EAB0QEXbTASoBOZB7ZAcYLh1A1zKrvmntyi4nwsdK4ZCixZAMhZBKPzpEdJNF00ZBNVQZBkV7JcU88g2o98bTdZBXAZBZBttIOZBiZCKj755ukZAlTHMy44ZBjSKKE3zhvdk4M7nPbroJh60CEaq8kfZAYnmI44exDpieZCCoAzTO4RRji3clwuZCllPIsdUWaacrfZBE9nZA2TGOgZDZD ถ้าไม่ท้องสักที ‼️ ต้องตรวจฮอร์โมนคัดกรองภาวะมีบุตรยาก
top of page
ค้นหา

ถ้าไม่ท้องสักที ‼️ ต้องตรวจฮอร์โมนคัดกรองภาวะมีบุตรยาก



คู่สมรสที่พยายามปั๊มเบบี๋กันมาเป็นปี หากยังไม่ตั้งครรภ์ ต้องตั้งข้อสังเกตนะคะว่าเราอาจมีความผิดปกติ ในทางการแพทย์นั้นหากอยู่กินกันมีเพศสัมพันธุ์กันอย่างสม่ำเสมอ (สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง) โดยไม่คุมกำเนิด เป็นระยะเวลา 1 ปีแล้วยังไม่ท้อง ถือว่าเข้าจ่ายภาวะมีบุตรยากแล้วค่ะ (ถ้าฝ่ายหญิงอายุ 35 ไม่ต้องรอ 1 ปีค่ะ แค่ 6 เดือนก็ควรปรึกษาแพทย์แล้วค่ะ)


สำหรับฝ่ายหญิงนั้น การตรวจฮอร์โมนด้วยการเจาะเลือดเพื่อเช็คค่าฮอร์โมนต่างๆ สามารถคัดกรองได้ในเบื้องต้นว่าคุณอาจอยู่ในกลุ่มภาวะมีบุตรยากค่ะ


อย่ากลัวที่จะไปพบแพทย์ เพราะยิ่งปล่อยไว้นานก็จะท้องยากขึ้นอีกค่ะ อายุที่เพิ่มจึ้นไข่ยิ่งเสื่อมไปอีกนะคะ หากฮอร์โทนผิดเพี้ยนอีก มีแต่ขาลงค่ะ รอเบบี๋มาธรรมชาติอาจทีโอกาสน้อยมาก


วันนี้ครูก้อยจะพาไปศึกษาฮอร์โมนที่ใช้ประเมินคัดกรองความผิดปกของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงที่ส่งผลให้มีบุตรยากกันค่ะ เมื่อไปพบคุณหมอจะได้รู้ว่าฮอร์โมนนี้คืออะไร และมันบอกอะไรเราค่ะ


🔴 ฮอร์โมน คืออะไร❓


ฮอร์โมน คือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายของมนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อสื่อสารและทำหน้าที่ร่วมกันกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยฮอร์โมนจะหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อและซึมเข้าสู่เส้นเลือด จากนั้นจะอาศัยระบบการไหลเวียนของกระแสเลือด ส่งต่อไปยังเซลล์หรืออวัยวะต่างๆ เมื่อฮอร์โมนไปถึงอวัยวะที่เป็นเป้าหมาย ก็จะทำหน้าที่เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติ


ฮอร์โมนชนิดที่แตกต่างกันจะส่งผลแตกต่างกัน และมีฮอร์โมนแค่ไม่กี่ตัวเท่านั้นที่ส่งผลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ว่าที่คุณแม่ที่วางแผนท้องควรที่จะทำความรู้จักกับฮอร์โมนเหล่านี้และทำความเข้าใจว่ามันจะส่งผลอย่างไรกับคุณแม่ที่อยากจะตั้งครรภ์ค่ะ


🔴 คัดกรอง #ภาวะมีบุตรยาก ต้องตรวจฮอร์โมนอะไรบ้าง❓


1. AMH: Anti-Mullerian Hormone


AmH คือ "ฮอร์โมนบอกจำนวนไข่ตั้งต้น" เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากฟองไข่ในรังไข่ ปริมาณของฮอร์โมนจึงสัมพันธ์กับปริมาณไข่ที่เหลืออยู่ในรังไข่ของผู้หญิง และเป็นตัวบ่งบอกว่าแม่ๆ มีจำนวนฟองไข่ตั้งต้นมากหรือน้อย


การตรวจฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้ทราบว่าร่างกายเหลือปริมาณไข่อยู่มากน้อยเพียงใด และมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่ดีหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์คิดค้นหาวิธีที่จะช่วยให้คู่สามีภรรยา สามารถวางแผนการตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

ดังนั้นการตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมน AMH จัดเป็นทางเลือกสำคัญสำหรับใช้เป็นแนวทางในการวางแผนสำหรับการมีบุตร โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก


การเช็คระดับฮอร์โมน AMH สามารถเจาะเลือดเช็คตอนไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องตรวจในช่วงมีประจำเดือน ค่า AMH จะลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น

ค่า AMH ปกติควรอยู่ที่ 1.5 ขึ้นไป ซึ่งจะพอเห็นแนวโน้มว่ายังมีจำนวนฟองไข่ที่สามารถตั้งครรภ์ได้

แต่ถ้าน้อยมากแค่ 0.1-0.2 โอกาสที่จะกระตุ้นไข่ได้ไข่ที่มีคุณภาพจะน้อยมากๆ ค่ะ


2. FSH: Follicle Stimulating Hormone


FSH เป็นฮอร์โมนที่หลั่งมากระตุ้นการทำงานขอ

รังไข่ จะหลั่งมาเพื่อให้ไข่โตสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้น ฮอร์โมน LH (ฮอร์โมนไข่ตก) ก็จะถูกหลั่งออกมาเพื่อให้ไข่ตก ซึ่งฮอร์โมนสองตัวนี้ต้องตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน


ระดับของ FSH ในร่างกายจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรังไข่สำรองที่มีอยู่ในรังไข่ (ovarial reserve รวมถึงคุณภาพและจำนวนของไข่ที่เหลืออยู่)


ซึ่งทำให้การตรวจวัดระดับ FSH สามารถนำมาใช้


ทำนายได้ว่าแม่ๆ มีภาวะเจริญพันธุ์อยู่ในระดับใด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือฮอร์โมน FSH เป็นฮอร์โมนที่ใช้#ประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของรังไข่


เมื่อมีจำนวนไข่ลดน้อยลง และคุณภาพของไข่เสื่อมลง ร่างกายจะพยายามผลิต FSH ออกมามากขึ้นเพื่อเป็นชดเชยและจะได้กระตุ้นให้ Follicle หรือฟองไข่ มีการเจริญเติบโตมากขึ้น


การตรวจฮอร์โมน FSH จะเจาะเลือดตอนช่วงมีประจำเดือน 1-3 วันแรก โดยค่า FSH ปกติ ไม่ควรต่ำกว่า 3 และไม่ควรเกิน 10 ถ้าสูงเกินไปแสดงว่ารังไข่เริ่มเสื่อม ถ้า FSH สูงกว่า 40 และ Estradiol ต่ำกว่า 5 แสดงว่ารังไข่เสื่อมแล้วค่ะ


ด้วยเหตุนี้เอง หากพบว่ามีระดับ FSH สูงอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว หรือ ถ้าเกิดขึ้นในวัยที่ยังอยู่ในภาวะเจริญพันธุ์อาจหมายความว่าแม่ๆ อาจเข้าสู่วัยทองก่อนวัย หรือ ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย


หากมีระดับ FSH ต่ำเกินไป อาจส่งผลต่อภาวะ


เจริญพันธุ์ ทำให้วงจรรอบเดือนหยุดชะงักไปได้

(มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของภาวะ Polycystic Ovarian Syndrome หรือ PCOS)


