
แท้งบุตร แม่ๆ หลายคนอาจต้องเจอกับฝันร้ายสุดของคนเป็นแม่ คือ การแท้ง วันนี้เรามาทำความเข้าใจสาเหตุของการแท้งกันค่ะ การแท้งมันเป็นภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน
ครูก้อยไม่อยากให้แม่ๆ จมกับความเสียใจ หรือ คิดโทษตัวเอง แต่ให้มองในแง่ที่ว่า เราแท้งได้ แสดงว่าเราท้องได้ ดังนั้นมาเริ่มกันใหม่ได้ค่ะ
แท้งบุตร เกิดจากอะไร มีผลต่อการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปหรือไม่?
การแท้งถือเป็นภาวะผิดปกติอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้ประมาณ 10-15% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยการแท้งนั้นอาจกิดขึ้นได้ตั้งแต่เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 2-3 สัปดาห์ไปจนถึง 28 สัปดาห์ แต่การแท้งมักจะเกิดขึ้นในช่วงคุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 4-20 สัปดาห์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 13 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์
สัญญาณการแท้งมีอาการอย่างไร?
สัญญาณของการแท้งบุตรที่พบได้บ่อย คือ มีเลือดออกทางช่องคลอด โดยอาจไหลออกมาเพียงเล็กน้อยเป็นหยดๆ น้ำตาลหรือแดงสด ซึ่งอาการเลือดออกนี้อาจเป็นๆ หายๆ อยู่หลายวัน
อย่างไรก็ตาม การมีเลือดไหลทางช่องคลอดยังเป็นอาการพบได้ทั่วประหว่างการตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก หลายคนอาจเรียกว่า "เลือดล้างหน้าเด็ก" ซึ่งเกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนส่งผลให้เลือดที่เคยคั่งค้างอยู่ที่เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาได้
การมีเลือดออกจึงไม่ได้หมายความว่ามีการแท้งเกิดขึ้นเสมอไป
ทั้งนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเมือมีอาการที่อาจแสดงถึงการแท้งต่อไปนี้เกิดขึ้น
มีเลือดออกจากช่องคลอด โดยจากที่ออกแต่น้อยจะค่อยๆ รุนแรงมากขึ้น
มีเนื้อเยื่อถูกขับออกมาทางช่องคลอด
มีเมือกขาวอมชมพูออกจากช่องคลอด
เกิดตะคริวอย่างรุนแรง
ปวดเกร็งช่องท้องส่วนล่าง ปวดหลัง
อ่อนล้า ไม่มีแรง มีไข้
ไม่มีอาการแพ้ท้อง หรืออาการเคยเป็นเริ่มหายไปเช่น คลั่นไส้ อาเจียน หรือค้ดตึงเต้านมอีกต่อไป
การแท้งเกิดจากสาเหตุใด?
สาเหตุของการแท้งสามารถแบ่งออกเป็นหลักๆ ได้ 2 ปัจจัยด้วยกันค่ะ ประกอบด้วย
1. การแท้งบุตรที่เกิดจากทารก
กว่า 60% ของการแท้งทั้งหมด มักมีสาหตุมาจากความผิดปกติทางต้นโครโมโซมของทรกในครรภ์ โตยอาจจะมีลักษณะไม่พบตัวอ่อนในถุงการตั้งครรภ์เลย เรียกว่า "ภาวะไข่ฝ่อ" (blighted ovum) หรือท้องลม หรือบางเคสอาจเห็นตัวอ่อนในถุงการตั้งครภ์แล้ว แต่ไม่มีการทำงานของหัวใจ
2. การแท้งที่มีสาเหตุจากมารดา
การติดเชื้อต่างๆไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย เป็นการติดเชื้อทั่วร่างกาย หรือเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่
โรคประจำตัวของมารดา เช่น โรคเบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ SLE เป็นต้น
การรักษาโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะด้วยการายแสง หรือยาเคมีบำบัด ก็เพิ่มโอกาสการแท้งบุตรได้
การผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ ก่อนอายุครรภ์ 10 สัปดาห์
ภาวะทุพโภชนาการ ไม่ว่าจะอ้วนเกินไป หรือผอมเกินไป
การใช้ยาหรือวัคซีนบางชนิด
การมีลักษณะมดลูกผิดปกติ เช่น เนื้องอกมดลูก มีผนังกั้นภายในมดลูก เป็นต้น
แท้งแล้วสามารถท้องเร็วที่สุดได้ตอนไหน?
การที่จะกลับมาตั้งครรภ์ด้อีกหลังจากแท้งบุตรนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยและสาเหตุของการแท้ง รวมถึงการรักษาหรือการทำหัตถการของคนท้องค่ะ เช่น หากมีการแท้งสมบูรณ์ โดยไม่ได้มีการขูดมดลูก ก็สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้เลย
อย่างไรก็ตาม แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าควรเว้นช่วงการตั้งครรภ์ไปก่อนประมาณ 1-3 เตือน แล้วค่อยมีบุตรใหม่ค่ะ
ในกรณีที่มีการขุดมดลูก แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่เว้นช่วงการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ไปอีก 3 เดือน หากมีการผ่าตัดเนื้องอกมดลูกที่ต้องผ่าผ่านผนังมดลูกเข้าไป อาจทำให้มีแผลที่กล้ามเนื้อมดลูก ดังนั้น แพทย์จะแนะนำให้ เว้นช่วงการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ไปอีก 6-12 เดือนก่อนค่ะ
ดูแลตัวเองหลังแท้งบุตรอย่างไร?
