top of page
ค้นหา

6 สาเหตุเทสเจอไข่ตก...แต่ไม่ติด!



6 สาเหตุเทสเจอไข่ตก...แต่ไม่ติด!

เทสเจอไข่ตกทุกรอบเดือน ประจำเดือนก็มาปกติ...แต่ทำไมไม่ท้องสักที!


แม่ๆรู้ไหม?...ผู้หญิงเราเกิดมาพร้อมเซลล์ไข่เล็กๆที่ยังไม่โตอยู่ในรังไข่เราเป็นล้านล้านใบ...ซึ่งมันจะโต สุกตามเกณฑ์และตกลงมาตามรอบเดือน...แค่เดือนละ 1 ใบเท่านั้น


หากร่างกายเราสมบูรณ์ปกติ ฮอร์โมนสมดุล รอบเดือนปกติที่ 28 วัน...ไข่จะตกใน Day 14 ของรอบเดือนค่ะ เมื่อไข่ตกลงมาแล้ว จะอยู่ได้แค่ 24 ชม. หากไม่ได้รับการปฏิสนธิก็จะฝ่อสลายไป โอกาสท้องในรอบนั้นก็หมดไปหากคุณทำการบ้านไม่ตรงช่วงวันตกไข่


.

.


อย่างไรก็ตาม หากไข่ตกและทำการบ้านตรงวัน แต่ก็ยังไม่ท้อง...ต้องมาพิจารณาหาสาเหตุกันค่ะ วันนี้ครูก้อยสรุปสาเหตุหลักที่กระทบต่อการตกไข่และ


คุณภาพของเซลล์ไข่มาให้ 6 ข้อ ดังนี้ค่ะ


.


(1) #PCOS ไข่ใบเล็ก ไข่ไม่สุก


โดยปกติแล้วไข่ที่ตกลงมานั้นควรเป็นไข่ที่โตและสุกตามเกณฑ์พร้อมปฏิสนธิ เพราะเมื่อเข้าสู่ช่วงไข่ตกร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมาเพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ไข่ให้เติบโตสมบูรณ์ และ จะหลั่งฮอร์โมน LH ออกมา หรือที่เรียกว่า ฮอร์โมนไข่ตก เพื่อเป็นการบังคับให้ไข่ตกในแต่ละรอบเดือน


แต่หากแม่ๆมีฮอร์โมนที่ไม่สมดุล หรือ อยู่ในภาวะ PCOS ที่ส่งผลให้ฮอร์โมนผิดเพี้ยน มีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป จะส่งผลให้มีแต่ไข่ใบเล็กๆกระจุกตัวอยู่จำนวนมาก อาจไม่โต และไม่ตกเลย ภาวะ PCOS นี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง"...อย่างไรก็ตามหากมีไข่ตกลงมา ไข่นั้นก็จะเป็นไข่ใบเล็กที่ด้อยคุณภาพ เพราะไม่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพียงพอ


ดังนั้นถึงจะเทสเจอไข่ตก...แต่เป็นไข่อ่อน ก็ไม่สามารถปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนได้


.



(2) #อายุมาก...ความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ไข่สูงขึ้น


อายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่ออัตราความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ไข่สูงขึ้นตามไปด้วย...ซึ่งไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติจะส่งผลต่ออัตราการปฏิสนธิที่ต่ำลง ดังนั้นถึงแม้จะมีไข่ตกลงมาแต่เป็นไข่ที่มีความผิดปกทางโครโมโซมก็ไม่อาจปฏิสนธิได้ นอกจากนี้ หากเกิดการปฏิสนธิแต่ก็จะแบ่งตัวไม่สมบูรณ์ ตัวอ่อนไม่พัฒนา หรือ แท้งในระยะเริ่มต้นได้


📈โดยอัตราความผิดปกติของโครโมโซมในเซลล์ไข่สัมพันธุ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น ดังนี้


👉อายุ 25 โครโมโซมผิดปกติ 25%



👉อายุ 35 โครโมโซมผิดปกติ 50%


👉อายุ 40 โครโมโซมผิดปกติ 85-90%


.


(3) #อนุมูลอิสระทำลายเซลล์ไข่


เซลล์ไข่ยังถูกทำลายจาก "อนุมูลอิสระ" ที่เกิดขึ้นทุกวันจากกระบวนการเผาผลาญในร่างกายตามปกติ พูดง่ายๆ คือ "แค่หายใจไข่ก็เสื่อม" และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแม่ๆ ได้แก่ ทานอาหารไม่มีประโยชน์ ทานของหวาน ของมันของทอด นอนดึก เครียด ไม่ออกกำลังกาย หรือ การได้รับมลพิษและสารเคมี ปัจจัยเหล่านี้ เป็นการเพิ่มอนุมูลอิสระให้กับร่างกาย ส่งผลต่อการ "ทำลายคุณภาพของเซลล์ไข่" ทั้งสิ้น


.


