top of page
ค้นหา

🩸10 ปัญหาประจำเดือน🩸🩸เรื่องกวนใจของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม#คืนความสาวทั้งระบบ


🩸10 ปัญหาประจำเดือน🩸🩸เรื่องกวนใจของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

#คืนความสาวทั้งระบบ


ประจำเดือนเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงประสิมธิภาพของรังไข่และความสมดุลของฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งรอบเดือนปกติควรมี 28 วันและประจำเดือนควรมาประมาณ 3-7 วันใน 1 รอบ


หากรอบเดือนยาวเป็น 35-40 วัน ประจำเดือนมาน้อยแค่ 1-2 วัน มันอาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของฮอร์โมนและการทำงานของรังไข่แล้วค่ะ


"รังไข่" ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน ที่บ่งบอกความเป็นหญิง รูปร่าง ผิวพรรณ การตกไข่ การมีประจำเดือน และสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ช่วยให้ผนังมดลูกฟอร์มตัวหนาขึ้นหลังไข่ตก เพื่อพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน


"ภาวะรังไข่เสื่อม" คือ ภาวะที่รังไข่ทำงานลดน้อยลงหรือเหลือปริมาณไข่ในรังไข่น้อย ฮอร์โมนเพศไม่สมดุล จึงทำให้คุณผู้หญิงเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก


#ผู้หญิงที่มีภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย รังไข่จะไม่ตอบสนองต่อการทำงานของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองที่เป็นฮอร์โมนควบคุมให้รังไข่ทำงาน ผู้หญิงเหล่านี้จะมีอาการต่างๆเหมือนสตรีในวัยหมดประจำเดือน


อาการที่พบบ่อยของรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ได้แก่

ประจำเดือนมาผิดปกติเป็นสิ่งบอกเหตุแรกๆ คือ ประจำเดือนที่เคยมาปกติจะเริ่มห่างออกเรื่อยๆ ปริมาณประจำเดือนจะลดลงจนในที่สุดจะไม่มีประจำเดือนมาอีก


มีอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนเช่น อาการร้อนวูบวาบตามตัว นอนไม่หลับ หงุดหงิด โมโหง่าย ช่องคลอดแห้ง เจ็บแสบช่องคลอดเวลาที่มีเพศสัมพันธ์


10 ปัญหาประจำเดือนที่พบบ่อย ได้แก่


1. มีเลือดประจำเดือนออกมากผิดปกติ


ปกติประจำเดือนจะมามากใน 1-2 วันแรก หากประจำเดือนไหลออกมากผิดปกติเกิน 5 วัน มรอาการตัวซีด ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ เพราะมันอาจ


เป็นสัญญาณอย่างอื่น เช่น เนื้องอกมดลูก หรือ ช็อคโกแลตซีสต์ได้


.


2. มีเลือดประจำเดือนออกน้อย กะปริดกะปรอย


ในทางกลับกันหากเลือดออกกะปริดกะปรอย มาน้อยและมีอาการอ่อนเพลีย เฉื่อยเนือย เต้านมแฟบ ขนรักแร้และขนที่อวัยวะเพศร่วง อาจจะเคยตกเลือดอย่างรุนแรง หรือเป็นลมขณะคลอดบุตร ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจหาโรคซีแฮน หรือโรคที่ต่อมใต้สมองขาดเลือด ทำให้ทำงานน้อยลงและทำให้รังไข่ทำงานน้อยลงด้วย


.


3. ประจำเดือนสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็น


ประจำเดือนสีดำคล้ำ เหม็น เป็นก้อน มันคือเลือดเก่าที่คั่งค้างอยู่ในมดลูกตั้งแต่รอบเดือนที่แล้ว

เมื่อถึงรอบมีประจำเดือนใหม่..เยื่อบุมดลูกที่หลุดลอกก็จะใช้เวลาในการไหลลงมายังช่องคลอดนาน ทำให้


เลือดสัมผัสกับอากาศนาน เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นขึ้น ทำให้สีแดงของเลือดกลายเป็นสีน้ำตาลหรือดำได้ หากมีกลิ่นคาว คืออาจติดเชื้อ


หากประจำเดือนมีกลิ่นเหม็นผิดปกติและมาพร้อมอาการคัน หรือเจ็บแสบในช่องคลอด และมีตกขาวด้วย คุณอาจกำลังเสี่ยงติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่ช่องคลอด หรือมดลูก มีพยาธิในช่องคลอด หรืออุ้งเชิงกรานอักเสบค่ะ


.


4. ปวดท้องประจำเดือน


อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก จากการหลั่งสารที่ชื่อว่าพรอสตาแกลนดิน ที่สร้างขึ้นบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน ทำให้เยื่อบุมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน โดยปกติผู้หญิงจะมีอาการปวดท้องน้อยก่อนประจำเดือนมา 1-2 วัน และมีอาการปวดในช่วงประจำเดือนมาแล้ว 2-3 วันแรก โดยลักษณะเป็นอาการปวดบีบหรือปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย


หากมีสุขภาพร่างกายในช่วงเวลานั้นไม่สมบูรณ์แข็ง


แรง หรือมีความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอทำให้ระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายผิดปกติ และเมื่อยิ่งมีความเครียดจะส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงการทำงานของรังไข่จึงขาดความสมดุล โดยแสดงออกมาด้วยอาการปวดบริเวณท้องน้อยเพิ่มมากขึ้นค่ะ


นอกจากนี้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไม่สมดุล ส่งผลต่อฮอร์โมนเซโรโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมอารมณ์ทำให้อารมณ์ขึ้นๆลงๆ และหากฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่เสถียรจะส่งผลต่อกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) เช่น มีอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน ตัวบวม เหวี่ยงวีน ซึมเศร้า



.