สำหรับการดูแลตนเองหลังการแท้ง มีรายละเอียดมากมายที่ค่อนข้างต้องให้ความใส่ใจอย่างมากค่ะ คือ
หมั่นสังเกตตัวเอง โดยปกติเลือดไหลออกจากช่องคลอดจะลดลงเรื่อยๆ และหยุดไหลภายใน 1-2 สัปดาห์ อาการปวดท้องน้อยจะค่อยๆ บรรเทาลง หากพบว่าเลือดไม่หยุดไหลและมีชั้นเนื้อหลุดปนออกมาทางช่องคลอด มีอาการปวดท้อง มีไข้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดจากการติดเชื้อขึ้นได้
คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจภายในและตรวจมะเร็งปากมดลูกและดูสุขภาพโดยรวม หลังการแท้งบุตร 2 สัปดาห์
ตรวจร่างกายและเจาะเลือดเพื่อเรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ หากพบความผิดปกติควรรีบรักษาให้หายเป็นปกติก่อนมีการตั้งครรภ์
งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรีอหากกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูกให้งตมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ
ฟื้นฟูสุขภาพจิตใจให้ดี หลีกเลียงสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด นอนพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลียงการทำงานหนักติดต่อกัน
ในกรณีของผู้ที่แท้ง 2 ครั้งขึ้นไปหรือมีการแท้งซ้ำ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาสาหตุของการแท้ง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจร่างกายหรือการตรวจภายใน ตรวจเลือด ถ่ายภาพเอกซเรย์ ตรวจอัลตราซาวด์ หรือการส่องกล้องเข้าไปตรวจในโพรงมดลูกเพื่อตรวจหาความผิดปกติ เช่น ปากมดลูกขยายตัวผิดปกติหรือไม่ หากพบความผิดปกติ ควรรีบรักษาก่อนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป หลีกเลี่ยงการแท้งลูกที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
วิธีดูแลตัวเองหลังแท้ง สูตรครูก้อย (กรณี แท้งครบ ขูดมดลูก หรือ ท้องนอกมดลูก)
ให้คุมกำเนิดสัก 3 รอบเดือนนะคะ ค่อยปล่อยท้อง ให้ดลูกฟื้นตัวก่อน ระหว่างนี้ทานโฟลิกต่อเนื่องนะคะ เอลตภาวะตัวอ่อนพิการแต่กำเนิด ซึ่งคือสาเหตุหลักของการแท้งในไตรมาสแรก เสริมด้วยโฟลิค และมัลติวิตามิน จากครูก้อย ตัวนี้เลยค่ะ "OvaAIl" ซึ่งเป็นวิตามินบำรุงไข่ตัวจบ สยบททุกปัญหาท้องยาก
เกี่ยวกับ "โภชนาการบำรุงการตั้งครรภ์หลังการแท้ง"
สิ่งสำคัญ อย่าลืมหันมาให้ความใส่ใจในเรื่องของโภชนากร เตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์เกิดขึ้นใหม่นั้นเป็นการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงที่สุด
Step การบำรุง สามารถทำได้ตามนี้ค่ะ
1.ซุปไก่คำตังกุยสด + โปรตี Ferty ทานบำรุงได้เลยทันทีนะคะ *ผู้หญิงที่ขูตมดลูกทานได้เลยค่ะ ซ่อมแซมส่วนส์กหรอ ให้ทานโปรตีนวันละ 2 ซอง
เช็คน้ำเปล่า หรือนมฮัลมอนด์ไม่เย็นนะคะ (ใส่งาดำ + ธัญพืช Good Grain ธัญพืชพร้อมชง ได้เลย)
ส่วนซุปไก่ตำตังกุยสดตุ๋นเครื่องยาจีน เวฟร้อนๆทานวันละ 2 ถ้วยเลยค่ะ บำรุงเลือด บำรุงมดลูก ช่วยขับเลือดตกค้าง
2. น้ำมะกรูด รอให้เลือดที่ออกเยอะๆ หยุดก่อนค่ะ ค่อยดื่ม และเริ่มวันละ 1 SHOT ไปจนท้องใหม่
3. แนะนำให้ดื่มชาดอกคำฝอย เพื่อขับล้างลิ่มเลือดค้างด้วยค่ะ เพื่อเคลียร์ผนังมดลูกให้สะอาด เริ่ม ดื่มเมื่อเลือดเยอะหยุดค่ะ ช่วงที่ออกกระปริบกระปรอยเริ่มได้เลย ดื่มยาวไปสัก 14 วัน ดื่มทั้งน้ำเคี้ยวทั้งดอก
4.เริ่มทำ Castor oil pack เมื่อเลือดหมดสนิทเพื่อบำบัดดีท็อกซ์มดลูก แทนการอยู่ไฟ (หากอยู่ไฟร่วมด้วยได้จะดีค่ะ) ช่วงแรกของการแท้งทำสัก 5 ครั้งติดๆ กันทุกวันค่ะ จากนั้นเว้นระยะ 2-3 วัน หนไปเรื่อยๆ สัก 3 เดือน (คุมกำเนิด 3 เดือน อย่าเพิ่งปล่อย)
5.ดื่มขิงดำ + น้ำผึ้งชันโรง 1 แก้ว ก่อนนอนทุกคืน ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้ดี ลดการอักเสบติดเชื้อในมดลูก
6.เมล็ดฟักทองทานวันละ 1 กำมือค่ะ มี Zinc และวิตามิน E จากธรรมชาติสูง ลดอัตราการแท้งในช่วงแรกของการฝังตัว
ทั้งนี้ เมื่อผ่านจากเหตุการณ์แท้งไป 1 เดือน ก็เข้าสูตรการบำรุงตามคัมภีร์ตามปกติได้เลยค่ะ โดยให้ทานตามคัมภีร์ อาหาร 70% วิตามิน 30% บำรุงไข่ 3 เดือนตามคัมภีร์ (ซึ่งฝ่ายสามีต้อง
บำรุงสเปิร์มร่วมด้วย)
