top of page
ค้นหา

📣 อายุมาก แต่ก็ยังอยากมีโอกาสท้อง ไม่ใช่เรื่องยาก หากแม่ๆรู้จักบำรุงไข่ให้มีคุณภาพ



ผู้หญิงวัย 35+ ทางการแพทย์คือช่วงขาลงของวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงวัยนี้จะมีลูกยากเพราะเซลล์ไข่เสื่อมคุณภาพ เนื่องจาก "อายุ" เป็นตัวแปรสำคัญของความสมบูรณ์ของเซล์ไข่ ยิ่งแก่ยิ่งท้องยาก เพราะยิ่งแก่ไข่ยิ่งฝ่อ และมีแนวโน้มผิดปกติทางโครโมโซมสูงขึ้น



วัย 35 เซลล์ไข่จะมีความผิดปกติทางโครโมโซมไปแล้วกว่า 50% ไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติก็จะไม่ปฏิสนธิ หรือ ไม่แบ่งตัว ไม่ฝังตัว หรือแท้งไปในระยะเริ่มต้น



แต่!...เราสามารถบำรุงไข่ให้มีคุณภาพได้ ด้วยหลักโภชนาการที่ถูกต้อง การปรับสมดุลฮอร์โมนให้สมดุล ยิ่งอายุ 35+ ยิ่งต้องมีวินัยและบำรุงเป็นพิเศษ



ไปดู 10 ข้อบำรุงไข่ของสตรี 35+ กันค่ะ



1. เน้นทานโปรตีนจากพืช



บำรุงไข่โปรตีนห้ามขาด เซลล์ไข่เป็นเซซลล์สืบพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายต้องการโปรตีนช่วยในการเจริญเติบโต ดังนั้นต้องกินโปรตีนให้เพีงพอต่อวันและเน้นโปรตีนจากพืช



มีงานวิจัยศึกษาพบว่าการรับประทานโปรตีนจากพืชช่วยลดความเสี่ยงภาวะไข่ไม่ตกได้ถึง 50% และยังมีอีกงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาพบว่าผู้หญิงกินโปรตีนจากสัตว์จำนวนถึง 39% จะประสบปัญหาภาวะที่มีบุตรยากมากกว่าผู้หญิงที่กินโปรตีนจากพืช



การทานเนื้อสัตว์ติดมัน อาจมีความเสี่ยงเรื่องสารเร่งเนื้อแดงที่ตกค้าง ทำให้ร่างกายอักเสบ ซึ่งการอักเสบในร่างกายส่งผลให้ภาวะ PCOS แย่ลงกว่าเดิมค่ะ เช่นเดียวกัน การทานอาหารพวกของมัน ของทอด ของหวาน น้ำตาล เหล่านี้ทำให้ร่างกายอักเสบทั้งสิ้น



.



2. ลดทานคาร์บขัดสี เน้นทานคาร์บเชิงซ้อน



แม่ๆ ต้องเลือกทานคาร์บเชิงซ้อนนะคะ ไก้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว ธัญพืชถั่วต่างๆ งาดำ แฟล็กซีด เมล็ดฟักทอง ขนมปังโฮลวีต เป็นต้น



เพราะเมื่อเราทานคาร์บเข้าไปแล้วร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน ซึ่ง โรคเหล่านี้ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ยากทั้งสิ้น



แต่ถ้าเราเลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carb) หรือคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี ร่างกายจะใช้เวลาย่อยนานกว่าพวก



คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว หรือ คาร์โบไฮเดรตที่ขัดสี (Refined Carb) เช่น ข้าวขาว แป้ง น้ำตาล ขนมปัง เบเกอรี่ เมื่อใช้เวลาย่อยนานกว่า จะให้พลังงานนานกว่า ไม่ทำให้หิวโหย ให้ไฟเบอร์สูง และไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว (glucose) ซึ่งการทำงานของร่างกายนั้นจะเปลี่ยนกลูโคสที่มีมากเกินไปให้กลายเป็นไขมัน ดังนั้นคนที่พยายามลดความอ้วน หากลดการทานคาร์บได้ก็จะส่งผลต่อน้ำหนักที่ลดลงได้นั่นเองค่ะ



มีงานวิจัยศึกษาพบว่าการทานอาหารแบบลดคาร์บประเภท Refined Carb (คาร์โบไฮเดรตขักสี) ลง ช่วยลดระดับอินซูลิน ส่งผลต่อ ฮอร์โมนที่สมดุล วงจรการตกไข่เป็นปกติขึ้นทำให้มีอัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่รับประทานอาหารตามปกติ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย



.



