5 เหตุผลที่ ICSI (อิ๊กซี่) ตอบโจทย์ผู้มีบุตรยาก
top of page
ค้นหา

5 เหตุผลที่ ICSI (อิ๊กซี่) ตอบโจทย์ผู้มีบุตรยาก

อัปเดตเมื่อ 4 ส.ค. 2564



คู่สามี-ภรรยาที่มีบุตรยาก ที่จะต้องใช้เทคโนโลยีเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ในการรักษา คงเคยได้ยิน "การทำเด็กหลอดแก้ว" หรือ "อิ๊กซี่" (ICSI) กันมาบ้างใช่มั้ยคะ วันนี้ครูก้อยจะสรุปให้เข้าใจง่ายๆว่า การทำ ICSI คืออะไร❓ และเหตุใดจึงตอบโจทย์ผู้มีบุตรยาก


"การทำเด็กหลอดแก้ว" หรือ "ICSI" เป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยจะทำการเก็บไข่ของฝ่ายหญิงและน้ำเชื้อของฝ่ายชายออกมานอกร่างกาย แล้วนำมาปฏิสนธิในจานเพาะเลี้ยง ได้เป็นตัวอ่อนแล้วใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อเติบโตเป็นทารกในครรภ์ต่อไป


👉 ไปดู 5 เหตุผลที่ ICSI อาจเป็นคำตอบของคู่ของคุณกันค่ะ



🟠 1. ICSI เป็นวิธีการรักษาผู้มีบุตรยากที่เหมาะสำหรับคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีอายุ 35 ปีขึ้นไป


เซลล์ไข่ของผู้หญิงจะเสื่อมลงไปพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น จากสถิติทางการแพทย์ ผู้หญิงวัย 35 ปีเป็นช่วงขาลงของวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงในวัยนี้จะมีไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติถึง 50-60% หมายความว่า การท้องธรรมชาติอาจเกิดขึ้นได้ยาก เพราะไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติจะส่งผลต่ออัตราการปฏิสนธิที่ลดน้อยลง หรือ หากเกิดการปฏิสนธิอาจจะได้ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติ ทำให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือ แท้งในระยะเริ่มต้น


เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เซลล์ไข่ก็ลดจำนวนลงเรื่อยๆด้วยเช่นกัน จำนวนก็ลดลง คุณภาพก็เสื่อมลง ประกอบกับการทำงานของรังไข่และฮอร์โมนเพศที่ด้อยประสิทธิภาพลงส่งผลต่อรอบเดือนและวงจรการตกไข่ที่ไม่ปกติ การตั้งครรภ์ธรรมชาติเมื่ออายุมากจึงมีโอกาสน้อยลงนั่นเองค่ะ


👉 ICSI ตอบโจทย์อย่างไร❓


การทำ ICSI ผู้หญิงจะได้รับการกระตุ้นไข่เพื่อให้มีไข่ตกหลายใบมากกว่ารอบธรรมชาติที่จะมีการตกมารอบละ 1 ใบ เมื่อได้ไข่หลายใบ หมายความว่ามีโกาสได้ตัวอ่อนหลายตัว และการทำ ICSI จะมีขั้นตอนการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนให้ถึงระยะที่พร้อมฝังตัว (ระยะบลาสโตซิสต์) จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น


👩‍🦰 ศึกษาการบำรุงไข่ล่วงหน้า 3 เดือนก่อนไปทำ IUI,IVF,ICSI

👇👇👇👇 (คลิกอ่านเลยค่ะ)



🟠 2. ICSI เหมาะสำหรับฝ่ายชายที่สเปิร์มด้อยคุณภาพหรือเป็นหมัน


หากสเปิร์มน้อย ไม่วิ่ง หรือรูปร่างผิดปกติ โอกาสที่จะเจาะไข่และปฏิสนธิตามธรรมชาติมีน้อยมาก บางคู่แต่งงานกันมานานพยายามมีเบบี๋มาเป็น 10 ปี แต่ไม่เคยไปตรวจจึงไม่รู้ว่า "สเปิร์มผิดปกติ"


หากเข้ากระบวนการทำ ICSI ฝ่ายชายจะได้รับการ "ตรวจวิเคราะคุณภาพสเปิร์ม" ก่อน (Semen Analysis) เพื่อดูว่า มีการหลั่ง จำนวนตัว เปอร์เซ็นต์การวิ่งว่าย และอัตราความสมบูรณ์ของรูปร่างของอสุจิเป็นปกติและผ่านเกณฑ์หรือไม่ หากมีปัญหาการทำ ICSI คือคำตอบค่ะ