(4) #รังไข่เสื่อม...วัยทองก่อนวัย รังไข่ผลิตไข่ด้อยคุณภาพ


วัยทองก่อนวัย หรือ รังไข่เสื่อมก่อนวัย เป็นภาวะที่รังไข่หยุดทำงาน หรือ "มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ" เหมือนคนที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ประสบปัญหานี้ รังไข่จะไม่ผลิตไข่ออกมาในแต่ละรอบเดือน ส่งผลให้ไข่ไม่ตก ประจำเดือนขาดหาย...ในบางกรณียังมีไข่ตกลงมาแต่ด้วยเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ "ไข่ที่ตกลงมาจึงด้อยคุณภาพ" ส่งผลต่ออัตราการปฏิสนธิที่ต่ำลงนั่นเองค่ะ


.


(5) #ท่อนำไข่อุดตัน


ไข่ของแม่ๆ อาจจะสมบูรณ์ สุก พร้อมปฏิสนธิ แต่เมื่อตกลงมาในท่อนำไข่ที่อุดตัน อสุจิก็ไม่สามารถว่ายมาปฏิสนธิได้


ใช่แล้วค่ะ...รังไข่จะปล่อยไข่ออกมาแล้วตกลงมาที่


"ท่อนำไข่" ซึ่งเป็นจุดนัดพบกันระหว่าง ไข่ และ สเปิร์ม เมื่อท่อนำไข่อุดตัน ก็เจอกันไม่ได้ แต่รังไข่ก็ผลิตไข่ตามปกติ แม่ๆก็เทสเจอไข่ตก...แต่ไม่ท้องนั่นเองค่ะ


ดังนั้นหากพยายามมาเป็นปี ไข่ก็ตกแต่ยังไม่ท้องต้องไปปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าเจอท่อนำไข่อุดตัน รอไปเท่าไหร่ก็ท้องธรรมชาติไม่ได้ค่ะ...อย่างไรก็ตามยังสามารถมีลูกได้ด้วยการทำด็กหลอดแก้ว เพราะเป็นการเก็บไข่มาปฏิสนธิภายนอกนั่นเองค่ะ


.


(6) #อสุจิไร้คุณภาพ


สาเหตุประการสุดท้ายนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของเซลล์ไข่ แต่เป็นคุณภาพอสุจิของคุณสามีค่ะ ไข่ของแม่ๆอาจจะสมบูรณ์ ตกมารอที่ท่อนำไข่ทุกเดือน เทสก็เจอไข่ตก...แต่ เจ้าตัวอสุจิกลับว่ายมาไม่ถึง หรือไม่สามารถเจาะไข่ได้ เพราะอสุจิด้อยคุณภาพ ว่ายช้ากว่าจะมาถึงไข่ใอสลายไปเสียก่อน เพราะเซลล์ไข่รออยู่ได้แค่ 24-36 ชม.เท่านั้น


หรือ อสุจิมีรูปร่างผิดปกติ หัวกลมเจาะไข่ไม่เข้า หรืออาจเป็นหมัน คือ ไม่มีตัวอสุจิในน้ำเชื้อเลย


หากเป็นแบบนี้ต่อให้ไข่ตกทุกเดือนก็ท้องยากค่ะ!


.

.


จะเห็นได้ว่าโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง และ ฮอร์โมนที่สมดุล ส่งผลต่อการตกไข่และคุณภาพของเซลล์ไข่ แม่ๆ สามารถ "เพิ่มคุณภาพของเซลล์ไข่" ได้ด้วยปรับสมดุลฮอร์โมนและการทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ


เน้นโปรตีน งดหวาน งดของทอด เน้นทานผักผลไม้เสริมสารต้านอนุมูลอิสระ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อปรับฮอร์โมนให้สมดุล เป็นการปรับประจำเดือน ทำให้ไข่ตกปกติและเป็นไข่ที่มีคุณภาพ และอย่าลืมบำงสเปิร์มคุณสามีด้วยนะคะ


ทั้งนี้ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คระบบภายในด้วย เพราะหากเจอท่อนำไข่อุดตัน อาจจะต้องใช้


เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการรักษาค่ะ



ดู 121 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page