3. งดของหวาน น้ำหวาน ของหวานทุกชนิด



น้ำตาลคือภัยร้ายทำลายเซลล์ไข่ น้ำตาลคืออนุมูลอิสระ ยิ่งกินมากยิ่งแก่ ไข่ยิ่งแก่ เซลล์ยิ่งเสื่อม น้ำตาลยังทำให้ฮอร์โมนอินซูลินหลั่งออกมาผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายอักเสบ ฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดเพี้ยน ไข่ไม่โต แต่ไปเร่งสร้างฮอร์โมนเพศชาย ทำให้รังไข่ทำงานผิดปกติ ไข่ด้อยคุณภาพ



.



4. ทานกรดไขมันดี เลิกของมัน ของทอดที่มีแต่ไขมันเลว



กรดไขมันดี เช่น น้ำมันปลา น้ำมันจมูกข้าว โอเมก้า 3 จากปลาแซลมอน ไข่ไก่ อโวคาโด้ แฟลกซีด และงาดำ ล้วนแต่ให้กรดไขมันดีซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยบำรุงรังไข่ ชะลอรังไข่เสื่อม รังไข่ผลิตไข่ได้อย่างมีคุณภาพ



กรดไขมันดียังช่วยห่อหุ้มเซลล์ไข่ให้ปลอดภัย ไม่ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ



.



5. เน้นทานสารต้านออกซิแดนท์ เพื่อสร้างเกราะป้องกันเซลล์ไข่



เซลล์ไข่ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระทุกวัน "อนุมูลอิสระ" (Free Radicals) เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาออกซิเดชันภายในร่างกาย ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถพบได้จากหลากหลายรูปแบบตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนออกซิเดชั่นที่ทำให้เหล็กกลายเป็นสนิม น้ำมันพืชที่มีกลิ่นเหม็นหืน ผลแอปเปิลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล



แต่หากเป็นในร่างกายเราจะพบได้จากกระบวนการการย่อยสลายโปรตีนและไขมัน ซึ่งมาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป การรับเอามลพิษทางอากาศ ควันบุหรี่ เชื้อโรค ฝุ่นละออง การรับเอารังสียูวีจากแสงแดด ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ



หรือแม้กระทั่งการหายใจก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ กลายเป็นสารอนุมูลอิสระล่องลอยอยู่ภายในร่างกายและสร้างความเสียหายให้กับเซลล์ต่างๆ การมีสารอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมากในร่างกายจะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยและโรคภัยที่เราเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้



สารต้านอนุมูลอิสระทำงานอย่างไร ?



หน้าที่ของสารต้านอนุมูลอิสระ ก็คือการเข้ากำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย และยังทำหน้าที่ชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ทำหน้าที่คงความอ่อนเยาว์ให้กับผิวและอวัยวะภายใน ดังนั้นบทบาทหลักของสารต้านอนุมูลอิสระ คือทำหน้าที่ "ลดการสร้าง" อนุมูลอิสระภายในร่างกาย และ "ลดอันตราย" ที่เกิดขึ้น



การเข้าไปทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ จะเข้าไปจับกับตัวรับที่สามารถยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน สารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยาต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เข้าไปทำลายเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย สารต้านอนุมูลอิสระจะตรงเข้าขัดขวางปฏิกิริยาดังกล่าว เข้าจับกับสารอนุมูลอิสระ ยับยั้งไม่ให้เกิดการทำลายเซลล์ในปฏิกิริยาออกซิเดชัน และถูกออกซิไดซ์ โดยมีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นตัวรีดิวซ์



มีงานวิจัยศึกษาถึงประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีผลต่อภาวะเจริญพันธ์ พบว่า



การทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปขัดขวางการทำลายเซลล์จากอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกายที่จะมาทำลายเซลล์ไข่ของแม่ๆค่ะ



