งานวิจัยเผย! ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index-BMI) ส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์🤰
top of page
ค้นหา

งานวิจัยเผย! ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index-BMI) ส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์🤰



งานวิจัยเผย! ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index-BMI) ส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์🤰



"ดัชนีมวลกาย" หมายถึงค่าดัชนีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนสูง และน้ำหนักตัว โดยคำนวณจาก...

น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยความสูง (เมตรยกกำลังสอง) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์คัดกรองภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน


(World Health Organization, 2016) องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเกณฑ์ค่าระดับดัชนีมวลกาย (Body Mass Index-BMI) เพื่อใช้เป็นแบบคัดกรองภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนดังนี้ค่ะ


ค่าดัชนีมวลกายที่มากกว่าหรือเท่ากับ 25 กก./เมตรยกกำลังสอง แสดงว่า เริ่มมีภาวะน้ำหนักเกิน

และค่าดัชนีมวลกายที่ 30 กก./เมตรยกกำลังสอง

หมายถึง ภาวะอ้วน


👉สำหรับประชากรในเอเชียได้กำหนดจุดตัดในการแบ่งกลุ่ม โดยที่ค่าดัชนีมวลกาย ที่ 23 กก./เมตรยกกำลังสอง หมายถึง ภาวะน้ำหนักเกิน


และค่าดัชนีมวลกายที่ 25 กก./เมตรยกกำลังสองแสดงถึง ภาวะอ้วน


👉วันนี้ครูก้อยสืบค้นงานวิจัยที่ศึกษาถึงผลกระทบของโรคอ้วนต่อการมีบุตรยากในผู้หญิงมาให้ศึกษากันค่ะ


📚จากงานวิจัยของสถาบัน American Society Reproductive Medicine (ASRM) เรื่อง Abnormal body weight: a preventable cause of infertility ศึกษาพบว่า...


ผู้หญิงมากกว่า 70% ที่มีปัญหามีบุตรยากจะสามารถมีบุตรได้โดยไม่ต้องใช้การรักษา เมื่อลดน้ำหนักลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ


📚ยังมีงานวิจัยเรื่อง Impact of Body Mass Index on female fertility and ART outcomes ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Panminerva Medica เมื่อปี 2019 ศึกษาพบว่า...


ค่า BMI ที่เกินเกณฑ์มาตรฐานส่งผลให้

- เกิดภาวะไม่ตกไข่ (anovulation)

- ประจำเดือนมาไม่ปกติ (irregular mense)

- ส่งผลต่อความเสื่อมถอยของ


คุณภาพของเซลล์ไข่ (adverse oocyte quality)

- มีการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial alterations)

- ฮอร์โมนไม่สมดุล (hormonal imbalances)


ซึ่งสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ธรรมชาติ และอาจต้องใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted-reproductive Technologies: ARTs) อย่างไร


ก็ตามการมีน้ำหนักเกินยังส่งผลต่ออัตราความสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีช่วยรักษาเช่นเดียวกันค่ะ


ดังนั้นนักวิจัยแนะนำว่าผู้หญิงที่จะเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์รักษาผู้มีบุตรยาก ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนเข้าสู่กระบวนการ และจะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติอีกด้วยค่ะ


.


.


แม่ๆ จึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สำคัญที่สุดคือการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการควบคู่ไปกับการออกกำลังกายก็จะช่วยปรับน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติค่ะ



ดู 75 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page