📣 ปล่อยมานานไม่ท้องสักที เช็กให้ชัวร์ใช่เราหรือเปล่าที่มีปัญหา 4 ข้อนี้
top of page
ค้นหา

📣 ปล่อยมานานไม่ท้องสักที เช็กให้ชัวร์ใช่เราหรือเปล่าที่มีปัญหา 4 ข้อนี้



คู่สมรสที่มีบุตรยากอาจมีสาเหตุมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ ทั้งสองฝ่าย ในทางการแพทย์การมีบุตรยากสาเหตุมาจาก...



ฝ่ายหญิง 60-70%


ปัญหาจากฝ่ายชาย 30-40% หรือ


ไม่ทราบสาเหตุอีก 10-20%



จะเห็นได้ว่าสาเหตุจะมาจากฝ่ายหญิงเป็นส่วนใหญ่


นั่นก็เพราะว่าระบบสืบพันธุ์ของฝ่ายหญิงมีความซับซ้อนมากกว่าจึงอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้ในหลายจุด



วันนี้ครูก้อยสืบค้นข้อมูลมาให้แล้ว เราไปดูกันค่ะว่า 4 สาเหตุหลักยอดฮิตที่มาจากฝ่ายหญิงมีอะไรบ้าง



.



(1) อายุมาก เซลล์ไข่ลดลง และ ด้อยคุณภาพ



แม่ๆรู้ไหม? ผู้หญิงทุกคนเกิดมามาพร้อมกับเซลล์ไข่ที่มีอยู่แล้วในรังไข่ของเรา ทุกคนมีไข่ของตนเอง



มาตั้งแต่เกิดเลยค่ะ โดยปกติเราจะมีไข่ในรังไข่ประมาณ 7 ล้านใบอยู่ในรังไข่ แต่จะค่อยๆ สลายตัวไปเหลือเพียง 2 ล้านใบในวัยแรกเกิด



.



อย่างไรก็ตามคุณภาพของไข่เสื่อมลงไปทุกวันพร้อมกับเวลาที่เดินไปเรื่อยๆ ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัย 35 ปีซึ่งทางการแพทย์ถือว่าเป็นช่วง "ขาลงของภาวะเจริญพันธุ์"



เมื่ออายุเราเพิ่มมากขึ้น เซลล์ทุกเซลล์ก็จะแก่ตามไปด้วย ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ กับเจ้าเซลล์ไข่ที่ก็แก่ไปตามอายุด้วยเช่นกันค่ะ ถึงแม้ว่าเราจะเกิดมาพร้อมเซลล์ไข่เป็นล้านๆเซลล์ แต่คุณภาพของเซลล์ไข่เหล่านี้ก็ลดลงเรื่อยๆไปตามเวลาค่ะ เซลล์ไข่จำนวนมากเสื่อมและตายลงไปก่อนที่เราจะเข้าสู่ภาวะเจริญพันธ์เสียด้วยซ้ำ



.



นั่นหมายความว่าเราจะมีเซลล์ไข่เหลืออยู่ประมาณ 7 แสนใบเมื่อถึงระยะเวลาที่เราเริ่มมีประจำเดือน! แต่จะมีไข่ที่มีผลทำให้ตั้งครรภ์ได้เพียง 400-500



ฟองเท่านั้น เพราะการตกไข่แต่ละครั้งจะมีไข่เพียงฟองเดียวที่สมบูรณ์ พร้อมจะให้อสุจิเข้ามาผสมได้



.



เซลล์ไข่จะตกออกมาทุกเดือน (การตกไข่)


โดยปกติแล้วไข่จะตกออกมาทุกรอบเดือน โดยจะตกครั้งละ 1 ใบ แต่ก็มีผู้หญิงบางส่วนที่ไข่ตก 2 ใบพร้อมกัน ซึ่งในกรณีนี้ว่าที่คุณแม่มีโอกาสได้ครรภ์แฝดนั่นเองค่ะ อย่างไรก็ตามมีผู้หญิงจำนวนมากที่ไข่ไม่ตกเลย ซึ่งกรณีนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยากค่ะ



.



ทุกๆเดือนผู้หญิงจะสูญเสียเซลล์ไข่ไปตลอดค่ะ จนเมื่อเข้าสู่ภาวะวัยทองก็จะมีเซลล์ไข่เหลืออยู่น้อยกว่า 1 พันเซลล์!