ยังช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ จึงช่วยลดความเสื่อมสภาพของร่างกาย ช่วยคงความอ่อนเยาว์ และมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น



ดังนั้น เมื่อแม่ๆ วางแผนตั้งครรภ์จึงต้องบำรุงเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์ที่สุดเพื่อจะได้มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพ แม่ๆ ก็จะมีโอกาสท้องธรรมชาติได้ค่ะ



ยังมีงานวิจัยศึกษาพบว่า สำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว สาเหตุหลักของการทำเด็กหลอดแก้วแล้วไม่ประสบความสำเร็จมาจากตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ (รองลงมาคือปัญหาเรื่องผนังมดลูก) ซึ่ง ตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์อาจมาจากโครโมโซมผิดปกติ สืบเนื่องมาจากเซลล์ไข่มีความเสื่อมจากอนุมูลอิสระ หรือไข่ที่ไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นนั่นเอง เมื่อเกิดการรวมตัวกับ DNA แล้วทำให้โมเลกุลของ DNA เปลี่ยนไป ส่งผลให้โครโมโซมเสียหาย หรือเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ชั้น lipid ซึ่งเป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์ทำให้เซลล์ไข่เสื่อมสภาพ (Oocyte aging)



นอกจากนี้อนุมูลอิสระจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์ไข่ได้มากยิ่งขึ้นในกระบวนการ “ทำเด็กหลอดแก้ว” เนื่องจากเซลล์ไข่ที่เก็บออกมา จะไม่มีของเหลวที่เรียกว่า “follicular fluid” ป้องกันอยู่เหมือนในร่างกายมนุษย์ ทำให้เซลล์ไข่ถูกทำลายและเสื่อมสภาพเร็วขึ้นไปอีก



ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมเซลล์ไข่ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด และถูกทำลายน้อยที่สุดก่อนเข้ากระบวนการทางการแพทย์ด้วยการทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระค่ะ



อาหารที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม มะนาว มะกรูด ผักผลไม้ เช่น ผักเคล ผักโขม กะหล่ำม่วง มะเขือเทศ บีทรูท แครอท ทับทิม ธัญพืช เช่น ถั่วต่างๆ งาดำ ควินัว แฟล็กซีด



น้ำมะกรูดคั้นสด 100% ของครูก้อย เป็นน้ำมะกรูด "สูตรผู้มีบุตรยาก" อุดมไปด้วยวิตามินซีสด "ไบโอฟลาโวนอยด์" และสารต้านอนุมูลอิสระ "เควอซิทีน"



น้ำมะกรูดสูตรครูก้อย มีวิตามินซีสูง วิตามินซีจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ไม่ให้ถูกทำลาย สมบูรณ์พร้อมรับการปฏิสนธิ และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน



น้ำมะกรูดสูตรครูก้อยมีไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonid) สูงถึง 1,104±74 มิลลิกรัม ต่อมะกรูด 100 กรัม ไบโอฟลาโวนอยด์หรือวิตามินพีเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมวิตามินซี และยังช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และเส้นเลือดฝอย โดยเฉพาะบริเวณมดลูกที่มีเส้นเลือดหล่อเลี้ยงจำนวนมาก ทำให้มดลลูกแข็งแรง เพราะมีเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวง่ายขึ้น



ไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะที่มดลูก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการแท้งในระยะเริ่มต้น และ ไบโอฟลาโวนอยด์ยังไปเสริมการทำงานของวิตามินซีที่ช่วยเรื่องการเพิ่มระดับฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในการตั้งครรภ์



มีงานวิจัยจาก The University of Texas ศึกษาพบว่าผู้หญิง 53% ที่ทานอาหารวิตามินซี และไบโอฟลาโวนอยด์สูงจะมีช่วงลูเตียลเฟส (Luteal Phase) ยาวขึ้น



ลูเตียลเฟส คือระยะหลังการตกไข่ที่ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น ร่างกายจะสร้างมดลูกให้หนาขึ้นพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน หากช่วงระยะเวลานี้สั้นโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนก็ลดลง



