top of page
ค้นหา

6 วิธีป้องกันการแท้งในไตรมาสแรก!!




6 วิธีป้องกันการแท้งในไตรมาสแรก


เมื่อแม่ๆ เริ่มตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก(สัปดาห์ที่ 1-13) เป็นช่วงสำคัญที่สุดที่เจ้าตัวอ่อนน้อยๆกำลังฝังตัวและเจริญเติบโต ซึ่ง "การแท้งในไตรมาสแรก" ถือเป็นภาวะผิดปกติอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้ประมาณ 10-15% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยการแท้งนั้นอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 2-3 สัปดาห์ไปจนถึง 28 สัปดาห์ แต่การแท้งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 4-20 สัปดาห์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 13 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์)



• สาเหตุของการแท้งมีหลายสาเหตุ อาจมาจาก


(1) โครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติตั้งแต่ต้น

(2) แม่มีอายุมาก อายุ 35 ปีขึ้นไป

(3) ผนังมดลูกบาง มดลูกเย็น เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไม่พอ มดลูกมีปัญหา เช่น เนื้องงอกมดลูก ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก

(4) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ ไม่สามารถพยุงครรภ์ได้

(5) ภาวะทุพโภชนาการ ทานอาหารไม่เพรยงพอ ทานอาหารไม่มีประโยชน์ ขาดโปรตีน

(6) สุขภาพ ความเจ็บป่วยของแม่



•วันนี้ครูก้อยมี 6 วิธีป้องกันการ "แท้งในไตรมาสแรก" มาฝากค่ะ ดูแลตัวเองให้ดี ปฏิบัติตามนี้เบบี๋จะได้เติบโตอย่างแข็งแรงนะคะ


(1) ทานโฟลิกและวิตามินบำรุงล่วงหน้า 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์


ข้อนี้สำคัญมาก หญิงเจริญพันธุ์ทุกคนเมื่อเตรียมจะมีน้อง ต้องได้รับโฟลิกวันละ 400 ไมโครกรัมล่วงหน้า 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งแพทย์และ WHO ได้แนะนำว่า ควรได้รับกรดโฟลิก 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์และได้รับต่อเนื่อง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์


ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากความพิการของทารก ได้แก่


👉หลอดประสาทไม่ปิด (Neural Tube Defects)

👉ปากแหว่งเพดานโหว่

👉ความผิดปกติของแขนขา

👉หัวใจพิการแต่กำเนิด

👉ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ

👉ไม่มีรูทวารหนัก และ

👉กลุ่มอาการดาวน์



ทำไมต้องกินกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์?


ยังมีความเข้าใจที่ผิดว่าเมื่อตั้งครรภ์ถึงจะรับประทานวิตามินโฟลิก แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องกินก่อนท้อง เพราะวิตามินโฟลิก ช่วยในการสร้างและแบ่งเซลล์ในตัวอ่อนให้สมบูรณ์ตั้งแต่หลังปฏิสนธิภายใน 28 วัน


ดังนั้นการเสริมกรดโฟลิกสามารถทำได้ตั้งแต่วางแผนมีบุตร หรือก่อนตั้งครรภ์ 1-3 เดือน เพราะหากรอจนทราบว่าตั้งครรภ์ก่อนแล้วค่อยทานอาจจะสายเกินไป เพราะในช่วงอายุครรภ์ที่ 3-4 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ จะเป็นช่วงที่พัฒนาการของสมองและระบบประสาทของทารกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหลอดประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งนั่นอาจช้าเกินไปที่จะแก้ไขความผิดปกติ


และทานต่อไปอีกหลังเริ่มตั้งครรภ์ยาวไปจนอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์เพราะความต้องการโฟเลตหรือกรดโฟลิกจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงที่ตัวอ่อน (embryo) กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว


นอกจากนี้แม่ๆต้องได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญล่วงหน้า เช่น Fish Oil, Co Q10 วิตามินบีรวม Zinc ธาตุเหล็ก ล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์เพื่อสร้างสภาวะที่พร้อมในการปฏิสนธิและการฝังตัวของตัวอ่อนค่ะ


.


(2) ทานโปรตีนเพิ่มขึ้น


เมื่อวางแผนจะมีน้องต้องบำรุงล่วงหน้าเพื่อสร้างเซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ สร้างผนังมดลูกที่หนาแข็งแรง ตัวอ่อนจะฝังตัวไม่หลุดง่ายค่ะ โดยให้เน้นโปรตีนจากพืช เพราะนอกจากจะให้โปรตีนสูงเทียบเท่าเนื้อสัตว์แล้ว ยังไม่มีฮอร์โมนแฝง แตกต่างจากการกินโปรตีนจากสัตว์ที่อาจมีฮอร์เร่งเนื้อแดง และติดมัน ส่งผลเป็นการรบกวนสมดุลฮอร์โมนเพศ


เมื่อไข่สมบูรณ์ ฮอร์โมนสมดุล ผนังหนาฟู ตัวอ่อนก็จะแข็งแรง ฝังตัวได้อย่างปลอดภัยค่ะ