3. LH: Luteinizing Hormone


LH หรือเรียกว่า "ฮอร์โมนไข่ตก" เป็นฮอร์โมนที่ปล่อยไข่ให้ตก พร้อมสำหรับการปฏิสนธิ เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) โดยฮอร์โมน LH จะทำหน้าที่กระตุ้นไข่ในเพศหญิงให้ตกลงมาตามรอบเดือน หากไม่มีฮอร์โมนดังกล่าวจะไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ ฮอร์โมน LH จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ ซึ่งจะมีผลทำให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอการปฏิสนธิ


ซึ่งแม่ๆสามารถเช็คฮอร์โมนตัวนี้ได้ด้วยการใช้ชุดตรวจไข่ตกจุ่มในปัสสาวะ เพื่อจะได้ทราบว่าในแต่ละเดือนเรามีไข่ตกหรือไม่ (ปกติไข่จะตกใน Day 14 ของรอบเดือน แม่ๆสามารถเช็คล่วงหน้าก่อน 2-3 วันได้ค่ะ เพราะไข่ไม่ได้ตกตรงเป๊ะใน Day 14 เสมอไป) จะได้วางแผนในการปั๊มเบบี๋ได้ตรงวันเป็นการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ค่ะ


สำหรับการตรวจเลือดเช็คระดับฮอร์โมน LH ต้องตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน 1-3 วันแรกโดย

ควรมีค่าอยู่ที่ 3-10 ซึ่ง LH กับ FSH จะดูคู่กันคือ LH ควรต่ำกว่า FSH 1-2 ค่า ถือว่าปกติ แต่ในผู้ที่อยู่ในภาวะ PCOS หรือภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง จะมีค่า LH สูงผิดปกติเพราะ PCOS เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดไข่ไม่ตกเรื้อรังอยู่แล้ว ดังนั้นร่างกายจึงต้องผลิตฮอร์โมน LH ให้สูงขึ้นอีกเพื่อต้องการให้ไข่ตก


4. TSH: Thyroid Stimulating Hormone


TSH "ฮอร์โมนไทรอยด์ ผู้หญิงบางคนอาจจะไม่รู้ว่าฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้คุณตั้งท้องได้เพราะ ต่อม Thyroid อวัยวะสืบพันธ์ของเพศหญิง และ ต่อม Adrenal นั้นเชื่อมต่อกันอยู่ ถ้ามีสิ่งผิดปกติไม่ว่าจะกับส่วนไหนก็ตาม การตั้งครรภ์อาจจะยากมาก


การตรวจระดับของฮอร์โมนไทรอยด์ แพทย์จะใช้ค่านี้เพื่อคัดกรองการมีบุตรยากเบื้องต้นเพราะถ้ามีค่าสูงผิดปกติจะมีผลต่อการตกไข่ค่ะ


ฮอร์โมนนี้สารมารถตรวจในช่วงไหนของรอบเดือนก็ได้ โดยค่าฮอร์โมนไทรอยด์ควรอยู่ที่ 0.4-4.0 ถ้าพบค่าต่ำหรือสูงผิดปกติหมออาจจะพิจารณาให้ตรวจเพิ่มเติมค่ะ


5. PRL: Prolactin


PRL "ฮอร์โมนน้ำนม" โปรแลคติน เป็น ฮอร์โมนที่จะจัดการการผลิตนม เตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับตอนคลอด แต่มันยังมีหน้าที่ในการทำให้ประจำเดือนมาอย่างปกติอีกด้วย หากมีฮอร์โมนโปรแลคตินสูงจะยับยั้งวงจรการตกไข่และทำให้ประจำเดือนไม่มา หากผู้หญิงคนใดตรวจพบฮอร์โมนตัวนี้ทั้งที่ตัวเองไม่ได้ตั้งครรภ์ เช่นพบว่ามีน้ำนมออกมาทั้งที่ยังไม่ได้ตั้งท้องแสดงว่า แสดงว่ามีฮอร์โมนโปรแลคตินสูงเกินไปในเวลาที่ไม่เหมาะสมจะทำให้วงจรการตกไข่ถูกขัดขวาง ส่งผลต่อการมีบุตรยาก


