ท้องยาก อย่ารอ ไปหาหมอค่ะ! จะได้รู้สาเหตุเพื่อรักษา และบำรุงให้ตรงจุดถ้ายังไม่ท้อง!
top of page
ค้นหา

ท้องยาก อย่ารอ ไปหาหมอค่ะ! จะได้รู้สาเหตุเพื่อรักษา และบำรุงให้ตรงจุดถ้ายังไม่ท้อง!


ถ้ายังไม่ท้อง! ลองเจาะเลือดเช็ค 2 ฮอร์โมนนี้

แม่ๆที่อยากท้องแต่เบบี๋ก็ไม่มาสักที ทั้งที่ร่างกายก็แข็งแรงดี ทำไมยังไม่ท้องนะ❓ หากลองมาเป็นปีแล้วยังไม่ท้องควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุค่ะ โดยปกติที่เราคิดว่าเราแข็งแรงดีแต่ฮอร์โมนภายในนั้นเราไม่อาจทราบได้ เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อเช็คฮอร์โมน 2 ตัวนี้เป็นเบื้องต้นเพื่อคัดกรองว่าแม่ๆเป็นผู้มีบุตรยากหรือไม่❓ ได้แก่ฮอร์โมนตัวไหนบ้างนั้น ไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ



1. #ฮอร์โมนไทรอยด์ Thyroid-stimulating hormone (TSH)


แพทย์จะตรวจเลือดหาค่าฮอร์โมน TSH เพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งหากมีภาวะต่อม


ไทรอยด์ทำงานเกิน (Overactive thyroid หรือ Hyperthyroidism) อาจส่งผลให้กิดภาวะไข่ไม่ตก ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก หรือ ทำให้ไม่เกิดการฝังตัวของทารกหรือการแท้ง


TSH เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน T3 (Triiodothyronine) และ T4 (Thyroxine)


👉หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนได้ตามปกติค่า TSH จะต่ำ


👉หากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน หรือสังเคราะห์ได้น้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น ในกรณีที่มีการขาดสารไอโอดีน ต่อมใต้สมองจะหลั่ง TSH ออกมามากขึ้น เพื่อกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทำให้ค่า TSH สูง


✔ค่าปกติอยู่ที่ 0.4-4.0 mU/L


✔หากระดับ TSH มีค่าอยู่ระหว่าง 15-20 mU/L จะต้องติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด



ถ้าระดับ TSH มากกว่า 20 mU/L แสดงว่าต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้อย่างเพียงพอ


👉ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน คือ ภาวะความผิดปกติของฮอร์โมนที่มีมากเกินไป ทำให้ร่างกายมีกระบวนการเผาผลาญที่มากขึ้น และทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้น เช่น ตื่นเต้นและวิตกกังวล อยู่ไม่สุข น้ำหนักลด และต่อมไทรอยด์บวมโต


ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินมากกว่าผู้ชาย 10 เท่า ส่วนมากผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการครั้งแรกในอายุระหว่าง 20-40 ปี แต่ก็อาจพบได้ในทุกช่วงอายุ


👉อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินคือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนขาด ส่งผลให้ไข่ไม่ตกทำให้มีบุตรยากนั่นเองค่ะ


.


2. #ฮอร์โมนโปรแลคติน Prolactin (PRL)


โปรแลคติน (Prolactin)เป็นฮอร์โมนผลิตออกมาจากสมองส่วนหน้าเช่นเดียวกับ FSH และ LH มีหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารก ระดับโปรแลคตินจะสูงในสตรีขณะตั้งครรภ์และขณะให้นมบุตร จึงเรียกว่าเป็น "ฮอร์โมนน้ำนม" ฮอร์โมนตัวนี้จะกดวงจรการตกไข่ เพราะมันมีอำนาจยับยั้งการหลั่งของ FSH และ LH ซึ่งเป็นฮอร์โมนรังไข่และฮอร์โมนตกไข่ เมื่อ FSH และ LH ลดลง การกระตุ้นการทำงานของรังไข่ก็ลดลง ทำให้การผลิตฮอร์โมนจากรังไข่ลดลง และไข่ไม่ตก


👉ระดับโปรแลคตินมีค่าปกติอยู่ที่ไม่เกิน 25 mcg/L


👉หากมีภาวะโปรแลคตินสูงในสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ และไม่ได้ให้นมบุตร จะมีผลกระทบต่อการทำงานของรังไข่ด้วย มีความรุนแรงต่างกันแล้วแต่ระดับของฮอร์โมนที่ผิดปกติและปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย ส่งผลให้


✔มีการตกไข่ปกติ


✔มีการตกไข่แต่ระดับโปรเจสเตอโรนต่ำ

✔การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ตกไข่เลย ทำให้บางครั้งประจำเดือนไม่สม่ำเสมอหรือขาดประจำเดือน


.

.


ดังนั้นแม่ๆ ควรมาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อคัดกรองผู้มีบุตรยากในเบื้องต้น เพื่อทำการรักษาปรับฮอร์โมนดังกล่าวให้เป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนอีกหลายตัวที่แพทย์จะตรวจหากต้องเข้าทำการรักษาภาวะมีบุตรยสกด้วยการทำเด็กหลอดแก้วเพื่อประเมินแนวทางการรักษา ได้แก่ การประเมินจำนวนฟองไข่ตั้งต้น (AMH) การประเมินการทำงานของรังไข่ (FSH) ประเมินการตกไข่ (LH) เป็นต้น ซึ่งครูก้อยจะนำข้อมูลดีๆ มาฝากต่อไปค่ะ


ดู 85 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page