(3) ทานอาหารเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงมดลูกได้อย่างเพียงพอ


"มดลูกคือบ้านหลังแรกของลูก" มดลูกที่พร้อมฝังตัวนอกจากจะหนา 8-10 มิลแล้ว ต้องมีสภาวะอุ่น คือ มีเลือดไหลเวีบนไปเลี้ยงเพียงพอ เพราะมดลูกมีเส้นเลือดฝอยโอบอุ้มอยู่จำนวนมาก เลือดต้องไหล flow จะทำให้หลอดเลือดไม่อักเสบ มดลูกอุ่น ไม่อักดสบติดเชื้อ เป็นมดลูกที่สมบูรณ์ ตัวอ่อนจะได้ฝังตัวนอนอุ่นๆค่ะ


อาหารที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ได้แก่ น้ำมะกรูด ที่มี "ไบโอฟลาโวนอยด์" สูง โดดเด่นเรื่องการบำรุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี หรือ น้ำขิง ผักผลไม้ เช่น บีทรูท ทับทิม ทะเขือเทศ ช่วยบำรุงเลือด



(4) งดอออกกำลังกายหนักตอนท้องอ่อนๆ


ช่วงไตรมาสแรกงดเลยค่ะ ให้ออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินลู่วิ่ง โยคะ การเคลื่อนไหวและกระแทกแรงๆอาจส่งผลต่อการบีบตัวของมดลูก และถ้าออกกำลังกายหนักไปฮอร์โมนเพศจะผิดเพี้ยนได้ ต้องรักษาระดับฮอร์โมนให้สมดุล เพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวอย่างสมบูรณ์ค่ะ


(5) พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด


คุณแม่ท้องต้องการการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยควรนอนหลับให้ได้คืนละ 7-9 ชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 14 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ทั้งนี้การนอนน้อยส่งผลต่อสุขภาพของแม่ท้อง และทารกในครรภ์หากแม่ท้องนอนน้อย เสี่ยงครรภ์เป็นพิษ


จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า ในระหว่างนอนหลับพักผ่อน ความดันโลหิตของมนุษย์จะลดลงโดยเฉลี่ยประมาณ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมดูแลขนาดของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ดังนั้น เมื่อคุณแม่ท้องนอนไม่หลับ หรือหลับ แต่ไม่เพียงพอ จึงมีผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนดังกล่าว ทำให้คุณแม่ท้องที่นอนหลับไม่พอในตอนกลางคืนมีค่าความดันโลหิตสูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจในระหว่างการตั้งครรภ์ และระดับความดันโลหิตในคุณแม่ท้องยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษอีกด้วย โดยผลวิจัยพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ที่นอนน้อยกว่าคืนละ 5 ชั่วโมง มีความเสี่ยงที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษมากกว่าปกติถึง 9.5 เท่าและหากแม่ท้องนอนไม่หลับ ลูกจะเจริญเติบโตช้า


เมื่อแม่นอนหลับดี ลูกในครรภ์ก็นอนหลับได้ดี และเมื่อลูกในครรภ์นอนหลับดี การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองก็ดีตามไปด้วย ถ้าคุณแม่นอนไม่หลับ ร่างกายอ่อนเพลีย ทำให้การไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงลูกน้อยทำได้ไม่ดี ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง


นอกจากนี้แม่ๆต้องจัดการกับความเครียด หากมีภาวะเครียดสะสม ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนความเครียดที่ชื่อว่า "คอร์ติซอล" ออกมา ซึ่งมันจะไปรบกวนสมดุลฮอร์โมนเพศ ส่งผลเป็นการขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน


(6) สอดยา กินยาตามแพทย์สั่ง


กรณีแม่ๆที่ทำ ICSI หลังจากมีการย้ายตัวอ่อน และตรวจพบว่าตั้งครรภ์แล้ว แพทย์จะให้ยาฮอร์โมนมา


เพื่อช่วยพยุงครรภ์ ซึ่งก็คือยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ผนังมดลูกหนาฟูพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน หากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำอาจทำให้แท้งได้ แม่ๆจึงต้องสอดยา หรือ กินยาตามแพทย์สั่ง และพบแพทย์ตามนัดนะคะ

.

.


การสร้างตัวอ่อนที่แข็งแรง เริ่มได้ตั้งแต่การบำรุงเซลล์ไข่ล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์ เมื่อเซลล์ไข่สมบูรณ์ก็จะนำไปสู่ตัวอ่อนที่มีคุณภาพ ร่วมกับการบำรุง ดูแลมดลูกให้พร้อมฝังตัว แม่ๆ สามารถทำได้ด้วยตัวเองตามที่ครูก้อยนำมาฝากนะคะ บำรุงดี เบบี๋จะได้ฝังตัวอย่างสมบูรณ์ จนถึงวันคลอดออกมาพบกันค่ะ❤





ดู 2,256 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page