ในน้ำมะกรูดคั้นสดมีสารต้านอนุมูลอิสระ "เควอซิทีน" สูงที่สุด



โดยการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณ “สารเควอซิทิน”ในผักผลไม้รสเปรี้ยวชนิดต่างๆ พบว่าในมะกรูดมีสารเควอซิทินสูงที่สุดถึง 43±9 มิลลิกรัม ต่อมะกรูด 100 กรัม



ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเควอซิทีนมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงเซลล์ไข่ ป้องกันเซลล์ไข่จากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ทำให้ไข่สวยสมบูรณ์ เพื่มโอกาสตั้งครรภ์



จากงานวิจัย ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Oncotarget เมื่อปี 2017 ศึกษาพบว่า สารเควอซิทินช่วยลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ไข่ โดยปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระ “Quercetin” ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของเซลล์ไข่ลดลงอย่างมาก



โดยเฉพาะการเลี้ยงไข่ที่ 24 ชั่วโมง จะเห็นว่าหากไม่มี “สารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทิน” ไข่จะฝ่อเสียหายเกือบ 80% แต่ในกรณีที่มีเควอซิทินเพียง 10 ไมโครโมลาร์ จะช่วยลดความเสียหายได้เกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในความสำเร็จจนถึงระดับบลาสโตซีสต์ได้อีกเท่าตัว



.



6. เสริมวิตามินบำรุงไข่ โฟลิก Q10 น้ำมันปลา และมัลติวิตามิน



จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Medicine Insight Womens Health เมื่อปี 2019


ได้รวบรวมผลการศึกษา ถึงความสำคัญของ micronutrients ซึ่งได้แก่ "วิตามินและแร่ธาตุ" ที่จำเป็นที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์



งานวิจัยศึกษาพบว่าสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนอกจากการทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการแล้ว การขาดวิตามินและแร่ธาตุก็เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่ง เพราะวิตามินและแร่ธาตุมีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างปกติและสมบูรณ์ รวมถึงระบบสืบพันธุ์ด้วย



การได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอนอกจากจะส่งผลให้ผู้หญิงมีลูกง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิด



ส่งผลต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ (oocyte quality and maturation)


การปฏิสนธิ ( fertilization)


การฝังตัวของตัวอ่อน (implantation)


การเจริญเติบโตของตัวอ่อน (embryo development)


ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของภาวะเจริญพันธุ์อีกด้วย



วิตามินบำรุงไข่ OvaAll เป็นวิตามินที่รวมวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อผู้หญิงวางแผนตั้งครรภ์มาให้แล้วอย่างครบถ้วน OvaAll จึงเป็น "วิตามินตัวจบ สยบทุกปัญหาท้องยาก"



ใน 1ซองจะประกอบด้วยวิตามิน 4 เม็ดที่ว่าที่คุณแม่ต้องทานล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน ได้แก่



FOLIC ACID (400 mg.) ช่วยในการสร้างตัวอ่อนที่



สมบูรณ์ ป้องกันและลดความผิดปกติของระบบประสาท ภาวะไม่มีเนื้อสมอง และป้องกันภาวะไขสันหลังไม่ปิด ซ่อมแซมพันธ์กรรม และควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ บำรุงเม็ดเลือดให้สมบูรณ์ เพราะโฟลิกช่วยเสริมการสร้างธาตุเหล็ก ป้องกันภาวะโลหิตจางอันเป็นสาเหตุที่ทำให้การตกไข่ผิดปกติ



Multivitamin &minerals กว่า 20 ชนิดช่วยปรับสมดุลให้วงจรการตกไข่ให้เป็นอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยบำรุงเซลล์ไข่ให้เจริญเติบโตสมบูรณ์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันส่งเสริมการทำงานระบบต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ ส่งเสริมการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์



CO-Q10 เพิ่มพลังงานให้กับไมโตคอนเดรียซึ่งทำหน้าที่สร้างพลังงานให้กับเซลล์ไข่ เพื่อความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์ ลดการถูกทำลายของเซลล์จากสารอนุมูลอิสระในระบบสืบพันธุ์ ชะลอการฟื้นฟูความเสื่อถอยของเซลล์



