top of page
ค้นหา

ส่องสเปิร์ม ว่ายช้า ว่ายวน ว่ายไม่ไป! ว่ายแบบไหนทำให้ท้องยาก !

อัปเดตเมื่อ 17 มิ.ย. 2567

แม่ๆ เคยสงสัยไหมว่า "ทำไมบางคู่ถึงมีลูกยาก"? หนึ่งในสาเหตุหลักๆ เลยก็คือ ปัญหาการเคลื่อนที่ของสเปิร์มค่ะ เพราะหากสเปิร์มของคุณพ่อไม่ว่าย ว่ายไม่ไหว หรือว่ายวนไปมา ก็จะหาไข่ไม่เจอ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องยากนั้นเองค่ะ วันนี้ครูก้อยได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของสเปิร์มมาฝากแม่ๆ แล้วค่ะ


• โครงสร้างของสเปิร์มประกอบไปด้วย3 ส่วน ดังนี้


1. ส่วนหัว (Head) เป็นส่วนที่ประกอบไปด้วยนิวเคลียส (Nucleus) ซึ่งมีลักษณะเป็น Haploidnucleus (1N) มีส่วนที่คลุมทางด้านหน้าของส่วนหัวของสเปิร์มด้วยโครงสร้างที่เรียกว่า Acrosome ที่มีลักษณะเป็นผนังชั้นเดียว (Single membrane sac) ภายในบรรจุเอ็นไซม์ที่สำคัญต่อกระบวนการปฏิสนธิ และมีโครงสร้างที่เรียกว่า Centriole 1 คู่ วางตัวอยู่ทางด้านหลังต่อนิวเคลียส ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นส่วนหาง (Tail) ของสเปิร์มต่อไป


2. ส่วนกลาง (Midpiece) เป็นส่วนที่ประกอบด้วย Mitochondria เป็นส่วนใหญ่ วางตัวเป็นเกลียวตลอดความยาวของส่วน Midpiece ทำหน้าที่สร้างพลังงาน (ATP) เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม


3. ส่วนหาง (Tail) ประกอบด้วยโครงสร้างที่เรียกว่า Flagellum ซึ่งประกอบไปด้วย Axoneme หรือ Microtubules เพื่อทำหน้าที่ในการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม


• อัตราการเคลื่อนที่ของตัวสเปิร์ม (Motility) การเคลื่อนที่ของสเปิร์มเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ใช้ประเมินคุณภาพของสเปิร์ม ซึ่งมีความสำคัญต่อการมีบุตร เพราะอัตราการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม หมายถึงความสามารถของสเปิร์มในการเคลื่อนที่หรือว่ายน้ำไปยังไข่เพื่อทำการปฏิสนธิ


โดยมีเกณฑ์อัตราการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิโดยรวม (Motility) จากองค์การอนามัยโลก (WHO criteria 2021) ไว้ว่าต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 42


• การเคลื่อนที่ของอสุจิมักจะถูกจำแนกตามความเร็วและทิศทาง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้


1. การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Progressive motility)

อสุจิเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้ง แต่ต้องเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เนื่องจากอสุจิต้องเดินทางจากช่องคลอดผ่านปากมดลูกและเข้าสู่ท่อนำไข่เพื่อพบกับไข่และทำการปฏิสนธิ และเพื่อเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิ อสุจิจึงต้องเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความความเร็วและทิศทางที่เป็นเส้นตรง ซึ่งเกณฑ์การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 30


2. การเคลื่อนที่ไม่ไปข้างหน้า (Non-progressive motility)

อสุจิเคลื่อนที่แต่ไม่ได้เดินทางไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างชัดเจน อาจหมุนเวียนอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ไปมาแต่ไม่สามารถเดินทางไปไกล ซึ่งเกณฑ์การเคลื่อนที่ไม่ไปข้างหน้าจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 1


3. ไม่มีการเคลื่อนที่ (Immotility)

อสุจิไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เลย ซึ่งเกณฑ์การไม่มีการเคลื่อนที่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 20



ดังนั้น อัตราการเคลื่อนที่ของอสุจิมีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดโอกาสในการมีบุตร อสุจิที่มีการเคลื่อนที่ที่ดีมีโอกาสสูงที่จะสามารถผ่านเข้าไปในปากมดลูกและเดินทางไปยังท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ได้สำเร็จ ในขณะที่อสุจิที่มีการเคลื่อนที่น้อยหรือไม่เคลื่อนที่ รวมถึงการไม่เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงไปข้างหน้าเลยอาจลดโอกาสในการมีบุตรได้ . ครูก้อยสืบค้นงานวิจัยพบว่า L-Carnitine และ L-acetyl-carnitine ช่วยปรับปรุงการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม ให้มีการเคลื่อนที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของสเปิร์มอีกด้วย


จากงานวิจัย Effects Of L-Carnitine And L-Acetyl-Carnitine On Testicular Sperm Motility And Chromatin Quality. ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Iranian journal of reproductive medicine ปี 2012


ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับ การเคลื่อนที่ของอสุจิและคุณภาพโครมาตินในสารดีเอ็นเอของอสุจิ

ศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับ L-carnitine (LC) ช่วยให้อัตราที่อสุจิไม่เคลื่อนที่ลดลง (Immotile) 16.49% ช่วยให้อัตราการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเพิ่มขึ้นถึง 42.53% และช่วยให้อัตราการการแตกหักของดีเอ็นเอในส่วนหัวอสุจิลดลง 8.43%


และกลุ่มที่ได้รับ L-acetyl-carnitine (LAC) ช่วยให้อัตราที่อสุจิไม่เคลื่อนที่ (Immotile) ลดลง 22.16% ช่วยให้อัตราที่อสุจิไม่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าลดลง 7.26% ช่วยให้อัตราการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเพิ่มขึ้นถึง 58.36% และช่วยให้อัตราการการแตกหักของดีเอ็นเอในส่วนหัวอสุจิลดลง 9.63%


ปัจจุบันครูก้อยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ Motila 1 ที่รวบรวมสารสกัดและแร่ธาตุ 13 ชนิดที่มีงานวิจัยรองรับว่าส่งเสริมอัตราการเคลื่อนที่ของสเปิร์มโดยตรง นอกจากนี้สารสกัดที่ครูก้อยเลือกใช้เป็นสารที่มุ่งเน้นให้สเปิร์มมีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เพิ่มอัตราการละลายตัวของน้ำเชื้อ เพิ่มคุณภาพของสเปิร์มและปรับปรุงไปถึงระดับ DNA ของสเปิร์ม


เพราะฉะนั้นแม่ๆ ที่ปล่อยมานานไม่ท้องสักที ครูก้อยแนะนำให้ไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพของน้ำเชื้อและอัตราการเคลื่อนที่ของสเปิร์มเพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุดนะคะ


หากแม่ๆ ท่านใดที่คุณพ่อวิเคราะห์มาแล้วพบว่าสเปิร์มมีการเคลื่อนที่ช้า เคลื่อนที่วน ไม่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า แนะนำให้ทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงทาน Motila 1 วันละ 1 เม็ดเพื่อเสริมอัตราการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม ก็จะเป็นการบำรุงสเปิร์มให้มีคุณภาพ มีโอกาสเป็นคุณพ่อง่ายขึ้นค่ะ

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page