สาเหตุการมีบุตรยากเนื่องมาจากเซลล์ไข่น้อยด้อยคุณภาพ เซลล์ไข่เสื่อม ไข่แก่ ไข่ฝ่อ



.



เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป เซลล์ไข่ที่มีลดลงตามที่กล่าวมาข้างต้น ซ้ำร้ายคือเซลล์ไข่ของผู้หญิงในวัยนี้เป็นเซลล์ไข่ที่มีเปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของโครโมโซมสูงถึง 50%



และยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นจนถึงวัย 40 ปี เซลล์ไข่จะมีเปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของโครโมโซมสูงถึง 80-90% เลยทีเดียว



ไข่ที่มีโครโมโซมปกติส่งผลต่ออัตราการปฏิสนธิที่ต่ำลง และไม่แบ่งเซลล์ไปต่อที่จะกลายเป็นตัวอ่อน



หรือถ้าใช้ไข่ทำด็กหลอดแก้ว อาจทำให้ได้ตัวอ่อนไม่มีคุณภาพ เลี้ยงไม่ถึงระยะบลาสต์ ตัวอ่อนตายหมด หรือไม่ฝังตัว มีโอกาสแท้งสูงนั่นเองค่ะ



.



(2) ภาวะ PCOS ไข่ไม่ตกเรื้อรัง



ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง หรือ PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) เป็นความผิดปกติของการทำงานของรังไข่ ที่ทำให้กระบวนการโตของไข่นั้นหยุดชะงัก โดยร่างกายนั้นสูญเสียกลไกการควบคุมการเจริญเติบโตของไข่ ทำให้เกิดปัญหาประจำเดือนไม่มาตามกำหนด ขาดประจำเดือน สิวขึ้น ผิวมัน มีบุตรยาก นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูกในระยะยาว และเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานเมื่ออายุมากขึ้น ประมาณร้อยละ 10 ของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ จะมีปัญหาเรื่องของภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังซ่อนอยู่ อาการแต่ละคนที่เป็นนั้นแตกต่างกันได้หลายรูปแบบ บางคนมีประจำเดือนมาสม่ำเสมอดี หรือไม่สม่ำเสมอ หรือขาดประจำเดือนอยู่บ่อยๆ ก็เป็นภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังได้



อาการที่พบ



สิวขึ้นไม่หาย ผิวมัน บางรายอ้วนมาก และบางรายมีขนดกกว่าปกติ หรือผมที่ศีรษะร่วงแบบผู้ชาย บางรายไม่มีอาการอะไรผิดปกติเลย ยกเว้นเพียงแค่ไม่มีบุตร และมาตรวจพบขณะตรวจหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก



การตรวจร่างกาย อาจจะไม่พบความผิดปกติอะไรเลย หรือพบว่ามีสิวมากกว่าปกติ ผิวมัน บางรายอ้วน รูปร่าง



ผอมบางก็พบได้บ่อย ส่วนการตรวจฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของรังไข่จะพบภาวะความไม่สมดุลย์ของฮอร์โมน การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด จะพบลักษณะของรังไข่ที่เฉพาะตัว คือจะเห็นไข่อ่อนอยู่ภายในรังไข่เป็นจำนวนมาก และจัดเรียงตัวอยู่ที่ผิวรังไข่คล้ายสร้อยไข่มุก ซึ่งเป็นลักษณะของอัลตราซาวด์ที่ให้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังได้ถูกต้องที่สุด



สาเหตุของภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง?



งานวิจัยทางการแพทย์ยังไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด PCOS ได้ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่อาจส่งผลให้เกิด PCOS



1. ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล



อาจเกิดจากความผิดปกติของรังไข่เอง ต่อมผลิตฮอร์โมนชนิดต่างๆ ในร่างกาย หรือสมองซึ่งมีหน้าที่ควบคุมฮอร์โมน รวมถึงภาวะดื้ออินซูลิน ที่ทำให้ฮอร์โมนมีปริมาณเปลี่ยนไป เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการส่งผลต่อร่างกายอักเสบ ฮอร์โมนไม่สมดุล การติดของหวาน แอลกอฮอล์ กินมัน ทอด พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย ความเครียด



2. มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมีปริมาณสูงกว่าปกติ



เทสโทสเทอโรน คือฮอร์โมนเพศชายชนิดหนึ่ง โดยปกติจะถูกผลิตขึ้นในร่างกายของเพศหญิงปริมาณเล็กน้อย ระดับเทสโทสเทอโรนที่สูงมากกว่าระดับทั่วไปส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติได้



3.ภาวะดื้ออินซูลิน



อินซูลินคือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นภายในตับอ่อน นอกจากมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อินซูลินยังทำหน้าที่กระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศชายชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เทสโทสเทอโรน ผู้หญิงที่มี "ภาวะดื้ออินซูลิน" หรือภาวะที่เซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองกับปริมาณอินซูลินปกติ ทำให้ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมากขึ้นไปด้วย



โดยปริมาณอินซูลินและเทสโทสเทอโรนที่มากผิดปกติ จะกระทบต่อการสร้างถุงน้ำในรังไข่ การตกไข่ ลักษณะทางกายภาพ และน้ำหนักตัวของผู้ป่วย ดังนั้น ภาวะดื้ออินซูลิน จึงอาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิด PCOS



4.พันธุกรรม



บุคคลที่มีคนใกล้ชิดทางสายเลือดเป็น PCOS จะมีความเสี่ยงต่อการเป็น PCOS มากกว่าบุคคลอื่น ในปัจจุบัน นักวิจัยกำลังศึกษาถึงยีนส์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของ PCOS แต่ยังไม่มีผลลัพธ์ออกมาเป็นที่ชัดเจน



.



(3) ท่อนำไข่อุดตัน



"ท่อนำไข่" เป็นอวัยวะส่วนที่ต่อมาจากส่วนของมดลูก โดยหน้าที่นั้นเป็นท่อให้ไข่กับอสุจิไปพบกัน ต่างคนต่างมาพบกันครึ่งทางที่ประมาณกลางท่อนำไข่ และปฏิสนธิกันตามธรรมชาติ หลังจากน้ันตัวอ่อนที่ผสมแล้ว จะเคลื่อนตัวออกจากท่อนำไข่มาฝังตัวในมดลูก และเจริญพัฒนาเป็นมนุษย์ต่อไป



เมื่อท่อนำไข่อุดตัน ไม่ว่าจะอุดตันที่ส่วนไหนๆของท่อนำไข่ ก็จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของไข่และอสุจิ ทำให้ไข่กับอสุจิไม่ไปพบกัน ดังนั้นการปฏิสนธิตามธรรมชาติจึงไม่เกิดขึ้น



อาการที่พบ



ภาวะนี้แทบไม่ก่อให้เกิดอาการ ต่างจากการไม่มีไข่ตก ซึ่งประจำเดือนที่มาไม่สม่ำเสมออาจช่วยบ่งบอกปัญหาได้



ชนิดของการอุดตันของท่อนำไข่แบบพิเศษที่เรียกว่า Hydrosalpinx หรือท่อนำไข่โป่งพองเป็นถุงน้ำ อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย และตกขาวผิดปกติได้ แต่ไม่ใช่ว่าผู้หญิงทุกคนจะมีอาการ



สาเหตุที่ทำให้เกิดท่อนำไข่อุดตัน?



มักเกิดจากการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานมาก่อน ซึ่งอาจจะไม่มีอาการในบางราย หลังการอักเสบหายไป สิ่งที่หลงเหลือคือการเกิดพังผืดในท่อนำไข่ทำให้ท่ออุดตัน และมักจะมีพังผืดภายนอกบริเวณผิวมดลูกกับรังไข่และท่อนำไข่ร่วมด้วย



.



