3 ภาวะแทรกซ้อนของการทำเด็กหลอดแก้ว
top of page
ค้นหา

3 ภาวะแทรกซ้อนของการทำเด็กหลอดแก้ว



3 ภาวะแทรกซ้อนของการทำเด็กหลอดแก้ว


คู่สมรสที่มีบุตรยากอาจต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการช่วยให้ตั้งครรภ์ วิธีการที่เป็นที่นิยมคือการทำเด็กหลอดแก้ว ที่เรียกกันว่าเด็กหลอดแก้ว (ICSI) เพราะเป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกายโดยการเก็บไข่จากฝ่ายหญิงออกมาผสมกับสเปิร์มของฝ่ายชายในห้องปฏิบัติการจนกลายเป็นตัวอ่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนนั้นย้ายกลับไปฝังตัวในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงต่อไป


การทำเด็กหลอดแก้วอาจมีอัตราความสำเร็จสูงกว่าการปฏิสนธิตามธรรมชาติสำหรับคู่ที่มีบุตรยาก อย่างไรก็ตามการทำเด็กหลอดแก้วก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในกระบวนการทำขึ้นได้


วันนี้ครูก้อยสืบค้นข้อมูลภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้มาฝากแม่ๆค่ะ เพื่อศึกษาเป็นความรู้และได้เตรียมตัวรับมืออย่างถูกต้องหากเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวขึ้นค่ะ



1. #ภาวะแทรกซ้อนอันดับแรกคือความเสี่ยงที่จะไม่ตั้งครรภ์จากการรักษา


โดยทั่วไปเริ่มต้นความเสี่ยงตั้งแต่ขั้นตอนการกระตุ้นไข่ อาจกระตุ้นไข่ไม่ได้ อาจเก็บไข่ไม่ได้ อาจจะผสมแล้วไม่ได้ตัวอ่อน อาจไม่ได้ย้ายตัวอ่อนเนื่องจากคุณภาพตัวอ่อนไม่ดีพอ หรือตัวอ่อนผิดปกติ ไม่มีตัวอ่อนเลี้ยงไปถึงระยะที่เหมาะสมเลย ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้จะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสุขภาพ ความสมบูรณ์ของเซลล์ไข่และสเปิร์มของแต่ละคู่ ประกอบกับอายุที่มากด้วย


โดยปกติแล้วโอกาสสำเร็จจากการทำเด็กหลอดแก้วมีประมาณ 50% ต่อรอบ แต่หากมีการคัดโครโมโซมตัวอ่อนก่อนย้าย อัตราความสำเร็จจะสูงถึง 75-80% ต่อรอบค่ะ


นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตกเลือดในช่องท้องจากขั้นตอนการเก็บไข่ ซึ่งโอกาสในการเกิดนั้นเพียงแค่น้อยกว่า 0.5%



.


2. #ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากยากระตุ้นไข่


ทำให้ร่างกายผลิตไข่ได้มากกว่าปกติ และเกิดภาวะบวมน้ำทั่วร่างกาย (Ovarian hyperstimulation


syndrom, OHSS) หรือ ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป


เสี่ยงต่อรังไข่แตกได้ถ้าได้รับการกระแทกแรงๆ เนื่องจากรังไข่นั้นจะขยายตัวมากกว่าปกติ โอกาสในการเกิดภาวะบวมน้ำจากระดับฮอร์โมนที่สูงมากจนอยู่ในระดับอันตรายน้ันมีโอกาสต่ำกว่า 1% โดยเฉพาะในกรณีที่การกระตุ้นไข่นั้นได้รับการควบคุมอย่างเหมาะสม ส่วนรายที่บวมน้ำ คลื่นไส้อาเจียนในระดับที่ไม่รุนแรง พบได้ประมาณ ร้อยละ 10-15 สามารถหายได้เอง โดยไม่ต้องรักษาเพียงแค่ประคับประคองเรื่องอาการคลื่นไส้อาเจียน


นอกจากนี้การใช้ยาฉีดกระตุ้นไข่ อาจทำให้เกิดรอยแดงคันบริเวณที่ฉีดยา เลือดออกใต้ผิวหนัง เขียวช้ำได้ ช่วงฉีดยาบางรายมีคลื่นไส้อาเจียน หงุดหงิด ท้องบวม ท้องอืด ปวดหน่วงท้องน้อย มูกใสออกทางช่องคลอด


หากพบความปกติรุนแรงก็ควรกลับไปพบแพทย์ทันทีค่ะ



.


3. #การตั้งครรภ์แฝด


จัดว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของการรักษา โดยเฉพาะการตั้งครรภ์แฝดที่มากกว่าสองคน เนื่องจากในขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนนั้นแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าจะใส่ตัวอ่อนระยะไหนขึ้นอยู่กับจำนวน คุณภาพของตัวอ่อน และ สภาพร่างกาย ประวัติการรักษาและอายุของฝ่ายหญิงด้วย


โดยปกติจะย้ายตัวอ่อนไม่เกิน 3 ตัวอ่อนในระยะตัวอ่อน Day 3-4 และ อาจย้ายตัวอ่อน เพียงตัวเดียวในระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst ตัวอ่อน Day 5) เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แฝด ดังนั้นหากมีการย้ายตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งตัวก็อาจเกิดการตั้งครรภ์แฝดได้ซึ่งการตั้งครรภ์แฝดก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ และโอกาสในการคลอดก่อนกำหนดมีสูง


เหตุผลที่แพทย์ย้ายตัวอ่อนหลายตัวเพราะพิจารณาแล้วว่าตัวอ่อนคุณภาพไม่ดีเลยใส่ไปหลายตัวให้ลุ้น เพราะส่วนใหญ่ใส่สามติดหนึ่ง หรือหากคุณภาพไม่ดีเลยอาจไม่ติดเลย แต่ถ้าเกิดติดทั้งหมดขึ้นมาก็จะได้ครรภ์แฝดค่ะ


หากแม่ท่านไหนได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพระยะบลาสโตซิสต์แพทย์ก็จะย้ายเพียงตัวเดียวค่ะ เพราะระยะนี้เป็น


ระยะที่แข็งแรงพร้อมฝังตัวแล้ว


.

.



หากเราบำรุงไข่และอสุจิไปให้แข็งแรงสมบูรณ์ล่วงหน้าก่อนเข้าสู่กระบวนการ โอกาสในการตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้วก็มีสูงขึ้นค่ะ เพราะไข่และสเปิร์มที่มีคุณภาพจะเพิ่มอัตราปฏิสนธิและเติบโตเป็นตัวอ่อนที่แข็งแรง ฝังตัวสมบูรณ์


ครูก้อยรวบรวมคัมภีร์อาหารบำรุงไข่ บำรุงสเปิร์มก่อนไปทำเด็กหลอดแก้วไว้ให้แล้ว ศึกษาและทำตามนะคะ ขอให้ประสบความสำเร็จ มีเจ้าตัวน้อยมาเติมเต็มครอบครัวในเร็ววันค่ะ👶




ครูก้อย​ | ผู้ก่อตั้งเพจสำหรับผู้มีบุตรยาก BabyandMom.co.th


ดู 127 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page