top of page
ค้นหา

กินอะไรล้างไขลูก ไม่อยากให้ลูกติดไขควรทานอะไรดี?



กินอะไรล้างไขลูก "ไข" เป็นสิ่งปกติที่สามารถติดอยู่ได้ตามบริเวณร่างกายของทารกทุกคนค่ะ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นไขสีขาว ซึ่งแต่ละคนก็จะมีปริมาณไขที่ติดตัวมาไม่เท่ากันค่ะ อย่างไรก็ดี เจ้า ไข ตัวนี้ไม่เป็นสิ่งอันตรายต่อตัวทารกแต่อย่างใด แถมยังมีประโยชน์มากกว่าข้อเสียอีกด้วย แต่คุณแม่หลาย ๆ ท่านก็ยังคงมีความกังวลใจไม่อยากให้ลูกมีไขติดตัว ในบทความนี้ครูก้อยจึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับไขทารกที่คุณแม่หลาย ๆ คนอาจไม่เคยรู้มาฝากกันค่ะ


กินอะไรล้างไขลูก ไขทารกคืออะไร จำเป็นต้องล้างไขให้ลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์เลยหรือเปล่า?


ช่วงหลังคลอดนอกจากความตื่นเต้นดีใจที่ได้เจอหน้าลูกน้อยเป็นครั้งแรกหลังรอคอยมายาวนานแล้ว ก็เป็นช่วงที่แม่ ๆ ต้องเริ่มงานการทำหน้าที่แม่อย่างเต็มตัวแล้วค่ะ ช่วงแรกคลอดอาจจะเป็นช่วงที่วุ่นวายอยู่ แม่หลายคนอาจจะตกใจที่เห็นลูกคลอดออกมามีคราบสีขาว สีเหลืองติดตัวออกมาด้วย ซึ่งในลำดับต่อไปเราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าสิ่งนี้กันค่ะว่าคืออะไรกันแน่ และเป็นอันตรายต่อลูกหรือเปล่า


ไขทารก คือ...


ไขหุ้มทารก (Vernix caseosa) หรือไขมันที่ปกคลุมร่างกายของทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นพัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่ช่วง 5 เดือนที่จะเริ่มมีการสร้างไขขึ้นมา ซึ่งไขนี้สร้างจากต่อมไขมัน และมีส่วนประกอบคือ สารให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ขี้ผึ้ง ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอล ค่ะ


"ไขทารก" อันตรายไหม หรือ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?


ไขทารกนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีอันตรายต่อลูกน้อยตามที่เข้าใจกันค่ะ ซึ่งคุณแม่หลาย ๆ ท่านก็อาจจะพอทราบอยู่แล้วว่าเจ้าไขตัวนี้ไม่ได้ก่ออันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่อาจจะมีความรำคาญใจที่ไขทารกยังติดอยู่บนตัวลูกเท่านั้นเอง


อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่มุมหนึ่ง นอกจากไขทารกจะไม่มีอันตรายแล้ว ยังมีประโยชน์มากกว่าที่คิดด้วยนะคะ เช่น


  • ปกป้องผิวหนังแรกเกิดของทารกทั้งที่คลอดจากช่องคลอดและผ่าคลอดให้ออกมาโดยไม่เจ็บปวด

  • มีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และเป็นระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยปกป้องผิวร่างกายทารกจากเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมในช่วงแรกคลอด

  • ช่วยปรับอุณหภูมิเมื่อทารกออกมาจากอุณหภูมิที่อุ่นในท้องแม่ มาเจอกับอุณหภูมิที่เย็นกว่าของโลกภายนอก

โดยประโยชน์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาล้วนเป็นข้อดีที่ส่งผลต่อลูกของเราทั้งสิ้นค่ะ


วิธีทำความสะอาดไขให้ลูกอย่างถูกต้อง


โดยปกติไขหุ้มทารกอาจจะค่อย ๆ หลุดลอกออกไปเองใน 2-3 วัน แต่หากต้องการทำความสะอาดไขขาว ๆ นี้ คุณแม่อาจใช้น้ำมันมะกอก เช็ดทำความสะอาดผิวลูกก่อนอาบน้ำล้างทำความสะอาดทารกปกติ


อย่างไรก็ตาม หลังจากคลอดเสร็จส่วนใหญ่พยาบาลจะเป็นผู้ทำความสะอาดให้โดยเฉพาะส่วนบริเวณหน้า มีบางทฤษฎีบอกว่าไม่ควรรีบล้างไขหุ้มทารกออก เพราะไขทารกทำหน้าที่ช่วยปกป้องผิวของร่างกายจากเชื้อโรค แต่บางทฤษฎีบอกว่าไขมันจากทารกจะทำให้เกิดการหมักหมมและอาจทำให้ทารกติดเชื้อโรคได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถล้างทำความสะอาดอาบน้ำลูกน้อยได้ตามปกติเมื่อลูกปรับอุณหภูมิร่างกายได้แล้ว หรือตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลค่ะ


สรุปแล้ว คุณแม่จำเป็นต้องล้างไขให้ทารกตั้งแต่ในครรภ์หรือไม่ ต้องกินอะไรจึงจะล้างไขให้ลูกได้?


จากที่ครูก้อยได้กล่าวไปค่ะว่าทุกวันนี้ พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะมีคำถามว่าจะต้องกินอะไร ถึงจะทำให้ลูกคลอดออกมามีไขน้อยที่สุด หรือกินอะไรเพื่อล้างไขทารกได้บ้าง ซึ่งทางการแพทย์ก็ได้กล่าวว่า นั่นเป็นความคิดที่ผิดและความเชื่อแบบผิด ๆ ที่ควรได้รับการแก้ไขความเข้าใจโดยด่วน เพราะที่จริงแล้ว ไขลูกเป็นสิ่งที่จำเป็น แถมยังมีประโยชน์อีกด้วย ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องล้างไขให้ลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ค่ะ


คำถามถัดมา คือ มีอะไรที่สามารถให้คุณแม่ทาน แล้วล้างไขให้ทารกเลยได้มั้ย คำตอบจากทางการแพทย์คือ ณ ปัจจุบันยังไม่มีอาหารชนิดไหนที่มีประสิทธิภาพในการล้างไขทารกได้ค่ะ แม้แต่มะพร้าวที่หลาย ๆ คนมีความเชื่อว่าสามารถล้างผิวลูกให้สะอาดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ก็ไม่สามารถล้างได้เช่นกัน


ดังนั้น คุณแม่และคุณพ่อควรปล่อยให้เจ้าไขชนิดนี้ทำหน้าที่ของมันไปตามธรรมชาตินะคะ ซึ่งมันจะสามารถหลุดไปตามกาลเวลาของมันได้ หากคุณพ่อคุณแม่มีความรำคาญใจก็ให้ทำความสะอาดตามคำแนะนำจากแพทย์ที่ครูก้อยนำมาฝากได้เลยค่ะ เพื่อความสบายใจของคุณพ่อคุณแม่ด้วย


บทความที่น่าสนใจ

ดู 3,376 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page