(4) เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่



เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หมายถึงการที่มีเซลล์คล้ายกับเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญขึ้นที่อื่นนอกเหนือจากในโพรงมดลูกที่มันควรอยู่ (พบได้ 3-18 % ในสตรีทั่วไป) การเจริญผิดที่นี้แบ่งเป็น



1. อยู่ในเนื้อมดลูก (Endometriosis interna หรือ Adenomyosis)



หมายถึง เยื่อบุโพรงมดลูกมันเจริญแทรกเข้าไปอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูกแทนที่จะอยู่แต่เพียงผิวด้านในของมดลูกเท่านั้นทำให้เนื้อมดลูกโตขึ้นเฉพาะที่หรือโตขึ้นทั้งก้อน เวลาตรวจจะพบว่ามดลูกโตขึ้นคล้ายกับโรคเนื้องอกมดลูก



2. อยู่นอกมดลูก (Endometriosis Externa)



คือ เยื่อบุโพรงมดลูกไปขึ้นนอกจากในเนื้อมดลูก มักขึ้นที่รังไข่ ท่อมดลูก เส้นเอ็นของมดลูก หรือนานๆ ก็พบว่ามีบ้างที่ตับ กระบังลมปอด หรือเนื้อปอด หรือขึ้นที่แผลที่เคยผ่าตัดช่องท้อง



อาการที่พบ



1.อาการปวด



ได้แก่ การปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดเวลาถ่ายอุจจาระ (โดยเฉพาะเวลาท้องผูก) ปวดเวลาปัสสาวะ หรือปวดปัสสาวะตลอดเวลา ปวดที่บริเวณแผลผ่าตัดหน้าท้อง (ซึ่งมักปวดมากเวลามีประจำเดือน) ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ (และ/หรือหลังจากนั้น)



2.อาการเลือดประจำเดือนผิดปกติ



คือ ประจำเดือนมามาก มาไม่สม่ำเสมอ มานานมากะปริดกะปรอย การมีประจำเดือนผิดปกติ



อาจอธิบายได้ว่าเกิดจาก โรคนี้มีส่วนทำให้ไข่ไม่ค่อยตก เลือดออกมากเพราะมันมีส่วนทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ ทำให้มดลูกโต



มีเนื้อที่การมีเลือดออกในโพรงมดลูกมากขึ้น และการที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ไปแทรกระหว่างกล้ามเนื้อมดลูกทำให้มดลูกบีบตัวเพื่อให้เลือดหยุดได้ไม่ดี คนที่เป็นโรคนี้ก็จะมีอาการประจำเดือนมากผิดปกติได้เช่นเดียวกับคนที่เป็นโรคเนื้องอกของมดลูก



สาเหตุที่ทำให้เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่?



อาจเกิดจากตอนที่มีประจำเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาพร้อมกับเลือดไหลย้อนกลับไปทางท่อนำไข่ ทำให้เข้าไปในช่องท้องบริเวณอุ้งเชิงกรานได้ (เพราะปลายท่อนำไข่เปิดอยู่) ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นกับการมีประจำเดือนของคนทั่วไป 70-80 % (ที่เลือดไหลย้อนเข้าไปในอุ้งเชิงกราน) แต่ไม่ทุกคนที่เป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่



ได้มีการอธิบายว่าปกติเนื้อเยื่อของร่างกายถ้าอยู่ผิดที่จะถูกเม็ดเลือดขาวและภูมิต้านทาน (antibody) มาทำลายทิ้งไป แต่ในรายที่เป็นโรคนี้มีการตรวจพบว่ามีภูมิต้านทานที่จะต้านเซลล์เหล่านี้ลดลงกว่าคนที่ไม่เป็น



มีทฤษฎีการเกิดโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อื่นๆ อีกหลายทฤษฎี แต่ทุกทฤษฎีก็ไม่สามารถอธิบายการเกิดขึ้นและดำเนินไปของโรคได้ดี สรุปคือยังไม่แน่ใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรแน่นอนค่ะ



.


.



หากแม่ๆ กำลังอยู่ในภาวะมีบุตรยากและมีอาการข้างต้นควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดจะได้ทำการรักษา เพื่อเตรียมพร้อมตั้งครรภ์ต่อไปค่ะ



แต่สำหรับแม่ๆ ที่อายุมากก็ไม่ต้องกังวลค่ะ เรารักษาเรื่องอายุที่เดินไปตามธรรมชาติไม่ได้ แต่เราสามารถ"บำรุงไข่" ที่เรามีให้มี "คุณภาพ" ได้ค่ะ



อีกทั้งภาวะ PCOS สามารถเยียวยาและปรับสมดุลฮอร์โมนให้กลับมาปกติได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤตืกรรมการกิน การควบคุมน้ำหนัก และการพักผ่อนที่เพียงพอ

ดู 8 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page