8 อาการ PCOS ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง
ภัยเงียบ...สาเหตุท้องยาก❗
PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) หรือกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่
คือ ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ผู้ป่วยมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล เกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง รังไข่จึงมีขนาดโตขึ้น และอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวขึ้น ขนดก หรือมีบุตรยาก โดยมักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นหลัก
●3 สาเหตุของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่
👉งานวิจัยทางการแพทย์ยังไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด PCOS ได้ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่อาจส่งผลให้เกิด PCOS
(1) ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ทางการแพทย์ยังไม่สามารถยืนยันถึงสาเหตุ ที่ส่งผลให้ฮอร์โมนอยู่ในภาวะไม่สมดุล แต่เป็นไปได้ว่า อาจเกิดจากความผิดปกติของรังไข่เอง ต่อมผลิตฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ในร่างกาย
หรือสมองซึ่งมีหน้าที่ควบคุมฮอร์โมน รวมถึงภาวะดื้ออินซูลิน ที่ทำให้ฮอร์โมนมีปริมาณเปลี่ยนไป ความผิดปกติของฮอร์โมนที่มักพบในสตรีที่มีภาวะ PCOS คือ
👉ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมีปริมาณสูงกว่าปกติ เทสโทสเทอโรน คือฮอร์โมนเพศชายชนิดหนึ่ง โดยปกติจะถูกผลิตขึ้นในร่างกายของเพศหญิงปริมาณเล็กน้อย ระดับเทสโทสเทอโรนที่สูงมากกว่าระดับทั่วไปส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติได้
👉ฮอร์โมนลูทิไนซิง หรือแอลเอชมีปริมาณสูงกว่าปกติ ลูทิไนซิง คือฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการตกไข่ ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลให้รังไข่ทำงานไม่ปกติ
👉Sex Hormone Binding Globulin หรือ SHBG มีปริมาณต่ำกว่าปกติ SHBG คือโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ช่วยควบคุมปฏิกิริยาของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่มีต่อร่างกาย ปริมาณ SHBG ที่ต่ำลงจึงส่งผลให้ร่างกายผิดปกติจากฮอร์โมนเพศชายที่สูงขึ้น
👉ฮอร์โมนโพรแลกตินมีปริมาณสูงกว่าปกติ โพรแลกตินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมหลั่งน้ำนมในหญิงตั้งครรภ์ หากมีปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ และพบในเฉพาะ
หญิงสาวบางรายเท่านั้น
(2) ภาวะดื้ออินซูลิน อินซูลินคือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นภายในตับอ่อน นอกจากมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อินซูลินยังทำหน้าที่กระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศชายชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เทสโทสเทอโรน ผู้หญิงที่มีภาวะดื้ออินซูลิน หรือภาวะที่เซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองกับปริมาณอินซูลินปกติ ทำให้ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมากขึ้นไปด้วย โดยปริมาณอินซูลินและเทสโทสเทอโรนที่มากผิดปกติ จะกระทบต่อการสร้างถุงน้ำในรังไข่ การตกไข่ ลักษณะทางกายภาพ และน้ำหนักตัวของผู้ที่มีภาวะนี้ ดังนั้น ภาวะดื้ออินซูลิน จึงอาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิด PCOS
(3) พันธุกรรม บุคคลที่มีคนใกล้ชิดทางสายเลือดเป็น PCOS จะมีความเสี่ยงต่อการเป็น PCOS มากกว่าบุคคลอื่น ในปัจจุบัน นักวิจัยกำลังศึกษาถึงยีนส์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของ PCOS แต่ยังไม่มีผลลัพธ์ออกมาเป็นที่ชัดเจน
● 8 อาการของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่
👉สตรีที่มีภาวะ PCOS มักมีอาการหรือรู้สึกถึงความผิดปกติภายหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรก
ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลัก ๆ ดังนี้ค่ะ
1. ผมร่วง เนื่องจากมีฮอร์โมนเพศชายสูงส่งผลให้มีผมร่วงผิดปกติ หรือเป็นโรคศีรษะล้านทางพันธุกรรม (Male-Pattern Baldness) ซึ่งทำให้ผมร่วงและผมบาง
2. เป็นสิวเรื้อรัง หน้ามัน เนื่องจากมีฮอร์โมนเพศชายสูง
3. ปวดท้องน้อย ถ่ายปัสสาวะบ่อย ถ่ายอุจจาระลำบาก มีอาการปวดบิด ปวดหน่วงๆ หรือเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์
4. ขนดก เนื่องมาจากมีฮอร์โมนเพศชายสูง
5. ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น ประจำเดือนไม่มาติดต่อกันนานหลายเดือน ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมานานและอาจมามากหรือน้อยผิดปกติ
6. อ้วน ผู้ที่มีภาวะ PCOS มักพบร่วมกับภาวะอ้วน โดย
พบได้ร้อยละ 35-76 ลักษณะเป็นอ้วนแบบลงพุงหรือ Android obesity และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะดื้ออินซูลิน
7. มีบุตรยาก เนื่องจากภาวะนี้ทำให้การตกไข่ผิดปกติ ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติจึงเป็นสาเหตุให้มียุตรยาก รวมถึงไข่หลายใบที่มีเป็นไข่ใบเล็กๆด้อยคุณภาพจึงยากที่จะปฏิสนธิอย่างสมบูรณ์
8.ระดับฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้น ฮอร์โมนแอนโดรเจนที่สูงขึ้น ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพ เช่น มีขนขึ้นตามหน้าและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีสิวขึ้นมากผิดปกติ เสียงเปลี่ยน
.
.
ครูก้อยแนะนำผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS ให้ทานอาหารที่มีโภชนาการสูงเพื่อบรรเทาอาการได้ค่ะ โดยเน้นโปรตีน ลดของมันของทอด งดหวานเด็ดขาด เน้นทานผักผลไม้สด และธัญพืชที่ให้คุณค่าทางอาหารและไฟเบอร์สูงค่ะ
👉สตรี PCOS (ไข่ไม่ตก ปจด.ไม่ปกติ เป็นถุงน้ำในรังไข่) นอกจากให้เน้นน้ำมะกรูด+โปรตีนแล้วต้องงดหวานเด็ดขาด!! และเน้น อาหารพวก DASH Diet เพื่อ
ไม่ให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดฮอร์โมนแอนโดรเจนสูง (ฮอร์โมนเพศชาย) ซึ่งไปเหนี่ยวนำให้วงจรการตกไข่ผิดปกติ
👉หลักการสำคัญของการรับประทานอาหารแบบ DASH คือ ลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือโซเดียม ลดแป้ง ลดไขมันอิ่มตัว ไขมันรวมและคอเรสเตอรอลลง และเพิ่มการรับประทานธัญพืช ผักผลไม้สด โปรตีน
📚มีงานวิจัยที่สนับสนุนการการทานอาหารแบบ DASH Diet ต่อการลดน้ำหนักและลดระดับไขมันของผู้ป่วย PCOS เรื่อง”DASH Diet, Insulin Resistance, and Serum hs-CRP in Polycystic Ovary Syndrome: A Randomized Controlled Clinical Trial” ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Hormone and Metabolic Research ผลวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินที่ทานอาหารแบบ DASH เป็นเวลา 8 สัปดาห์ จะช่วยทำให้การดื้ออินซูลินลดลง ลดการสะสมของไขมันในช่องท้องเมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้ทานอาการประเภทนี้ ซึ่งผลดีดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อรักษาอาการของโรค PCOS นั่นเองค่ะ
_____________________________________________
📱ชมรายการ Research Talk โภชนาการแบบ DASH Diet เยียวยา PCOS
คลิกชมเลยค่ะ →
https://youtu.be/TixbVShwMK0
📱ชมครูก้อย Live สตรี PCOS เมนส์ไม่ปกติ ไข่ไม่ตก กินอย่างไรให้ท้องง่ายขึ้น?
คลิกชมเลยค่ะ →
https://youtu.be/rRqYNtejl5M
📱ชมครูก้อย Live ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS) ท้องได้ไหม
คลิกชมเลยค่ะ →
https://youtu.be/ikEQN8X25lM
📱ชมรายการ ครูก้อยพบแพทย์ PCOS คืออะไร? ท้องธรรมชาติได้ไหม
คลิกชมเลยค่ะ →
https://youtu.be/wz9QdNHf3E0
_____________________________________________
💟ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทานอาหารแบบ DASH
คลิกอ่านเลยค่ะ →
https://www.facebook.com/349798678805371/posts/854751254976775/
Comments