5 Keys to success...
เพิ่มโปรตีน
ลดคาร์บ
งดหวาน
ทานกรดไขมันดี
เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ให้มากที่สุด
เสริมวิตามินบำรุง
-หลักการคือ = อาหาร 70% + วิตามิน 30%
งดหวานเด็ดขาด(ขนม เบเกอร์รี ผลไม้รสหวาน)
ลดคาร์บ ลดแป้ง
ลดเค็ม ของปรุงรสเยอะ
งดของแปรรูป
งดของสุกๆ ดิบๆ
งดไขมันทรานส์
งดชา กาแฟ คาเฟน น้าอัดลม
งดแอลกอฮอล์
งดนมวัวแลคโตสสูง
งดอาหารกลูเต็น
-นอนไม่เกิน 4 ท่ม
-น้ำ 2-3 ลิตร (ไม่เย็น ดื่มเรือยๆ ตลอดวัน)
-ออกกำลังกายด้วยการเดิน / โยคะ ไม่เวทหนัก
แท้งแล้วมีโอกาสแท้งอีกหรือไม่ ?
ผู้ที่เคยแท้งเองมาก่อนจะมีโอกาสแท้งได้ในครรภ์ต่อไป โดยเฉพาะอย่างถ้าเคยแท้งติดต่อกันตั้แต่ 2 ครั้งขึ้นไป ดังนั้น การตั้งครรภ์ครั้งต่อไป คุณแม่ควรรีบไปฝากครรภ์เสียแต่เนิ่นๆ และพักผ่อนให้มาก ส่วนผู้ที่เคยแท้งติดต่อกัน 3 ครั้งขึ้นไป เรียกว่าภาวะแท้งซ้ำซากซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของมดลูก หรือ เซลล์ไข่ไม่มีคุณภาพ หรือ ตัวอ่อนผิดปกติทางโครโมโซมควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และแก้ไขก่อนที่จะตั้งครรภ์ต่อไปค่ะ
อย่างไรก็ตาม การแท้งมักมีโอกาสเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว หญิงที่เคยแท้งบุตรมาแล้วจึงยังสามารถตั้งครรภ์และคลอดได้สำเร็จในครั้งต่อไป และมีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ที่แท้งบุตรติดต่อกัน 2 ครั้ง ส่วนการแท้งอย่างต่อเนื่อง 3 ครั้งขึ้นไปนั้นมีอัตราการเกิดเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ส่วนในกรณีที่ไม่ทราบสาหตุของการแท้งอย่างต่อเองก็อย่าเพิ่งหมดหวังในการมีบุตร เพราะประมาณ 60-80 เปอร์เซ็นต์ของหญิงที่เผชิญปัญหานี้สามารถตั้งครรภ์ที่แข็งแรงได้ในที่สุดเช่นกันค่ะ
แม่ๆ คะ การแท้งเกิดขึ้นได้ เมื่อแท้งแล้ว เราสามารถดูแล บำรุงร่างกายให้แข็งแรงพร้อมตั้งครรภ์ใหม่ได้ค่ะ อย่าเพิ่งท้อใจ สาเหตุหนึ่งจากการแท้งอาจมาจากเซลล์ไข่ที่ด้อยคุณภาพ หรือ โครโมโซมผิดปกติ ซึ่งแม่ๆ สามารถบำรุงไข่ให้แข็งแรงได้ด้วยโภชนาการที่ถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้นการทำเต็กหลอดแก้วก็เป็นทางหนึ่งที่ลดความเสี่ยงในการแท้งได้ค่ะเพราะสามารถคัดโครโมโซมตัวอ่อนก่อนใส่กลับเข้าโพรงมดลูก เป็นการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้นั่นเอง