การตรวจฮอร์โมนตัวนี้จะตรวจช่วงไหนก็ได้ ไม่ขึ้นอยู่กับรอบเดือน โดยค่าโปรแลคติน ไม่ควรสูงกว่า 25 แต่ถ้าสูงแต่ไม่เกิน 50 แล้วไม่ได้มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ประจำเดือนผิดปกติ แบบนี้ก็ยังถือว่าโอเคอยู่ค่ะ ยังไม่ต้องรักษา ต้องดูเป็นกรณีไป แต่ถ้าสูงเกิน 100 อาจต้องส่งตรวจเพิ่มเติมต่อไปเพราะอาจเป็นเรื่องความผิดปกติของระบบสมองหรือระบบประสาท


6. E2: Estradiol


Estradiol "ฮอร์โมนเพศหญิง" หรือที่รู้จักกันในชื่อฮอร์โมนเอสโตรเจน ผลิตจากรังไข่ และทำให้ลักษณะร่างกายของผู้หญิงมีการเติบโต มีความเป็นผู้หญิงมากขึ้นเช่น สะโพกผาย มีหน้าอก และมีไขมันสะสมบริเวณสะโพก ผิวตึง มีเสียงแหลม และกระตุ้นการเจริญเติบโตของรังไข่ ถุงไข่ และไข่อ่อน เกี่ยวเนื่องกับการมีประจำเดือน การผลิตไข่และการตกไข่ ช่วยให้เซลล์มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น กระตุ้นเซลล์บริเวณปากมดลูกและช่องคลอดให้หลั่งน้ำเมือกหรือมูกตกไข่ที่ใส ไม่เหนียว และมีปริมาณมาก เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ของอสุจิไปยังมดลูกและปีกมดลูก


ฮอร์โมนนี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไข่โตขึ้นเรื่อยๆ ต้องตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน ซึ่งค่าปกติไม่ควรต่ำกว่า 20 ถ้าต่ำกว่านี้แสดงให้เห็นว่ารังไข่เริ่มทำงานไม่ดี ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อย


ถ้าหากเอสโตรเจนลดลงในช่วงวัยเจริญพันธุ์ อาจเป็นสัญญาณของภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย ซึ่งจะมีอาการเหมือนกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนในช่วงวัย 45-50 ปี มีความเสี่ยงที่กระดูกจะบางมากขึ้น เพราะมวลกระดูกลดลง กล้ามเนื้อไม่ค่อยแข็งแรง และมีภาวะของการหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบตามตัว ช่องคลอดแห้ง เป็นต้น


💗 รู้จักฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์กันอย่างละเอียดแล้ว เห็นมั้ยคะว่าฮอร์โมนที่สมดุลก็จะส่งผลต่อความปกติของการทำงานของรังไข่ การผลิตไข่ การเจริญเติบโตของไข่ การมีประจำเดือนและการตกไข่ แม่ๆจึงควรไปตรวจฮอร์โมนเพื่อจะได้


ทราบถึงปัญหาและสามารถรักษาได้ทันท่วงที


นอกจากนี้การรักษาฮอร์โมนให้สมดุลทำได้ด้วยการทานอาหารถูกหลักโภชนาการ รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอและไม่เครียดนะคะ


 

📱 ชมรายการครูก้อยพบแพทย์ "ก่อนทำเด็กหลอดแก้วต้องเจาะเลือดเช็คฮอร์โมนอะไรบ้าง

👇👇👇👇 (คลิกชมเลยค่ะ)


📱 ชมครูก้อยอธิบายเรื่องฮอร์โมน "ต้องตรวจอะไรก่อนไป ICSI" 👇👇👇👇 (คลิกชมเลยค่ะ)

💓 ศึกษาการบำรุงไข่ บำรุงมดลูก ปรับสมดุลฮอร์โมนให้ท้องธรรมชาติ

👇👇👇👇 (คลิกอ่านเลยค่ะ)

▶️ 🆔 ปรึกษา/สั่งผลิตภัณฑ์บำรุงแบบ ครูก้อย ที่ Line Official

คลิกลิ้งค์นี้เลย 👉 https://lin.ee/fBa4xkz


📞 Call Center : 083-4395882 (ในวัน-เวลาทำการค่ะ)


#ครูก้อยBabyandmom


ดู 1,218 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page