Fish Oil ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ ส่งผลให้วงจรการตกไข่เป็นปกติ เพิ่มมูกตกไข่ บำรุงเซลล์ไข่ให้มีคุณภาพ สมบูรณ์พร้อมปฏิสนธิลดการอักเสบในร่างกายอันเป็นสาเหตุแห่งความเสื่อมของเซลล์ ให้โอเมก้า 3 และ DHA ซึ่งช่วยเสริมสร้างการเจริญโตและพัฒนาสมอง ระบบประสาทและสายตาของทารกในครรภ์



โดยหัวใจสำคัญคือ ต้องทานอย่างต่อเนื่องล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ค่ะ เป็น "prenatal vitamins" หรือ "วิตามินเตรียมตั้งครรภ์" ที่จะเสริมสารอาหารให้กับร่างกายแม่ๆเตรียมพร้อมก่อนเกิดการปฏิสนธิและการแบ่งตัวของตัวอ่อน พูดง่ายๆ คือ เราต้องมีวิตามิน แร่ธาตุและสารอาหารที่เพียงพอในร่างกายพร้อมอยู่แล้วก่อนตั้งครรภ์ จึงจะช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการ และช่วยให้ตัวอ่อนพัฒนาไปได้อย่างสมบูรณ์ค่ะ



นอกจากนี้การทานวิตามินบำรุงเตรียมตั้งครรภ์ ยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ปรับรอบเดือน ช่วยให้ไข่ตกปกติ เป็นการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ช่วยให้ท้องง่ายขึ้นด้วยนั่นเองค่ะ



.



7. ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาที (30 นาที 5วัน/สัปดาห์) ไม่ออกหนักเกินไป



เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และฮอร์โมนสมดุล น้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศหญิง หรือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผิดเพี้ยน ส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ไข่ไม่ตกได้ค่ะ



สำหรับเคสที่อ้วน หรือ น้ำหนักเกิน มีข้อมูลทางการแพทย์เปิดเผยว่าคนอ้วนจะมีปัญหาเรื่องการตกไข่และการมีประจำเดือน #ทำให้ท้องยากกว่าคนน้ำหนักตัวปกติ ถึง 2 เท่า !!



.



8. นอนให้เพียงพอวันละ 8 ชม.



การนอนน้อยส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม เมื่อเครียดฮอร์โมนความเครียด หรือ ที่เรียกว่า "คอร์ติซอลจะถูกหลั่งออกมามากเกินไป และมันก็จะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนเพศผิดเพี้ยน แปรปรวน



จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Sleep Medicine Report เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย สมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เราหลับ หรือ ตื่น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน และ คอติซอล เป็นสมองส่วนที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วยเช่นกัน ดังนั้นฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ในผู้หญิง และ ฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิตสเปิร์มในผู้ชายจึงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับด้วย



โดยในผู้หญิงนั้น การนอนไม่เพียงพอในระยะยาวส่งผลโดยตรงต่อการสร้าง Luteinizing Hormone (LH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ มีผลทำให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอการปฏิสนธิ LH เป็นฮอร์โมนหนึ่งที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่มีการตกไข่ของรอบเดือนนั้นๆ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติก็จะส่งผลต่อรอบเดือนที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากนั่นเองค่ะ



.



9. ดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 2-3 ลิตร



รู้ไหม? ดื่มน้ำให้เพียงพอส่งผลต่อโอกาสท้อง


น้ำคือชีวิต สำคัญมากๆ ต่อการทำงานของทุกระบบในร่างกาย รวมถึงระบบสืบพันธุ์



แม่ๆ รู้ไหม เซลล์ไข่และสเปิร์มต้องการน้ำในกระบวนการเติบโต แม่ๆ จึงต้องดื่มน้ำเปล่าให้ได้ 2-3 ลิตรต่อวัน



น้ำส่งผลต่อระบบการผลิตไข่ การตกไข่ ช่วยให้เลือดไหลเวียนนำพาสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะสืบพันธุ์ได้เพียงพอ และยังช่วยขับล้างสารพิษออกจากร่างกาย