5. ประจำเดือนรอบยาว


รอบประจำเดือนปกติควรมี 28 วัน และไม่ควรเกิน 35 วัน ผู้หญิงที่ประจำเดือนรอบยาวคือ 35 วันมาที เกิดจากรังไข่เริ่มเสื่อม ฮอร์โมนเพศไม่สมดุล เพราะโดยปกติในช่วง 14 วันแรกของรอบเดือน จะเป็น


ช่วงที่มีประจำเดือน 3-7 วัน จากนั้นฮอร์โมน FSH ก็จะกระตุ้นให้ไข่โตพร้อมตกใน Day14 ของรอบเดือน ซึ่งช่วงนี้ควรจะกินเวลาไม่ควรเกิน 20 วัน หากกินเวลานาน ไข่ก็จะตกไม่ตรงรอบ รอบเดือนก็จะยืดเวลายาวออกไปผิดปกติ


.


6. ประจำเดือนรอบสั้น


จากที่กล่าวข้างต้นหากรอบเดือนสั้นกว่า 21 วัน บ่งบอกถึงฮอร์โมนเพศไม่สมดุลเช่นกัน เพราะใช้เวลาในการสร้างการเจริญเติบโตของฟองไข่สั้น อาจเป็นสัญญาณของ "รังไข่เสื่อม" หรือ "วัยทองก่อนวัย" ค่ะ ถ้าเป็นแบบนี้ คือฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่ (FSH) จะสูงขึ้น แต่ ฮอร์โมน LH จะต่ำ ส่งผลให้ไข่ในถุงฟอลิเคิลตกลงมาก่อนที่จะเจริญเติบโตเต็มที่ เป็นไข่ที่ไม่สุกที่พร้อมจะรับการปฏิสนธิ ส่งผลให้มีบุตรยาก


.


7. ประจำเดือนเป็นลิ่มเลือด



ประจำเดือนออกมาเป็นลิ่มเลือดคล้ายเลือดหมู มีเลือดออกภายในค่อนข้างมาก อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า อุ้งเชิงกรานกำลังอักเสบ


.


8. ประจำเดือนมานานหลายวัน


ประจำเดือนมานานผิดปกติเกินกว่า 7 วัน มักจะเป็นในช่วงที่ฮอร์โมนแปรปรวน อ้วนเกินไป เครียด หรือออกกำลังกายมากเกินไป ทำให้ฮอร์โมนเพี้ยนค่ะ


.


9. ประจำเดือนขาด หาย ทิ้งช่วงนาน


ผู้หญิงบางคนประจำเดือนมา 3 เดือนครั้ง หรือประจำเดือนขาดหายเป็นปี


สาเหตุหลักที่ทำให้ประจำเดือนผิดปกติคือ ภาวะ PCOS หรือ ภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ ส่งผลให้ฮอร์โมนไม่สมดุล ประจำเดือนรอบยาว ไข่ไม่ตก


เรื้อรัง! ภาวะ PCOS พบได้ทั่วไปในสตรีวัยเจริญพันธุ์ และมันเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงท้องยาก!


.


10. มีอาการ PMS รุนแรง


อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome) หรือที่เรียกว่า พีเอ็มเอส (PMS) คืออาการทางอารมณ์ ร่างกายและพฤติกรรม เช่น หงุดหงิด เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือเจ็บเต้านม พบว่าอาการต่าง ๆ ของอาการก่อนมีประจำเดือนนั้นเกิดกับสตรีวัยเจริญพันธ์ได้ถึง 85 เปอร์เซ็นต์ โดยระดับความรุนแรงของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จะมีตั้งแต่ที่สามารถสังเกตได้เล็กน้อยไปจนถึงอาการที่รุนแรงมาก อาการต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนและมักจะหายไปเมื่อประจำเดือนมา


ปัจจัยสำคัญของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน คือ


การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิง คือ ฮอร์โมนโปรเจสเตโรน (Progesterone) และเอสโตรเจน (Estrogen) ในช่วงก่อนมีประจำเดือน รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง โดยมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีผลต่ออารมณ์และเป็นส่วนที่กระตุ้นอาการก่อนมีประจำเดือนได้ การขาดเซโรโทนิน อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในช่วงก่อนมีประจำเดือน ทำให้เกิดความอ่อนล้า มีความอยากอาหารมากขึ้นและทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับได้


.

.


🌸ในการปรับประจำเดือนให้มาปกติแม่ๆ ต้องหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องหันมาออกกำลังกายควบคุมน้ำหนัก พักผ่อนให้เพียงพอและปรับการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามผ่อนคลายจัดการกับความเครียด


และทานวิตามินที่ให้ฮอร์โมนเสริมจากสารสกัดจาก


ธรรมชาติที่ปลอดภัย เช่น ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง โสม สารสกัดจากทับทิม เปลือกสนฝรั่งเศส ลูกยอ เมล่อน เป็นต้น เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย เมื่อฮอร์โมนกลับมาสมดุล การทำงานของระบบสืบพันธุ์ก็กลับปกติ #คืนความสาวทั้งระบบ


อย่างไรก็ตาม หากมีปัญหาประจำเดือนขาดหายเลย หรือเลือดออกมาก มีกลิ่น ติดเชื้อ แม่ๆ ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาหตุอย่างละเอียดค่ะ เพราะอาจเกิดจากความผิดปกติของมดลูก หรือ โรคภายในสตรี หรือ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เพื่อจะได้ให้แพทย์ตรวจวินินิจฉัยและรักษาต่อไปค่ะ



ดู 434 ครั้ง0 ความคิดเห็น
ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page