👉 ICSI ตอบโจทย์อย่างไร


การทำ ICSI จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการคัดเลือกตัวอสุจิที่มีคุณภาพเพียงตัวเดียว แล้วนักวิทย์ฯจะหยิบสเปิร์มตัวนั้นเจาะเข้าไปในเนื้อไข่โดยตรงเลย ทำให้เกิดการปฏิสนธิ แม้กระทั่งฝ่ายชายที่เป็นหมัน


คือ ไม่มีตัวอสุจิในน้ำเชื้อเลยก็สามารถช่วยได้

โดยฝ่ายชายที่เป็นหมันมักมีปัญหาที่ท่อนำอสุจิตันหรือไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ จำเป็นที่จะต้องนำอสุจิออกมาจากแหล่งกำเนิดโดยตรงซึ่งคือลูกอัณฑะ การทำ ICSI ก็สามารถใช้ร่วมกับวิธีการเก็บอสุจิจากอัณฑะโดยตรงหรือที่เรียกว่าวิธี Testicular Sperm Extraction (TESE)


โดยแพทย์จะใช้วิธีผ่าตัดเล็กเข้าไปเอาตัวอสุจิออกจากลูกอัณฑะเพื่อนำตัวอสุจินั้นมาทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI ต่อไป


👱‍♂️ ศึกษาอาหารบำรุงสเปิร์ม

👇👇👇👇 (คลิกอ่านเลยค่ะ)


🟠 3. ICSI สามารถมีเวลาให้ฝ่ายหญิงเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน


สาเหตุหลักอีกประการหนึ่งที่ทำให้ท้องธรรมชาติได้ยาก คือ "ผนังมดลูกไม่พร้อม" ไม่หนาตามเกณฑ์ หรือมีเลือดประจำเดือนเก่าคั่งค้างหนาทึบ

มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เลือดไม่ flow


ปัญหาเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการฝังตัวของตัวอ่อนทั้งสิ้นคซึ่งการตั้งครรภ์ธรรมชาติจะไม่ได้ตรวจเช็คตรงนี้ เวลาล่วงเลยไปยังไม่ท้องสักทีก็อาจเป็นเพราะผนังมดลูกบาง มดลูกไม่พร้อมโดยเราไม่รู้เลย


ทางการแพทย์ผนังมดลูกที่พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนต้องมีลักษณะ 4 ประการ ดังนี้

1. หนา 8-10 มิล ไม่ควรหนาเกิน 14 มิล

2. ใส ไม่ทึบ ไม่หมักหมมด้วยประจำเดือนเก่าคั่งค้าง

3. เรียงสามชั้นสวย (Triple Lines)

4. มดลูกอุ่น มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ

👉 ICSI ตอบโจทย์อย่างไร❓


ในกระบวนการทำ ICSI เมื่อได้ตัวอ่อนแล้วจะทำการแช่แข็งตัวอ่อนเอาไว้ก่อนได้ ไม่จำเป็นต้องย้ายตัวอ่อนรอบสดทุกกรณี ผู้หญิงที่มีปัญหาเรื่องผนังมดลูกไม่พร้อมจึงสามารถมีเวลาเตรียมผนังมดลูกให้แข็งแรงและพร้อมที่สุดก่อนการย้ายตัวอ่อน เป็นการเพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น


💓ศึกษาขั้นตอนเตรียมผนังมดลูก

(ก่อนใส่ตัวอ่อน) คลิกอ่านเลยค่ะ

👇👇👇👇👇


🟠 4. ICSI มีการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนถึง "ระยะบลาสโตซิสต์" ซึ่งเป็นระยะที่ตัวอ่อนพร้อมฝังตัว


การตั้งครรภ์ธรรมชาตินั้นไข่และอสุจิจะเดินทางมาพบกันที่ท่อนำไข่และเกิดการปฏิสนธิที่นั่น จากนั้นจะเติบโตเป็นตัวอ่อนและเคลื่อนมาฝังตัวที่โพรงมดลูก บางครั้งการท้องยากอาจมาจากตัวอ่อนไม่มีคุณภาพ ฝ่อไปก่อนเคลื่อนมาฝังตัว หรือ เกิดกรณีตัวอ่อนฝังตัวที่ท่อนำไข่ เรียกว่า "ท้องนอกมดลูก" ซึ่งเป็นอันตรายมาก


👉 ICSI ตอบโจทย์อย่างไร


การทำ ICSI จะมีการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนให้ได้ระยะที่เหมาะสมที่สุดก่อนย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งระยะที่เหมาะที่สุดคือตัวอ่อน Day 5 หรือ "บลาสโตซิสต์" เป็นระยะที่ตัวอ่อนแบ่งเซลล์พร้อมฝังตัว เมื่อย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกจึงมีโอกาสฝังตัวง่ายขึ้น เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์และลดความเสี่ยงเรื่องการท้องนนอกมดลูก



