5 ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์
top of page
ค้นหา

5 ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์

อัปเดตเมื่อ 4 ส.ค. 2564



🟠 ในการทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI) นั้นหลังจากที่ทำการดูดไข่ออกมาจากตัวคุณแม่แล้วก็จะนำมาปฏิสนธิภายนอก หลังจากนั้นก็จะมีการเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการเพื่อให้ตัวอ่อนแบ่งเซลล์จนถึงขนาดที่เหมาะสมที่จะสามารถย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกได้


🟠 การพัฒนาการของตัวอ่อนมนุษย์ จะเริ่มจากเซลล์หนึ่งเซลล์ เป็นสอง เป็นสี่ เป็นแปด เป็นสิบหก โดยเรียกชื่อระยะต่างๆตามจำนวนวันที่เพาะเลี้ยงได้แก่


ตัวอ่อนDay 1 (ระยะไซโกต, Zygote)

ตัวอ่อนDay 3 (ระยะคลีเวจ, Cleavage)

ตัวอ่อนDay 5 (ระยะบลาสโตซิสต์, Blastocyst)


🟠 #ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) เป็นตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิของไข่และอสุจิซึ่งเลี้ยงให้เติบโตในห้องปฏิบัติการมาได้อายุ 5-6 วัน จะมีเซลล์จำนวน 80-120 เซลล์ ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์จะมีเซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์รกที่พร้อมฝังตัวสู่โพรงมดลูก #จึงเรียกได้ว่าเป็นระยะพร้อมฝังตัว


👉 ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ถือว่าเติบโตได้ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งจะมีวิธีการแบ่งเกรดตัวอ่อนออกเป็น A B C อีกเพราะไม่ใช่ว่าตัวอ่อนระยะนี้จะเป็นตัวอ่อนที่ดีหมดทุกตัว ยังต้องมีการคัดเลือกอีกครั้งก่อนย้ายกลับสู่โพรงมดลูก


👉 อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปการเลี้ยงตัวอ่อนมาถึงระยะนี้จึงเป็นเหมือนการคัดกรองตัวอ่อนในระดับหนึ่งแล้ว ตัวอ่อนที่เติบโตมาถึงระยะนี้ก็แสดงให้เห็นว่าแข็งแรงในระดับหนึ่ง แพทย์จึงนิยมใส่ตัวอ่อนในระยะ Day 5 เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มากกว่าค่ะ


🎯 #ข้อดีของตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ได้แก่


🔸️ 1. #เป็นการคัดกรองตัวอ่อนคุณภาพดีที่มีออกมาใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูก: เมื่อตัวอ่อนเติบโตมาถึงระยะบลาสโตซิสต์ซึ่งถือเป็นการคัดกรองระดับหนึ่ง จากตัวอ่อนที่มีเรายังแบ่งเกรดจากลักษณะที่พบผ่านกล้องจุลทรรศน์ และคัดเลือกตัวอ่อนที่คุณภาพดีที่สุดที่มีเพื่อย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งหากใส่ถูกตัวก็จะลดระยะเวลาของการรอการตั้งครรภ์ลงได้


🔸️ 2. #มีอัตราฝังตัวและตั้งครรภ์สูง การย้ายกลับตัวอ่อนระยะ Blastocyst ทางโพรงมดลูกนั้นเหมาะสมที่จะฝังตัวมากที่สุด เนื่องจากในภาวะการตั้งครรภ์โดยธรรมชาตินั้น ตัวอ่อนจะเดินทางไปถึงโพรงมดลูกเพื่อที่จะฝังตัวในระยะ Blastocyst เช่นกัน แต่ถ้าหากเป็นตัวอ่อนระยะDay 3 (Cleavage) จะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนอยู่ในท่อนำไข่ จึงอาจจะยังไม่พร้อมในการฝังตัว ต้องใช้เวลาพัฒนาให้เป็นระยะบลาสโตซิสท์ก่อนจึงจะพร้อมสำหรับการฝังตัวที่โพรงมดลูก นอกจากนั้นระยะคลีเวจอาจมีโอกาสหยุดการเจริญเติบโตก่อนการฝังตัวได้ด้วย


🔸️ 3. #ตัวอ่อนที่คุณภาพดีก็จะช่วยลดอัตราการแท้งอีกด้วย จึงส่งผลต่อความสำเร็จกับการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์เพิ่มสูงขึ้น


🔸️ 4. สามารถตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนเพื่อเช็กความผิดปกติได้ : เราสามารถดึงเซลล์รกของตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์เพื่อมาตรวจโครโมโซม 23 คู่ด้วยผลที่แม่นยำถึง 99 % เพื่อตรวจดาวน์ซินโดรม ในกลุ่มแม่อายุเกิน 35 ปี แม่ที่แท้งบ่อย รวมถึงสามารถตรวจคัดกรองโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง โดยใช้เทคนิคการตรวจต่างๆ เพิ่มเติม อันนี้ก็จะช่วยให้มั่นใจมากขึ้นว่าตัวอ่อนมีคุณภาพและไม่มีความผิดปกติแฝงอยู่