แม่ๆ ที่อยากมีน้องจึงต้องห้ามขาดน้ำ ใช้ขวดบังคับน้ำเลยค่ะ เติมน้ำให้เต็ม 2 ลิตร และบังคับว่าใน 1 วันต้องดื่มหมดขวดนี้ ก็จะเป็นการบังคับให้เราไม่ลืมดื่มน้ำ และดื่มน้ำได้เพียงพอค่ะ ดื่มไปทั้งวัน ไม่ต้องรีบร้อน ไม่ต้องกระดกพรวดเดียวนะคะ จิบน้ำไป ทำงานไป





ใส่ผงผัก Pure red และ Pure Green อย่างละ 1 ช้อนชาลงไปด้วย ได้น้ำผัก ดื่มสดชื่นทั้งวัน แถมสารต้านอนุมูลอิสระสูง บำรุงเลือด บำรุงไข่ สตรีอยากมีน้องต้องทำตามนะคะ



ประโยชน์ของน้ำ ต่อสตรีอยากมีน้อง



●50-70% ของน้ำหนักตัวคือน้ำ


เลือดประกอบด้วยน้ำ 85%


สมองประกอบด้วยน้ำ 75%


กระดูกประกอบด้วยน้ำ 25%



●น้ำช่วยในการสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ ช่วยให้ไข่ตกปกติ



●น้ำช่วยสร้างสเปิร์มทั้งด้านปริมาตรและช่วยให้สเปิร์มไม่เหนียวข้น เคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น



●อวัยวะที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ได้แก่ รังไข่ มดลูก สมอง ต่อมไทรอยด์ ต้องการน้ำในการรักษาสมดุล



●น้ำช่วยสร้างมูกตกไข่ สร้าง ph balance ให้มูกตกไข่ไม่ให้เป็นกรดมากเกินไป ทำให้สเปิร์มไม่ตายและว่ายเข้าไปเจอไข่ง่ายขึ้น



●น้ำช่วยนำพาสารอาหารไปเลี้ยงตัวอ่อน หากขาดน้ำตัวอ่อนจะไม่เจริญเติบโต และอาจแท้งได้



●น้ำช่วยในการขับล้างสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย



.



10. จัดการกับความเครียด หากิจกรรมผ่อนคลาย เพื่อสร้างสมดุลฮอร์โมน



จากการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่มีความกังวลและจมกับความเครียดส่งผลให้ตั้งครรภ์ยากสูงถึง 20%



มีผลวิจัยชิ้นหนึ่งได้สุ่มทดลองกับผู้หญิงที่อยากมีบุตรจำนวน 501 คน โดยนำน้ำลายไปตรวจสอบเพื่อวัดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และแอลฟา-อะไมเลส (Alpha-amylase) สารสำคัญ 2 ชนิดที่จะสื่อได้ว่า เรามีความเครียดมากน้อยแค่ไหน ผลการศึกษาพบว่า....



ผู้หญิงที่ถูกค้นพบว่ามีสารสำคัญ 2 ชนิดนี้ในปริมาณที่สูง แปลได้ว่ามีความเครียดพอสมควร จะมีแนวโน้มตั้งครรภ์ยากตามไปด้วย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็แสดงความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า เมื่อผู้หญิงเกิดความเครียด #การตกไข่ก็จะผิดปกติ ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ และเมื่อไข่ไม่ตก โอกาสท้องก็ลดน้อยลงนั่นเองค่ะ



ดังนั้นแม่ๆต้องหาโอกาสผ่อนคลาย ลดความเครียด หากิจกรรมที่ขอบทำเช่น ทำอาหาร ออกกำลังกาย ดูซีรี่ย์ ฟังเพลง หรือ พูดคุยกับเพื่อนแลกเปลี่ยนการดูแลตัวเองกันค่ะ จะได้ไม่เก็บความเครียดไว้คนเดียว



.


.



สตรีวัย 35+ ต้องเร่งเครื่องบำรุงเต็มที่ ถึงไข่เราอาจจะเสื่อมไปตามวัย แต่สามารุบำรุงให้มีคุณภาพได้อยู่ที่พฤติกรรมของเรา หันมาจริงจังกับโภชนาการ การปรับสมดุลฮอร์โมน พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ร่างก่ยก็จะแข็งแรง ไข่สมบูรณ์ มีโอกาสท้องได้ไม่ยากค่ะ

ดู 44 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page