🟠 5. ICSI สามารถ "คัดโครโมโซมตัวอ่อน" ก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกได้


การตั้งครรภ์ธรรมชาติไม่สามารถคัดโครโมโซมตัวอ่อนก่อนได้ จะทำได้เมื่อตั้งครรภ์แล้วมีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยการเจาะน้ำคร่ำ หรือ เจาะเลือดแล้วตรวจ NIPT ซึ่งหากพบโครโมโซมผิดปกติต้องยุติการตั้งครรภ์


ซึ่งโครโมโซมของตัวอ่อนที่ผิดปกติอาจมาจาก "เซลล์ไข่ที่ผิดปกติตั้งแต่ต้น" เมื่อเซลล์ไข่ผิดปกติจะส่งผลต่ออัตราการปฏิสนธิซึ่งทำให้ท้องยากตั้งแต่ต้น และเมื่อท้องก็อาจแท้งในระยะเริ่มต้น หรืออาจเป็นท้องที่ตัวอ่อนมีโครโมโซมผิดปกติต้องยุติการตั้งครรภ์ หรือ อาจเกิดกรณี "ท้องลม" ซึ่งเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พบถุงไข่แดง ไม่พบคลื่นหัวใจ อันเนื่องมาจากเซลล์ไข่มีความผิดปกติทางโครโมโซมเช่นเดียวกัน


👉 ICSI ตอบโจทย์อย่างไร❓


ในการทำ ICSI นั้น เมื่อได้ตัวอ่อนจากการเพาะเลี้ยงแล้ว สามารถตรวจคัดโครโมโซมตัวอ่อน "ก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก" ได้ จะทำให้เราทราบว่าตัวอ่อนของเราปกติหรือไม่ หากพบว่าเป็นตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติก็จะไม่ย้ายตัวนั้น สามารถคัดเลือกตัวอ่อนตัวที่ดีที่สุดได้ ทำให้ทีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้น ลดอัตราการแท้งและการท้องลมนั่นเองค่ะ


💟 เห็นมั้ยคะว่าหากเรามีปัญหาเป็นผู้มีบุตรยาก การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ ICSI เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ตอบโจทย์ค่ะ อย่างไรก็ตามคู่สมรสต้องเข้าปรึกษาแพทย์ ตรวจร่างกายให้ละเอียด เพื่อแพทย์จะได้ทำการรักษาให้เหมาะสมกับสภาวะของร่างกายของแต่ละคู่ต่อไป


**ที่สำคัญที่สุด** ก่อนเข้ากระบวนการเก็บไข่และเก็บน้ำเชื้อเพื่อทำ ICSI "การบำรุงเตรียมตัวก่อนเข้ากระบวนการสำคัญที่สุดค่ะ"


💗 ครูก้อยแนะนำให้ทานอาหาร "บำรุงไข่" "บำรุงสเปิร์ม" ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนเพื่อบำรุงให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพจากทั้งฝั่งคุณพ่อและคุณแม่


และเตรียมผนังมดลูกให้พร้อม บวกกับความช่วยเหลือของเทคโนโลยีทางการแพทย์ก็จะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ ไม่เสียเงินและเสียเวลาไปเปล่าๆค่ะ บำรุงไปดี โอกาสได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพมีสูงขึ้น อัตราความสำเร็จก็สูงขึ้นค่ะ


 

📱 ชมคลิป "เตรียมตัวอย่างไรก่อนเก็บไข่ทำเด็กหลอดแก้ว? (คลิกชมเลยค่ะ) 👇👇👇👇

👩‍🦰 ศึกษาการบำรุงไข่ล่วงหน้า 3 เดือนก่อนไปทำ IUI,IVF,ICSI

👇👇👇👇 (คลิกอ่านเลยค่ะ)


💓 ศึกษาขั้นตอนเตรียมผนังมดลูก (ก่อนใส่ตัวอ่อน) คลิกอ่านเลยค่ะ

👇👇👇👇👇


👱‍♂️ศึกษาอาหารบำรุงสเปิร์ม

👇👇👇👇 (คลิกอ่านเลยค่ะ)

📲 ปรึกษา/สั่งของบำรุงแบบครูก้อย ที่ Line Official

คลิกลิ้งค์นี้เลย 👉 https://lin.ee/fBa4xkz


📞 Call Center : 083-4395882 (ในวัน-เวลาทำการค่ะ)


#ครูก้อยBabyandMom


 

ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของบทความไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต


ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page