ที่สำคัญการตรวจโครโมโซมในระยะนี้ไม่ส่งผลกับการตั้งครรภ์ เนื่องจากการดึงเซลล์จากรกไม่ส่งผลกับตัวอ่อน ต่างจากการตรวจตัวอ่อน Day 3 ที่มีตัวอ่อนเพียง 6-8 เซลล์เมื่อไปดึงเซลล์ออกมาก็อาจส่งผลกับตัวอ่อนและการตั้งครรภ์ได้


🔸️ 5. #ลดการเกิดตั้งครรภ์แฝด


เนื่องจากเป็นการคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุด และเป็นระยะที่พร้อมจะฝังตัว ดังนั้นคุณหมอจึงย้ายตัวอ่อนกลับเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น จึงลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์แฝดซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนของการทำเด็กหลอดแก้ว เพราะการตั้งครรภ์แฝดมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของทั้งแม่และทารกในครรภ์หลายประการเช่น ทารกตายในครรภ์ หรือ คลอดก่อนกำหนด เป็นต้น


นอกจากนี้ตัวอ่อนที่เหลือสามารถเก็บแช่แข็งไว้ได้ การย้ายกลับตัวอ่อนในจำนวนที่น้อยลง ทำให้มีตัวอ่อนคุณภาพดี เหลือเก็บแช่แข็งไว้สำหรับย้ายกลับในรอบถัดๆ ไปได้ค่ะ


🔴 ข้อจำกัดสำหรับของการเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์


หากแม่ๆที่กระตุ้นไข่ได้น้อย ทำให้ได้ตัวอ่อนไม่มากการเลี้ยงตัวอ่อนนานไปจนถึงวันที่ 5-6 อาจไม่มีตัวอ่อนเหลือให้ย้ายกลับสู่โพรงมดลูก เนื่องจากตัวอ่อนตายหมดหรือคุณภาพไม่ดี ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นเคสๆไปค่ะ ต้องดูว่าได้ตัวอ่อนกี่ตัว การแบ่งเซลล์พัฒนาดีหรือไม่ ดูอายุของแม่ประกอบกับความสมบูรณ์ของมดลูกและสภาพร่างกายด้วยค่ะ


ดังนั้นจะเห็นว่าตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์เป็นตัวอ่อนระยะที่เหมาะสมที่จะใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูกและเป็นการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์


💗 หัวใจสำคัญคือตัวอ่อนของเราจะเติบโตไปถึงระยะบลาสโตซิสต์นั้นหรือไม่นั้น นอกจากเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและห้องแล็บที่ทันสมัยแล้ว ปัจจัยหลักขึ้นอยู่กับคุณภาพของตัวอ่อนซึ่งเป็นผลมาจากเซลล์ไข่ที่มีคุณภาพของแม่ๆ นั่นเองค่ะ


การบำรุงร่างกายให้แข็งแรง บำรุงเซลล์ไข่และสเปิร์มให้พร้อมล่วงหน้าก่อนเข้ากระบวนการในการเก็บไข่และเก็บน้ำเชื้อ ด้วยการทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ทานวิตามินเสริมที่จำเป็น ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จค่ะ


 

📱 ชม Live ไขข้อข้องใจ ทำไมทำ ICSI ทีไรไม่เคยถึงบลาสต์สักที! 👇👇👇👇


📱ชม Live ทำ ICSI คัดโครโมโซมตัวอ่อน เพิ่มโอกาสความสำเร็จ! 👇👇👇👇

👩‍🦰 ศึกษาการบำรุงไข่ก่อนไปทำ IUI,IVF,ICSI ล่วงหน้า 3 เดือน (คลิกอ่านเลยค่ะ)

👇👇👇👇👇


👱‍♂️ ศึกษาอาหารบำรุงสเปิร์ม

👇👇👇👇 (คลิกอ่านเลยค่ะ)


💓 ศึกษาขั้นตอนเตรียมผนังมดลูกก่อนใส่ตัวอ่อน (คลิกอ่านเลยค่ะ)

👇👇👇👇👇


🟣 ศึก​ษาข้อมูล​รายละเอียด​ OvaAll วิตามิน​ตัวจบ สยบ​ทุก​ปั​ญหาท้องยาก​ วิตามิน​บำรุงไข่​ที่ครบที่สุด เพื่อผู้​มีบุตรยาก​👇👇


▶️ 🆔 ปรึกษา/สั่งผลิตภัณฑ์บำรุงแบบครูก้อย ที่ Line Official

คลิกลิ้งค์นี้เลย 👉 https://lin.ee/fBa4xkz


📞 Call Center : 083-4395882 (ในวัน-เวลาทำการค่ะ)


#ครูก้อยBabyandMom


 

ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของบทความไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต


ดู 230 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page