกกำลังกาย จัดการความเครียด และการรับประทานอาหารให้


เหมาะสมก็จะช่วยบรรเทาได้ค่ะ



ดู 808 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page